ประวัติและความเป็นมาของวิชาโหราศาสตร์
โดย ภารต ถิ่นคำ
“ เบื้องบนฟ้าเป็นเช่นไร เบื้องล่างก็เป็นเช่นนั้น “ คำพูดนี้เป็นปรัชญาพื้นฐานซึ่งเป็นที่เข้าใจใช้กันมาเนิ่นนานตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ และเป็นรากฐานสำคัญของวิชาโหราศาสตร์ การจะกล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของวิชาโหราศาสตร์นี้ ในปัจจุบันก็มีแหล่งข้อมูลที่ให้ผู้สนใจได้ค้นคว้าอยู่มากมายหลายแหล่ง ทั้งในภาษาไทยและในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสื่ออินเตอร์เนต และในหนังสือตำรับตำราซึ่งผู้ที่ได้นำมาเผยแพร่ทั้งหลายต่างก็ได้ศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงมาไว้ให้แล้วโดยละเอียดเป็นอย่างดี อีกทั้งมีข้อมูลมากมายที่น่าสนใจชวนให้ติดตามศึกษา
แต่เท่าที่ผู้เขียนอ่านและศึกษาจากหลายๆแหล่ง พอสรุปออกมาได้เป็น 4 เรื่องใหญ่ๆแต่เกี่ยวข้องพัวพันกัน คือ
การวิวัฒนาการทางด้านทฤษฎี ความสัมพันธ์ของโลก และจักรวาล
การวิวัฒนาการด้านเครื่องมืออุปกรณ์ในการใช้งานโหราศาสตร์
การวิวัฒนาการทางด้านทฤษฎีการพยากรณ์
การวิวัฒนาการด้านตำรับตำราและสำนักโหราศาสตร์ที่สำคัญและเด่นในวงการ
โดยที่เรามักจะรู้จักกันดีว่า โหราศาสตร์ของประเทศไทยเราได้ศึกษารับเอาองค์ความรู้มาจากทางด้านซีกโลกตะวันตกของประเทศ ซึ่งไล่ไปได้ตั้งแต่พม่า อินเดีย เอเชียกลาง อัฟริกาบางส่วน เช่น อิยิปต์ และคาบสมุทรอารเบียเลยไปจนถึงทวีปยุโรปโบราณอันได้แก่ อาณาจักรกรีกและโรมัน หรือถ้าแยกออกเป็นแหล่งอารยธรรมของโลก ก็จะได้แก่ อารยธรรมฮินดูหรือพราหมณ์ อารยธรรมมุสลิม อารยธรรมพุทธ และอารยธรรมตะวันตกในทวีปยุโรป ส่วนอารยธรรมตะวันออกนั้นอันได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ชวานั้น ไทยเราไม่ได้นับถือว่าเป็นครูทางจิตวิญญาณ อย่างจริงจัง แม้ว่า อาณาจักรกัมพูชาจะมีอิทธิพลต่อไทยในตอนต้นจะเป็นตะวันออกของประเทศ แต่เขมรขอมเองนั้นก็รับลัทธิฮินดูพราหมณ์รุนแรงมากกว่าไทยเป็นยิ่งนัก
การวิวัฒนาการทางด้านทฤษฎี ความสัมพันธ์ของโลกและจักรวาล นั้น ก็คือ รากฐานวิวัฒนาการของวิชาด้านดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ปัจจุบันซึ่งเป็นองค์ความรู้หลักด้านปัญญาภิวัฒน์ของโลก
ในโลกยุคโบราณนั้น ในอาณาจักรที่มีทะเลทรายกว้างใหญ่ไพศาล ผู้คนคุ้นเคยกับท้องฟ้าในยามราตรีค่ำคืนมากกว่าในเวลากลางวันซึ่งแดดร้อนจัดทำกิจกรรมอะไรต่างๆกลางแจ้งไม่สะดวก หรือในหมู่ผู้คนที่ใช้ชีวิตในท้องทะเลอาศัยพื้นน้ำกับฟ้ายามราตรีและกระแสลมในการกำหนดกิจกรรมเดินเรือทำประมงหรือขนสินค้าหาเลี้ยงชีพ หรือในหมู่ชุมชนเกษตรกรรมที่รอการเพาะปลูกหลังจากน้ำในแม่น้ำใหญ่เอ่อท่วมตลิ่งล้นและค่อยๆลดระดับลงริมฝั่งแม่น้ำ ชักนำพาเอาดินตะกอนมาเป็นปุ๋ยเสริมให้ปลูกพืชไร่ได้อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตของชุมชนและนำพาความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งให้แก่อาณาจักร
ความรู้จากการสังเกตท้องฟ้าและวงจรการกสิกรรมที่สืบต่อเนื่องถ่ายทอดกันมา จากรุ่นสู่รุ่นเนิ่นนานต่อเนื่องกัน จนเมื่อมนุษย์วิวัฒนาการมาจนรู้จักการใช้อักษร ทำให้มีการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆเอาไว้เป็นความรู้หลักของแผ่นดินและมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เหล่านี้ในรูปแบบต่างๆให้เผยแพร่กว้างขวางออกไปสั่งสมกันจนเป็นศาสตร์ที่สำคัญหลายสาขาของโลก
ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาความเชื่อ วัฒนธรรม และพื้นที่ภูมิศาสตร์ เมื่อกาลเวลาล่วงเลยเนิ่นนาน ตามหลักวิวัฒนาการของโลก จึงมีทั้งการกลืนกันทางวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนทางการค้าและแม้แต่การสงคราม ส่งผลให้มีการถ่ายเทสับเปลี่ยนกันไปมา ซึ่งก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติซึ่งคงทนต่อการให้พิสูจน์ได้
จากหลักฐานการค้นพบทางโบราณคดี ในคาบสมุทรอารเบียปัจจุบัน บริเวณลุ่มแม่น้ำไทรกริสและยูเฟรติส พบว่าเคยมีกลุ่มอาณาจักรโบราณที่ชาวกรีกให้ชื่อว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำหรือดินแดนแห่งเมโสโปรเตเมีย เมื่อมีการขุดสำรวจลงไปก็ค้นพบว่าในสมัยนั้นมีการใช้อักษรรูปลิ่มหรือที่เรียกว่า คูนิฟอร์ม กดจารึกบนแผ่นดินเหนียวแล้วนำมาตากให้แห้ง ซึ่งทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดย้อนหลังไปได้กว่า 5000 ปี และเมื่อมีการอ่านแปลโดยเทียบเคียงกับหลักฐานจากแหล่งอื่นๆจากผู้เชี่ยวชาญได้ความว่า ในยุคนั้นในดินแดนเมโสโปรเตรเมียแห่งนี้ มีหลายชนเผ่าซึ่งแบ่งแยกตามเชื้อชาติได้หลายแขนง เช่น สุเมเรียน (Sumerians) อัคคาเดียน (Akkadians) อะมอไรท์ (Amorites) คัสไซท์ (Kassites) อัสซีเรียน (Assyrians) และ แคลเดียน (Chaldeans)โดยชนชาติที่ประดิษฐ์ใช้ตัวอักษรนั้น คือ ชาวสุเมเรียน และวิธีการแบบนี้ได้ใช้แพร่หลายกันมาในหลายอาณาจักรของชนเผ่าในย่านนั้น และเมื่อมีการศึกษาคำแปลจากหลักฐานต่างๆในสมัยหลังๆก็ได้ความว่า ชาวแคลเดียน ซึ่งเป็นชนเผ่าฮีบรูจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกรีส ที่ต่อมาได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลนได้ ได้พบว่ามีการจดจารบันทึกถึงปฏิทิน โดยมีการแบ่ง 1 สัปดาห์ออกเป็น 7 วัน แบ่งวันออกเป็น 12 คาบๆละ 120 นาที และสามารถคำนวณการโคจรของอาทิตย์ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง และยังสามารถคำนวณล่วงหน้าได้ถึงการเกิดสุริยุปราคาได้ด้วย ชาวคาลเดียนถือกันว่าเป็นชาติแรกที่นำความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์ แต่ต่อมาอาณาจักรบาบิโลนได้ถูกอาณาจักรเปอร์เซียทำลายและเข้ายึดครอง องค์ความรู้ต่างๆจึงถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรแห่งใหม่คือ อาณาจักรเปอร์เซียสืบต่อมานั่นเอง ซึ่งอารยธรรมเปอร์เซีย เองนั้น มีส่วนคาบเกี่ยวอันส่งผลในความสัมพันธ์กับ อารยธรรมสำคัญในเวลาต่อมาอันได้แก่ อารยธรรมของอิยิปต์ และ อารยธรรมในลุ่มน้ำสินธุของอินเดีย โดยต่างฝ่ายต่างถ่ายทอดองค์ความรู้แต่พัฒนากันไปให้มากยิ่งขึ้น
การพัฒนาความรู้ในทางการทำปฏิทินที่ถูกต้องตามหลักดาราศาสตร์ เพื่อกำหนดบัญญัติเป็นเทศกาลต่างๆในแต่ละชนเผ่าหรืออาณาจักร และมีการกำหนดความหมายในท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ดาวฤกษ์ กลุ่มดาว ดาวเคราะห์ การแบ่งท้องฟ้าออกเป็นราศี 12 ราศี หรือเป็นส่วนต่างๆ การกำหนดคาบเวลาการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และอื่นๆ รวมไปถึงการกำหนดฤดูกาลต่างๆ ต่างก็ล้วนเกิดขึ้นในช่วงยุคแห่งการวิวัวัฒนาการทางปัญญาดังกล่าวแทบทั้งสิ้น ซึ่งยังมีร่องรอยหลักฐานอยู่ในชื่อ ดาวฤกษ์ หรือ กลุ่มดาวฤกษ์ ในภาษาอารบิค หรือมีรากฐานมาจากศัพท์ในภาษาอารบิก ซึ่งมีบัญญัติมาก่อนที่อารยธรรมกรีกโรมันจะแผ่เข้ามามีอิทธิพลในทางปัญญาภิวัฒน์ของอารายธรรมตะวันตก แต่ทั้งนี้ยังคงอยู่ในบริบทของปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ในเชิงประจักษ์ที่ว่า โลกนี้มีสันฐานแบน และโลกก็ยังเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ โคจรหรือผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่รอบโลก
นอกจากจะวิวัฒนาการด้านดาราศาสตร์แล้ว ทฤษฎีการพยากรณ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ด้านปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์กับโชคชะตาของมนุษย์ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงนี้ด้วย มีหลักฐานที่เห็นชัดคือในพระคัมภีร์ทางคริสต์ศาสนา เรื่องกำหนดการประสูติองค์พระกุมารเยซู ซึ่งมีศาสดาพยากรณ์ในช่วงเวลานั้น ต่างก็คำนวณหาไว้ก่อนเหตุการณ์จะเกิดจริงได้ล่วงหน้า จนได้มีการบันทึกเรื่องราวเอาไว้ ดังปรากฏในพระคัมภีร์ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างต่างๆที่ยังพอมีซากหลักฐานทางโบราณคดีที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่แอ่งอารยธรรมของดินแดนเมโสโปรเตรเมียที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในระหว่างมนุษย์ กับ สวรรค์ผ่านทาง จักรราศี และกลุ่มดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และ การโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
เมื่อล่วงมาถึงยุคอารยธรรมอียิปต์ ซึ่งมีมายาวนาน ล่วงเลยไปถึงช่วงเวลาเมื่ออารยธรรมของกรีกจากทวีปยุโรปที่แผ่เข้ามากลมกลืนโดยไฟสงครามขยายอาณาจักรในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช กษัตริย์จากแคว้นมาซิโดเนียของกรีก ( 356 BC – 323 BC ) ที่เข้ามาพิชิตอาณาจักรอียิปต์ และอาณาจักรเปอร์เซียลามรวมไปจนถึงอาณาจักรอินเดียตอนเหนือได้ องค์ความรู้ศิลปวิทยาการก็เกิดการถ่ายทอดกันไปมาระหว่างยุโรปกับแอฟริกาตอนบนและเอเชียกลาง ซึ่งถือเป็นยุคสำคัญทางการเผยแพร่ปัญญาภิวัฒน์ของโลก
เหตุเพราะในกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนั้น ได้มีการนำนายช่าง นักปรัชญา นักการศึกษา นักวิชาการ สถาปนิก วิศวกร และนักประวัติศาสตร์ เข้ามาในกองทัพของพระองค์ด้วย เมื่อตีดินแดนไหนได้ก็กวาดต้อนเอาองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ กลับไปยังดินแดนของตน
ในอารายธรรมของกรีกเองนั้น ก็มีวิวัฒนาการไปอย่างมากมายอยู่ก่อนแล้วถือเป็นผู้นำทางปัญญาของอาณาจักรในทวีปยุโรปในช่วงต้น กาลต่อมาเมื่อชนชาวอิทรัสซึ่งเป็นแว่นแคว้นหนึ่งในเอเชียไมเนอร์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรีก ได้พากันอพยพเข้าไปยังแดนแห่งคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งพวกอิทรัสนี้ได้รับเอาวัฒนธรรมกรีกเข้ามาเป็นของตัว โดยนำเอาศิลปะวิทยาการของกรีกเข้ามาด้วย แต่เมื่อมาอยู่ในในช่วงเวลาหนึ่ง ก็ถูกพวกละติน ซึ่งเป็นบรรพบุรูษของโรมัน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ ของคาบสมุทรอิตาลีเข้าทำลายและปราบปรามกษัตริย์ของชาวอิทรัสได้สำเร็จจนยึดเมืองและพื้นที่ได้ แต่พวกละตินนี้เองก็ได้รับเอาศิลปะวิทยาการของชาวอิทรัส ซึ่งมีรากฐานจากอารยธรรมกรีกเข้ามาเป็นต้นแบบของอารยธรรมของตนเอง และได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากจนขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนเป็นชุมนุมที่เรียกว่า ฟอรั่ม ที่ต่อมาพัฒนาการขึ้นจนเป็น กรุงโรม และโดยที่กรุงโรม นั้นมีชัยภูมิอยู่ใกล้ทะเล สามารถทำการค้าทางทะเลได้เป็นอย่างดี จนมีฐานะเจริญรุ่งเรือง มีการตัดถนนไปยังบริเวณที่ตนเองยึดครองอย่างถาวรและเป็นมาตรฐานทำให้เกิดความคล่องตัวในเคลื่อนทัพรวมไปจนถึงการเผยแพร่ทางการค้าและขยายกองทัพและการขยายตัวของอาณาจักรทั้งทางบกและทางน้ำ อีกทั้งชัยภูมิของโรมเองก็มีเทือกเขาล้อมรอบกีดขวางยากแก่การยกทำมาทำลายได้โดยง่าย ถึงขั้นเติบโตเป็นจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ เข้ามาแทนอาณาจักรกรีกแต่เดิมซึ่งกระจัดกระจาย และยังมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลและเป็นศูนย์กลางทางปัญญาวิวัฒน์ของโลกตะวันตกเป็นหลักในเวลาต่อมา
ในระหว่างช่วงเวลาอันยาวนานนี้ ได้เกิดวิวัฒนาการทางตำราโหราศาสตร์ที่สำคัญ ที่มีอิทธิพลเป็นที่ยอมรับกันในหมู่โหรมานานอยู่ด้วยกันหลายคัมภีร์ อาทิเช่น ตำราจารึกของ เฮอร์เมส ตริสเมจิสตุส ( Hermes Trismegistus ) ที่เชื่อมโยงเทพของกรีกและของอิยิปต์ เอาไว้ด้วยกัน และมีการประยุกต์หลักการทางโหราศาสตร์กับการรักษาสมดุลของร่างกายมนุษย์ มีหลักฐานอยู่ในจารึกมรกต จากนั้นก็มีตำราของ คลอดิอุส ทอเรมี โหราจารย์จากเมือง อเล็กซานเดรียของอิยิปต์ ( Claudius Ptolemy AD 90 – AD 168 ) ซึ่งได้แต่งคัมภีร์ชุด Tetrabiblos หรือที่แปลได้ว่า ตำรา 4 เล่ม โดยเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นหลักสำคัญในวิชาโหราศาสตร์ที่เป็นมาตรฐานของยุคนั้น ซึ่งถ้าใครเคยอ่านฉบับแปลมาเป็นภาษาอังกฤษ จะเห็นว่า คัมภีร์ชุดนี้ ถือเป็นรากฐานสำคัญของโหราศาสตร์ของไทยในยุคปัจจุบันทีเดียว แสดงให้เห็นว่า ไทยเราเคยรับเอาองค์ความรู้จากคัมภีร์ชุดนี้มาแต่โบราณแต่ตอนไหนเมื่อใดนั้นยังไม่มีการสืบค้นยืนยันได้ การผูกดวงชะตาจากเวลาเกิดและหลักการพยากรณ์ต่างๆเริ่มเป็นรูปร่างที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานก็มีมาในคัมภีร์นี้ แต่การเริ่มฤดูกาลเริ่มมีความแตกต่าง ของจุดตั้งต้นสังเกตของซีกโลกที่ใช้ ระหว่างของกรีกและของอินเดีย โดยของกรีกใช้จุดเริ่มต้นจักรราศีให้จุดเมษอยู่ที่จุดวิษุวัต ( Vernal Vertex) และเริ่มต้นที่จุดเริมฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือในแต่ละปี แต่ส่วนของอินเดียนั้น ให้จุดเมษที่เริ่มจักรราศีอยู่ในกลุ่มหมู่ดาวฤกษ์ของราศีเมษ ซึ่งแต่เดิมนั้นตำแหน่งนี้อยู่ร่วมกันเป็นที่เดียวกัน แต่เมื่อมีการค้นพบในตอนหลังว่า จุดวิษุวัต นั้นมีอัตราการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากโลกและสุริยจักรวาลต่างก็โคจรเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกันในกาแลกซีทางช้างเผือก ทำให้จุดสังเกตมีอัตราการเคลื่อนที่ไปจากเดิมในอัตรา 72 ปีเศษต่อ 1 องศา ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างของระบบโหราศาสตร์ขึ้นมา 2 ระบบ คือ ระบบจักรราศีเคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่า ระบบสายนะ ( Tropical Zodiac ) ที่ใช้กันในโหราศาสตร์สากลและโหราศาสตร์ระบบยูเรเนียน กับ ระบบจักรราศีคงที่ หรือ ที่เรียกว่า ระบบนิรายนะ ( Sidereal Zodiac ) ที่ใช้กันในอินเดีย และ เป็นรากฐานของวิชาโหราศาสตร์ไทย ( ปัจจุบันนี้ ค่าแตกต่างของตำแหน่งระหว่างระบบสายนะและระบบนิรายนะต่างกันอยู่ 23 องศาเศษ )
ในยุคอาณาจักรโรมันเจริญรุ่งเรืองนั้น มีการถ่ายทอดแปลคัมภีร์องค์ความรู้ต่างๆออกไปสู่อาณาจักรที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงเช่น เปอร์เซีย อิยิปต์ ทำให้เกิดมีปราชญ์ในสาขาต่างๆมากขึ้นมีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆให้เจริญงอกงามเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้นไปอีก ในอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งเป็นอารยธรรมอิสลามอันยิ่งใหญ่ในยุคนั้นและเป็นคู่แข่งที่สำคัญของจักรวรรดิโรมัน แต่เนื่องจากโหราศาสตร์พยากรณ์เป็นเรื่องต้องห้ามในศาสนาอิสลามแต่ก็ไม่ได้ห้ามศึกษาวิชาดาราศาสตร์แต่อย่างใดมิหนำซ้ำยัง กลับเป็นคุณในการค้นคว้าพัฒนาต่อยอดเกี่ยวกับวิชาดาราศาสตร์ในแดนอิสลามนี้เป็นอย่างยิ่ง นักดาราศาสตร์อิสลามที่สำคัญและมีผลงานที่ส่งผลต่อการพัฒนารากฐานวิชาดาราศาสตร์แนววิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ของโลก มีหลายท่าน อาทิเช่น ท่าน Ibn al-Haytham หรือ Alhazen ผู้แต่งตำราคัมภีร์แห่งแสง ( Book of Optics ) และอรรถาธิบายขยายความทฤษฎีการโคจรของดวงดาวแนวทอเรมี ( Claudius Ptolemy ) จากคัมภีร์ Tetrabiblos หรือท่าน Al-Biruni ( Alberonius ในภาษาละติน ) นักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ชาวเปอร์เซียผู้วางรากฐานวิชาคณิตศาสตร์ ตรีโกณมิติ พีชคณิต และดาราศาสตร์ปัจจุบันคนสำคัญ และยังมีอีกหลายท่าน
เนื่องจากอาณาเขตปกครองของจักรวรรดิโรมันใหญ่โตกว้างขวางมาก จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3 เกิดปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การถูกรุกรานจากภายนอก กาฬโรคระบาด และสงครามกลางเมืองชิงอำนาจกันระหว่างบรรดานายพลผู้กุมอำนาจ จนถึง ปี 260 ทำให้การปกครองต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ จักรวรรดิกอล จักรวรรดิพาลไมรีน และ จักรวรรดิโรมันหลักที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อิตาลี วิกฤติการณ์นี้สิ้นเมื่อถึงยุคของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน ที่รวบรวมระบบการปกครองขึ้นมาใหม่แยกเป็น โรมันตะวันตก และโรมันตะวันออก ในค.ศ.286 แต่แทนที่การปกครองจะดีขึ้น เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมา ผู้ปกครองเขตของทั้ง 2 ฝ่ายเกิดทำสงครามแย่งชิงกันเองเพื่อชิงอำนาจความเป็นใหญ่ จนกระทั้ง จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ซึ่งเป็นจักรพรรดิของโรมันตะวันออกสามารถรวมอาณาจักรโรมันได้เป็นหนึ่งเดียว แต่ไม่ได้ให้โรมเป็นศูนย์กลางเหมือนเดิม เนื่องจากการที่พระองค์เป็นชาวโรมันตะวันออกจึงทรงอยากอยู่ทางตะวันออกมากกว่า ดังนั้นทรงตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองไบแซนทิอุม หรือ ไบแซนไทน์ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ปากทางเข้าทะเลดำและได้ประกาศให้ เมืองนี้กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตามชื่อตามพระองค์ คือ กรุงคอนสแตนตินโนเบิล ในปีค.ศ. 330 และทรงรับคริสต์ศาสนาขึ้นเป็นศาสนาหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน
ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันตก กรุงโรมเดิมได้ถูกลดบทบาท ถูกเปลี่ยนศูนย์กลางไปอยู่ที่ มิลานแทน และย้ายอีกครั้งไปอยู่ที่ วาเวนนา ในปี ค.ศ.402 และ จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็สิ้นสุดลงเมื่อมีการทำสงครามกับชนเผ่าเยอรมัน อย่างยาวนาน จักรพรรดิโรมิวลัส ออกัสตัส ถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติ ในปี ค.ศ.476 และสิ้นสุดอย่างเป็นทางการหลังการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิจูเลียส เนโพส ในปี ค.ศ.480
ช่วงที่จักรวรรดิโรมัน ขยายตัวมากขึ้น จนในค.ศ.391 จักรพรรดิ Theodosius ได้กำหนดให้คริสต์ศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติหนึ่งเดียวของจักรวรรดิ ทำให้คริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการปกครองจักรวรรดิโรมัน อิทธิพลของศาสนาจักรได้เข้ามากำกับดูแลสังคมชาวโรมันเป็นอย่างมาก ความคิดใดที่ขัดแย้งกับพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนาจะถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลผู้ปกครอง และเป็นไปจนถึงถูกขจัดออกไปจากสังคม ทำให้ยุโรปเข้าสู่ยุคมืดทางปัญญา ( Dark Era ) หรือนักประวัติศาสตร์เรียกว่า ยุคกลาง
หลังจากจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ชนเผ่าเยอรมันต่างๆก็เข้ามาแทนที่จักรวรรดิโรมัน ได้แก่ ชาวแองเกิลส์ และชาวแซ็กซอน ในอังกฤษ ชาวแฟร็งก์ ในฝรั่งเศส ชาววิสิกอธ ในสเปน ชาวแวนเดิล ในแอฟริกา ชาวออสโตรกอธ ในอิตาลี เกิดเป็นชนชาติต่างๆขึ้นในแต่ละพื้นที่ แทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกเดิม เพราะเมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงทำให้เกิดสภาวะล่มสลายทางการปกครองบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป มีการเกิดสงครามแย่งชิงดินแดนกัน แต่ทางจักรวรรดิโรมันตะวันออกแม้จะยังคงมีอิทธิพลอยู่ ทั้งมีความพยายามจะรวบรวมสร้างจักรวรรดิขึ้นมาใหม่แต่ก็ไม่สำเร็จเด็ดขาด แถมยังมีภัยใหม่จากการรุกรานของชาวอาหรับและชาวมุสลิมที่เข้มแข็งขึ้นเข้ามาปล้นทำสงครามชิงดินแดนถึงในยุโรป เช่น ดินแดนของชาววิสิกอธในสเปน และ บุกเข้ามาถึงอิตาลี แต่ถึงกระนั้นพวกมุสลิมได้ถูกต่อต้านโดยชาวแฟร็งก์ ซึ่งมีเข้มแข็งมีความสามารถพอจะต้านทานทัพพวกมุสลิมไว้ได้ และพวกแฟร็งก์แห่งราชวงศ์คาโรดิงเจียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ได้ปราบปรามเยอรมันเผ่าอื่นๆได้สำเร็จ และได้เผยแพร่คริสตศาสนาออกไปอย่างกว้างขวาง
กษัตริย์ของชาวแฟร็งก์แห่งราชวงศ์คาโรดิงเจียนนี้ มีอยู่พระองค์หนึ่งที่ทรงมีแสนยานุภาพมาก สามารถในการรบโดยกวาดตีพิชิตดินแดนทางตะวันตกจนได้มามากมาย คือ พระเจ้าชาร์ลเลอมาญ ( Charlemange ) และได้ทำสัญญากับศาสนจักรของพระสันตะปาปา ซึ่งพระองค์ได้ทรงช่วยเหลือคุ้มครองให้รอดพ้นภัยจากการรุกรานจากพวกชนเผ่าลอมบาร์ด โดยพระองค์ทรงขอฟื้นฟู จักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ได้เคยล่มสลายไปแล้ว โดยใช้ชื่อว่า จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปีค.ศ.800 โดยแยกเป็นอิสระจาก จักรวรรดิโรมันตะวันออกซึ่งอยู่ที่ กรุงคอนสแตนตินโนเบิล
เมื่ออาณาเขตของจักรวรรดิใหญ่มากขึ้น ก็เกิดมีการรุกรานจากชนเผ่าไวกิ้ง พวกอนารยชน จากดินแดนสแกนดิเนเวีย และ พวกมุสลิมรุกรานดินแดนต่างอันห่างไกล ทำให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิซึ่งกาลต่อมามีทีท่าอ่อนแอลง ไม่สามารถไปควบคุมถึงได้ จึงต้องพึ่งพาขุนศึกของพื้นที่ในดินแดนนั้นๆ ทำให้ระบบการปกครองค่อยๆกลายเป็น แบบ ศักดินาสวามิภักดิ์ หรือ ระบบฟิวดัล ( Feudalism ) ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออกนั้น เมื่อกาลต่อมา องค์จักรพรรดิไม่ใช่เชื้อสายชาวโรมันเดิมเสียแล้ว กลับเป็นเชื้อสายชาวกรีกแทน แถมยังเปลี่ยนชื่อ จักรวรรดิโรมันตะวันออกไปเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ และเปลี่ยนศาสนาคริสต์จากโรมันคาทอริกแบบโรมวาติกันไปเป็นนิกายออร์โธดอกซ์แบบกรีก และเมื่อกาลเวลาล่วงผ่านไปร่วมพันปี จักรวรรดินี้ก็ถูกการรุกรานจากพวกมุสลิม พวกอ็อกโตมันเติร์ก ซึ่งยึดเมืองหลวงได้ในปี ค.ศ.1453 และถูกเปลี่ยนชื่อจากกรุงคอนสแตนตินโนเบิล ไปเป็น อิสตันบูล ซึ่งปกครองแบบมุสลิมโดยพวกเติร์ก
ระหว่างยุคกลางอันยาวนาน นับตั้งแต่ จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายในปี ค.ศ. 476 ไปจนถึง จักรวรรดิโรมันตะวันออกล่มสลายในปี ค.ศ. 1453 ยาวนานร่วมพันปีนั้น คริสต์ศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลกับประชากรในทวีปยุโรป อีกทั้งบ้านเมืองอยู่ในสภาวะสงครามแย่งชิงดินแดนและเกิดโรคระบาดต่างๆอย่างรุนแรงเป็นระยะๆ ความก้าวหน้าในการศึกษารวมไปถึงหลักฐานต่างๆที่ได้คิดค้นในวิชาโหราศาสตร์ดาราศาสตร์ ซบเซาลงเป็นอย่างมาก อย่าว่าแต่วิชาโหราศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์เลย เพราะแม้แต่วิชาวิทยาศาสตร์หรือศิลปวิทยาการสาขาในอื่นๆ ที่ขัดกับศาสนศาสตร์ในยุคนั้น ก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นเท่าที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด เพราะประชาชนและสังคมต่างก็ศึกษาสนใจมุ่งแต่พัฒนา ไปทางด้านยกระดับจิตวิญญาณเพื่อชาติภพหน้ามากกว่า อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่แน่นอนและความมั่นคงในทุกๆด้านของการดำรงชีวิตซึ่งง่อนแง่นและไม่แน่นอน ในทางประวัติศาสตร์โลก จึงนับว่าช่วงพันปีดังกล่าวนี้ ถือเป็นช่วงขาดตอนในทางปัญญาภิวัฒน์ของโลกทางฝั่งตะวันตก หรือ เป็นยุคมืดในทางปัญญา
แต่ถึงกระนั้น ในศตวรรษที่ 13 ก็ยังพอมีตำราเดี่ยวกับโหราศาสตร์ที่แต่งโดย Johannes De Sacrobosco และ Guido Bonatti จากอิตาลีได้แต่งตำราโหราศาสตร์ชื่อ Liber Astronomicus ซึ่งนักโหราศาสตร์รุ่นหลังต่อมาถือกันว่า เป็นตำราโหราศาสตร์ที่แต่งเป็นภาษาละตินเล่มสำคัญที่โดดเด่นในยุคกลางช่วงปลาย และ Richard De Willingford นักประดิษฐ์เครื่องวัดมุมดาว
หลังจากสงครามทางศาสนาหรือสงครามครูเสด ในสมัยกลางที่ดำเนินมายาวนานกว่า 300 ปี ได้สิ้นสุดลงในศตวรรษที่ 14 ระหว่างนั้นได้มีการค้นพบศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของกรีกและโรมันที่คงเหลือซากอยู่ในเมืองเก่าหลายๆแห่งอันงดงามขึ้นมาใหม่ แถมยังมีการแก้ไขปรับปรุงดัดแปลงศิลปะวิทยาการต่างๆจากยุคนั้นให้ดียิ่งๆขึ้นไป ทำให้มีการมุ่งพัฒนาค้นคว้ากันเพิ่มมากขึ้นอย่างเนื่อง ในทางประวัติศาสตร์ถือกันว่าเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือ ยุคเรเนซอง ( Renesance Era ) ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ กลศาสตร์ การเดินเรือ เคมี ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมไปถึงงานวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และงานศิลปกรรม เป็นไปอย่างก้าวหน้าชนิดพรวดพราดขึ้นมาแบบผิดหูผิดตา และสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแพร่หลายวิทยการทางความรู้ได้แก่ การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์หนังสือ โดย โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก ( Johanese Gutenberg )ประมาณปี ค.ศ.1468 ทำให้หนังสือตำรามีราคาถูกลงมากๆช่วยให้การศึกษาวิชาต่างๆแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง อีกทั้งชาติต่างๆในยุโรปที่เริ่มเป็นประเทศ เป็นอาณาจักรที่มีดินแดนที่แน่นอนชัดเจนยิ่งขึ้น มีการค้นพบเส้นทางการเดินเรือพาณิชย์สายใหม่ ค้นพบบุกเบิกเรื่องการเดินทางทางทะเล การค้า และค้นพบทวีปอเมริกา และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ ทวีปยุโรปเริ่มเป็นผู้นำเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกมากยิ่งขึ้น
นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และโหราจารย์คนสำคัญในยุคนี้ เริ่มปรากฏตัวและนำเสนอทฤษฎีการค้นพบที่ปฏิวัติรูปแบบของทัศนคติแห่งโหราศาสตร์ ก็คือ การพิสูจน์ว่า โลกกลม และเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ต่างๆที่ต่างก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความรู้ทั้งทางทฤษฎีดาราศาสตร์และมุมมองเกี่ยวกับจักรวาลได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นักดาราศาสตร์ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วต่างก็เป็นโหรแห่งราชสำนักในอาณาจักรนั้นๆไปด้วย ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในผลงานในยุคนี้ที่สำคัญ อาทิเช่น กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galiei), ไทโค บาเฮ ( Tycho Brahe ) , โยฮันเนส เคปเลอร์ ( Johannese Kepler ), นิโครลาส คอร์เปอร์นิคัส ( Nicolas Copernicus ), เซอร์ไอแซค นิวตัน ( Sir Isac Newton ) ฯลฯ ท่านเหล่านี้ได้สร้างคุณูปการกับวิชาโหราศาสตร์ในด้านความถูกต้องของการสร้างทฤษฎีการคำนวณหาตำแหน่งที่แน่นอนของปัจจัยต่างๆที่ใช้ในระบบโหราศาสตร์ด้วยกันทั้งสิ้น
มีนักโหราจารย์ชื่อดัง ยุคนี้ที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของวิชาโหราศาสตร์ที่ยาวนานซึ่งปรากฏมีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายท่าน ที่มีผู้จดจำบันทึกผลงานเอาไว้ได้ อาทิเช่น Johannes Stoffler ( 1452 – 1531 )โหราจารย์ชาวเยอรมัน หรือโหราจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้แต่ง The Century รวมคำพยากรณ์นามอุโฆษอย่าง Michel De Nosterdam ซึ่งที่รู้จักกันในนาม นอสตราดามุส ( Nostradamus 1503 – 1566 ) ในฝรั่งเศสนี้มีโหราจารย์ที่โด่งดังหลายท่าน เช่น Jacques Gaffarel ( 1601-1681 ) กับ Merin De Villefranche โหราจารย์ผู้ลึกลับแต่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งแห่งราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในประเทศอังกฤษนั้น ในยุคนี้ก็มีโหราจารย์คนสำคัญ เช่น William Lilly ( 1602-1681 ) , Robert Fludd ( 1574 – 1637 ) Francis Bacon ( 1561 – 1626 ) ซึ่งไม่ได้เด่นเฉพาะวิชาวิชาเคมีเท่านั้น แต่ในทางโหราศาสตร์ก็มีผลงานออกมาให้เป็นที่ลือลั่นในวงการเหมือนกัน หรือ Sir Thomas Browne ( 1605 -1682 )ผู้อธิบายทฤษฎีการเชื่อมโยงโหราศาสตร์กับมนุษย์ได้อย่างเป็นระบบหรือที่เรียกกันในเวลาต่อมาว่า Metaphysics
พอถึงศตวรรษที่ 17-18 เมื่อการตีพิมพ์ตำรับตำราเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการคมนาคมขนส่ง และการปฏิวัติอุตสาหกรรมของโลก ทำให้ความรู้ ทั้งในระบบโหราศาสตร์และดาราศาสตร์มีการถ่ายโอนกันระหว่างโลกมุสลิมและยุโรปไปอย่างกว้างขวาง ทฤษฎีต่างๆของโหราศาสตร์เริ่มชัดเจนขึ้นมาก จนถือกันว่าพัฒนาจนได้ชื่อว่าเป็น โหราศาสตร์ก้าวหน้ายุคใหม่ ( Post- Modern ) เริ่มมีการจัดพิมพ์ปฎิทินดาราศาสตร์ ( Ephimeris ) เช่นของ Raphael ( R.C.Smith 1795-1832 )เริ่มพิมพ์เผยแพร่ในปี 1795 เพื่อนักโหราศาสตร์และมีการจำแนกรูปแบบสาขาวิชาออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งโหราศาสตร์บุคคล โหราศาสตร์การเมือง เทคนิคการให้ฤกษ์ และกาลชะตา มีสำนักโหรต่างๆในยุโรปผุดขึ้นมากมาย งานของ Alan Leo ( 1860-1917 ) Zadkiel ( Commander R.J. Morrison 1795-1840 )และ ของ Sepharial ( W.R.Old 1864-1929 ) ต่างก็มีอิทธิพลในการเผยแพร่ความรู้แบบมาตรฐานของยุคนั้นให้กับวงการโหรในรุ่นต่อๆมาอย่างมากมาย
ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการค้นพบเทคนิคโหราศาสตร์แบบใหม่ขึ้นมาซึ่งพัฒนาในเยอรมัน โดย Alfred Witte ( 1878-1943 )และคณะ ซึ่งประกอบด้วย Friedrich Sirggrun ,Ludwig Rudolph,Hermann Lefeldt ร่วมกันพัฒนา เรียกกันในสมัยนั้นว่า เทคนิคแบบสำนักโหราศาสตร์Hamburg หรือที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า โหราศาสตร์แบบยูเรเนียน ต่อมาในปี 1930 Renold Ebertine ก็พัฒนาแยกต่อไปเป็น วิชา Cosmobiology ในสายนี้รวมไปถึงงานของ Hans Niggemann ,Ruth Brummund , Charles Emerson , Roger Jacobson , Karl Ambjornson ด้วย ส่วนในอังกฤษนั้น ผลงานด้านตำราของ Cyril Fagan ,Garth Allan และในอเมริกางานของ Dane Rudhyar และ Marc Edmund Jones อีกทั้ง Charles E.O. Carter, Vivian Robson ,John Addey, Liz Greene, Evangeline Adams, Robert Hand, Linda Goodman ,Noel Tyl ก็เป็นที่นิยมสนใจของผู้ที่ศึกษาวิชานี้ใช้อ้างอิงไปทั่วโลก
ส่วนในยุคปัจจุบันนี้ ตำรับตำราโหราศาสตร์ ที่ถือกันว่า แฟนพันธุ์แท้ในวิชานี้ ห้ามพลาด ถ้ารักวิชานี้จริงจะต้องขวนขวายหามาอ่านมาศึกษา เพราะได้รับการยอมรับของโหรานุโหรทั่วโลก ซึ่งเท่าที่ค้นหามาได้มีดังนี้
The best Introductions to Astrology
Astrology: Classic Guide To Understanding Your Horoscope - Ronald Davison, CRCS
Astrology, a Cosmic Science - Isabel Hickey, CRCS
Spiritual Astrology - Spiller & McCoy, Simon & Schuster
Spiritual Approach To Astrology - Myrna Lofthus, CRCS
Astrologer's Handbook - Sakoian & Acker, Harper
Secrets From a Stargazer's Notebook - Debbi Kempton-Smith, Topquark
Only Way To Learn Astrology, Vol 1 - Basic Principles - March & McEvers, ACS
Only Way To Learn Astrology, Vol 2 - Math & Interpretation Techniques - March & McEvers, ACS
Only Way To Learn Astrology, Vol 3 - Horoscope Analysis - March & McEvers, ACS
The best books on Relationships/Synastry:
Astrology & Sex - Vivian Robson, Astrology Classics
How to Handle Your Human Relations - Lois Sargent, AFA
Synastry - Ronald Davison, Aurora
Love Formulas-2 - Nance McCullough, Namac Publishing
Karmic Relationships - Martin Schulman, Weiser
Prediction Techniques Regarding Romance - Ana Ruiz, AFA
The best book on Transits:
Planets In Transit, expanded 2nd edition - Robert Hand, Whitford Press
The best book on Progressions:
Delineation of Progressions - Sophia Mason, AFA
The best books on Solar Returns:
Solar Returns: Formulas & Analyses - Nance McCullough, Namac Publishing
The Key Cycle - Wynn, AFA
Planets in Solar Returns - Mary Shea, Twin Stars Unlimited
New Solar Return Book of Prediction - Raymond Merriman, Seek-it
The best book on Solar Arcs:
Solar Arcs, Astrology's Most Successful Predictive System - Noel Tyl, Llewellyn
The best books on Primary Directions:
Primary Directions I , Rumen Kolev, Astro-Research
Primary Directions II , Rumen Kolev, Astro-Research
The best books on how to Combine Forecasting Techniques:
Art of Predictive Astrology: Forecasting your life events - Carol Rushman, Llewellyn
Predictive Astrology, The Eagle & the Lark - Bernadette Brady, Weiser
The best books on Fixed Stars:
Fixed Stars & Constellations in Astrology - Vivian Robson, Astrology Classics
Brady's Book of Fixed Stars - Bernadette Brady, Weiser
Fixed Stars - Ebertin-Hoffman, AFA
The best Astrological Reference Books:
Encyclopedia of Astrology - Nicholas de Vore, Astrology Classics
Encyclopaedia of Medical Astrology - H.L. Cornell, Weiser, Astrology Classics, hardcover
Encyclopaedia of Psychological Astrology - C.E.O. Carter, Astrology Classics
The best books on Money:
Planetary Stock Trading (3rd edition) - Bill Meridian, Cycles Research
Planetary Economic Forecasting - Bill Meridian, Cycles Research
Money: How to find it with Astrology - Lois Rodden, Data News
The best books on Employment & Careers:
Vocational Astrology - Judith Hill, AFA
In Search of a Fulfilling Career - Joanne Wickenburg, AFA,
See also: Money: How to find it with Astrology - Lois Rodden, Data News
The best books on Relocation:
Astrolocality Astrology, What it is & How to use it - Martin Davis, Wessex Astrologer
Where in the World with Astro*Carto*Graphy - David Meadows,AFA
Planets in Locality, Exploring Local Space Astrology - Steve Cozzi, AFA
The best book on Electional Astrology:
Electional Astrology - Vivian Robson, Astrology Classics
The best books on Horary Astrology:
Christian Astrology, books 1 & 2 - William Lilly, Astrology Classics
Horary Astrology, Plain & Simple - Anthony Louis, Llewellyn
Martial Art of Horary Astrology - J. Lee Lehman, Whitford,
Simplified Horary Astrology - Ivy Goldstein-Jacobson
The best Essays about Astrology:
Real Astrology - John Frawley, Apprentice Books
The Real Astrology Applied - John Frawley, Apprentice Books
Horoscope Symbols - Robert Hand, Whitford
Essays on Astrology - Robert Hand, Whitford
Cosmic Loom: The New Science of Astrology - Dennis Elwell, Urania Trust
Astrology in the Year Zero - Gary Phillipson, Flare Publications
The best books on Astrological Body Types:
Astrological Body Types: Face/form/expression - Judith Hill, Borderlands Press
Astrological Types - Howard Duff, AFA
The best books on Astrology as a Business:
Astrology: A Language of Life vol. 3: A Handbook for the Self-Employed Astrologer - Robert Blaschke, Earthwalk School of Astrology
The best books on Medical Astrology:
Encyclopaedia of Medical Astrology - H.L. Cornell, Weiser, Astrology Classics, hardcover
Medical Astrology: A guide to planetary pathology - Judith Hill, Stellium Press
Medical Astrology - Eileen Nauman, Blue Turtle Publishing
How to Give Astrological Health Reading - Diane Cramer, AFA
Medical Astrology: Healing for the 21st Century - Marcia Starck, Earth Medicine Press
Encyclopaedia of Psychological Astrology - C.E.O. Carter, Astrology Classics
Astrological Judgement & Practice of Physick, deducted from the position of the Heavens at the decumbiture of the sick person - Richard Saunders, Astrology Classics
Astrological Judgement of Diseases from the Decumbiture of the Sick - Nicholas Culpeper, Astrology Classics
The best books on Aspects:
Aspects in Astrology: A guide to understanding planetary relationships in the horoscope - Sue Tompkins, Destiny Books
Astrological Aspects - C.E.O. Carter, AFA
Dynamics of Aspect Analysis - Bil Tierney, CRCS
Understanding Aspects: The Inconjunct - Alan Epstein, Trines Publishing
Yod: Its Esoteric Meaning - Joan Kellogg, AFA
The best book on Arabian Parts:
Arabian Parts Decoded - Lind Weber, AFA
The best books on the History of Astrololgy:
A History of Horoscopic Astrology, from the Babylonian Period to the Modern Age - James Herschel Holden, AFA
Astrological Pioneers of America - James Herschel Holden & Robert A. Hughes, AFA
Moment of Astrology - Geoffrey Cornelius, Wessex Astrologer
The best translation of Ptolemy:
Tetrabiblos - Claudius Ptolemy (trans: J.M. Ashmand), Astrology Classics
The best Ephemeris for the 20th Century:
Ephemerides 1900-2000 - Rosicrucian Fellowship
The best Ephemeris for the 21st Century:
The American Ephemeris 2001-2010 (midnight) - Rique Pottenger (Neil Michelsen), ACS
The best Tables of Houses (Placidus):
Tables Of Houses (Placidus) - Rosicrucian Fellowship
The best book on Asteroids:
Mechanics of the Future: Asteroids - Martha Lang-Westcott, Treehouse Mountain
The best books on Chiron:
View from Chiron: Essence & Application - Zane B. Stein, Zane Stein
Chiron ephemeris: Chiron & the Healing Journey - Melanie Reinhart, Penguin Arkana
The best book on the Moon:
Moon in Your Life - Donna Cunningham, Weiser
The best books on Pluto:
Healing Pluto Problems - Donna Cunningham, Weiser
Pluto: The Evolutionary Journey of the Soul - Jeff Green, Llewellyn
The best books on Cosmobiology & Midpoints:
Combination of Stellar Influences - Reinhold Ebertin, AFA
Cosmobiology For the 21st Century, Kimmel, Eleonora, AFA
A Course in 90 degree Dial Techniques (includes 2 C-90 cassettes) - Martha Lang-Wescott, Treehouse Mountain
Dial Detective: Investigation with the 90 degree dial - Maria Kay Simms, Cosmic Muse Publications
90 Degree Dial, Penelope Publications
The best books on Uranian Astrology:
Rules for Planetary Pictures - Witte-Lefeldt, Witte-Verlag
Phoenix Workshop, Uranian Astrology Manual, Cosmobiology Conference - Penelope Bertucelli, Penelope Publications
Orders of Light - Martha Lang-Westcott, Treehouse Mountain
Architects of Time - Martha Lang-Wescott, Treehouse Mountain
The best books on Weather Forecasting:
Weather Predicting - C.C. Zain, Church of Light
Astrometeorology, Planetary Power in Weather Forecasting - Kris Brandt Riske, AFA
The best books on Mundane Astrology:
Mundane Astrology three books by H.S. Green, Raphael & C.E.O. Carter, Astrology Classics
Mundane Astrology (Course XIII) - C.C. Zain, Brotherhood of Light
Fixed Stars & Judicial Astrology - G.C. Noonan, AFA
Book of World Horoscopes - Nicholas Campion, Wessex Astrologer
The best book on the Nodes:
Lunar Nodes - Mohan Koparkar, Mohan Enterprises
The best book on the Sabian Symbols:
The Sabian Symbols as an Oracle - Lynda Hill, White Horse Book
Sabian Symbols, A Screen of Prophecy - Diana E. Roche, Trafford
The best books on Traditional Astrology:
Matheseos Libri VIII - Ancient Astrology Theory & Practice - Firmicus Maternus, translated by Jean Rhys Bram, Astrology Classics
Classical Astrology for Modern Living - J. Lee Lehman, Whitford
Practical Guide to Traditional Astrology - Joseph Crane, Arhat Publications
On the Judgments of Nativities - Johannes Schoener (trans: Robert Hand), ARHAT
Essential Dignities - J. Lee Lehman, Whitford Press
Judgments of Nativities - Abu 'Ali Al-Khayyat, trans. by James Holden, AFA
The best books on Rulerships:
Book of Rulerships - J. Lee Lehman, Whitford
Rulership Book - Rex E. Bills, AFA
The best book on the Vertex:
Vertex: The Third Angle - Donna Henson, AFA
The best books on Astrology & Science:
Cosmic Influences on Human Behavior - Michael Gauquelin, Aurora Press
Planetary Heredity - Michel Gauquelin, ACS
Tenacious Mars Effect - Suitbert Ertel & Kenneth Irving, Urania Trust
Sun - Earth - Man, A mesh of cosmic oscillations - Theodore Landscheidt, Urania Trust
Astrology as Science: A statistical Approach - Mark Urban-Lurain, AFA
The best books on Harmonics:
Harmonics in Astrology - John Addey, Urania Trust
New Study of Astrology - John Addey, Urania Trust
Harmonic Charts - David Hamblin, Aquarian
Working With Astrology: The Psychology of Midpoints, Harmonics & Astro*Carto*Graphy - Michael Harding & Charles Harvey, Consider Publications
The best intelligible book on Esoteric Astrology:
Cabalah of Astrology, The Language of Numbers - William Eisen, DeVorss
The best unintelligible book on Esoteric Astrology:
Esoteric Astrology - Alice Bailey, Lucis Trust
The best books on Astrology & Kabbalah:
Kabbalistic Astrology, Sacred Tradition of the Hebrew Sages - Rabbi Joel C. Dobin, Inner Traditions
Astrology & Kabbalah, a rewrite of the Anatomy of Fate - Z'ev ben Shimon Halevi, Urania Trust
The best books on Eclipses:
Favorable Eclipses - Helen Adams Garrett, AFA
Your Prenatal Eclipse - Rose Lineman, AFA
Lunar Shadows, The Lost Key to the Timing of Eclipses - Dietrech J. Pessin, Galactic Press
The best Research (one tough book):
Astrology of the Brain, an introduction - Martha Lang-Wescott, Treehouse Mountain
นอกจากตำรับตำราต่างๆที่นักโหราศาสตร์แนวตะวันตกหรือแนวสากล จะใช้ศึกษาอ้างอิงซึ่งเป็นแนวเดียวกันไปจนเป็นมาตรฐานที่รู้ศึกษากันไปทั่วโลกแล้ว ยังมีเทคนิคต่างๆในการเข้าถึงวิชาให้รวดเร็วทางการประมวลข้อมูล ที่จะให้ผลการทำนายเป็นที่ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้นซึ่งโหราจารย์แต่ละสำนักของแต่ละยุคสมัยอีกมากมายนัก และแต่ละสำนักต่างก็ได้วางระบบระเบียบแนวทางเอาไว้ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ที่จะศึกษาวิชานี้และต้องการที่จะลงลึกเข้าไปในรายละเอียด เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งโดยใช้เวลาในการศึกษาอย่างรวดเร็วทันใจจึงมักจะต้องพาตัวเข้าหาสำนักครูบาอาจารย์ต่างๆเท่าที่ตนจะสะดวกและหาได้ ให้ช่วยแนะนำสั่งสอนให้ เพื่อให้ช่วยนำพาผู้ศึกษาได้เข้าสู่วงการ และเข้าถึงแหล่งฐานข้อมูลแห่งวิชานี้ เพื่อใช้ในการค้นคว้าหาประสบการณ์จริงได้ด้วยตนเองต่อไป
การพัฒนาต่อยอดในเรื่องวิชาการและเทคนิคต่างๆ คงไม่ได้ยุติแค่ในยุคปัจจุบันนี้เท่านั้น ยังคงจะมีต่อไปอีกมากตามวิวัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์ แต่ก็จะยังคงอยู่ในกรอบของปรัชญาที่มีมาก่อนหลายพันปีแล้ว ที่ว่า “เมื่อข้างบนเป็นเช่นไร ข้างล่างก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน “