โหราเวสม์ ฉบับที่ 8
ดาวพระเคราะห์ที่ไร้ตำแหน่งสัมพัันธ์
พลตรีประยูร พลอารีย์
ข้าพเจ้าเคยนำเอาหลักการเรื่อง "ตำแหน่งสัมพันธ์ระหว่างดาว" มาเล่าสู่กันฟังไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งเข้าใจว่านักศึกษาคงพอจะมองเห็นความจำเป็นของ "ทฤษฎีตำแหน่งสัมพันธ์" สำหรับการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ และในขณะเดียวกันก็คงจะทราบพื้นฐานที่มาของวิธีการออกแบบคำพยากรณ์ในทฤษฎีตำแหน่งสัมพันธ์บ้างไม่มากก็น้อย
อย่างไรก็ดี ยังมีดาวพระเคราะห์บางดวงในดวงชาตาที่ไม่มีตำแหน่งสัมพันธ์กับดาวพระเคราะห์อื่น กล่าวคือมิได้ทำมุม 0 องศา (กุม) 60 องศา (โยค) 90 องศา (จตุโกณ) 120 องศา (ตรีโกณ) หรือ 180 องศา (เล็ง) กับดาวพระเคราะห์ใดๆ ดาวพระเคราะห์ใดๆ ก็ตาม หากสถิตในดวงชาตาอยู่ในสภาพเช่นนี้ วิชาโหราศาสตร์เรียกดาวพระเคราะห์นั้นว่า "ดาวพระเคราะห์ที่ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์" และเรียกกันในภาษาลาตินว่า "เฟราลีส (Feralis)" (ไม่มีคำในภาษาอื่น)
นั่นเป็นความตามคัมภีร์เก่า แต่เนื่องจากมีผู้พบว่าตำแหน่งสัมพันธ์ "เบณจโกณ" กับบรรดามุม "ทวิเบญจโกณ" ทั้งหลาย (จำนวนเท่าของ 72 องศา) กับปรากฏการณ์ของดาวพระเคราะห์สถิตใน "ศูนย์รังสี" (มีตำแหน่งอยู่ตรง กึ่งกลาง ระหว่างดาวพระเคราะห์ 2 ดวงพอดี) แสดงอิทธิิพลไม่แพ้ตำแหน่งสัมพันธ์สามัญทั้ง 5 (กุม โยค จตุโกณ ตรีโกณ เล็ง) เพราะฉะนั้นพฤติภาพของดาวพระเคราะห์ที่ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์จริงๆ จึงควรได้แก่ดาวพระเคราะห์ที่ไม่มีตำแหน่งสัมพันธ์ "สามัญทั้ง 5" และไม่มีตำแหน่งสัมพันธ์เบญจโกณกับดาวพระเคราะห์อื่น กับต้องมิได้สถิตอยู่ในศูนย์รังสีของดาวพระเคราะห์คู่ใดๆ ด้วย อาการไร้ตำแหน่งสัมพันธ์จึงจะเป็นไปในลักษณะอาการที่รุนแรง
อนึ่งนักศึกษาจะต้องทราบตามหลักของสามัญสำนึก ว่าในโลกนี้ย้อมจะไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ อาการไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ของดาวเคราะห์นี้ก็เช่นเดียวกัน ดาวพระเคราะห์ทุกดวงที่สถิตในจักราศีหรือในดวงชาตานั้น เมื่อพิจารณากันให้ถ่องแท้แล้ว ย่อมจะมีตำแหน่งสัมพันธ์กับดาวพระเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วยกันทั้งนั้น แต่ในระยะวังกะต่างๆ กัน ถ้าระยะวังกะน้อยเราก็อาจเรียกว่ามีตำแหน่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งอิทธิพลที่ปรากฏจะมีลีลารุนแรง เช่น ศุกร์ จตุโกณ เสาร์ สนิท (เกือบไม่มีระยะวังกะเลย) จะมีผลทำให้เจ้าชาตา "มีทุกข์ในเรื่องรักใคร่" อย่างรุนแรง แต่ถ้าระยะวังกะห่างมากเราก็อาจเรียกว่ามีตำแหน่งสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยหรือห่างๆ ซึ่งอิทธิพลที่ปรากฏก็จะมีลีลาอ่อนลง ยิ่งห่างมากอิทธิพลก็จะอ่อนมากเป็นเงาตามตัว เช่น ศุกร์ จตุโกณ เสาร์ แต่มีระยะวังกะมาก "ความทุกข์ในเรื่องรักใคร่" ก็จะมีน้อยลงตามลำดับ และเนื่องจากมนุษย์ทุกคนในโลกนี้หายากที่จะไม่มีทุกข์ในเรื่องรักใคร่ กล่าวคือย่อมจะต้องมีอยู่ในทุกคนในชีวิตของเขา ศุกร์กับเสาร์ในดวงชาตาจึงย่ิอมแสดงอิทธพิลถึงกัน หรือที่พูดกันในวงการโหราศาสตร์ว่า "ส่งกระแสถึงกัน" หรือก็คือย่อมจะมี "ตำแหน่งสัมพันธ์" กันเสมอไป เพราะฉะนั้นคำว่า "ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์" ที่สมบูรณ์จริงๆ จึงไม่มีในโลก เช่นเดียวกับ "คนกล้า" จริงๆย่อมจะไม่มีในโลกฉันนั้น เพราะคนกล้าก็คือคนที่กลัวน้อย หรือมีความเป็น "คนกลัว" น้อยนั่นเอง กล้ามากหรือกล้าน้อยย่อมจะสุดแล้วแต่ว่า เขาอยู่ห่างไกลจากความเป็น "คนกลัว" มากน้อยเพีัยงใด ซึ่ง "อาการไร้ตำแหน่งสัมพันธ์" ของดาวพระเคราะห์นี้ ก็คงถือหลักการพิจารณาทำนองเดียวกับ "กรณีคนกล้ากับคนกลัวหรือคนขี้ขลาด" ตามที่กล่าวมานี้ในทุกประการ กล่าวคืออาการไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ของดาวพระเคราะห์จะมีมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับว่า ดาวพระเคราะห์ดวงนั้นๆ สถิตในตำแหน่งที่ห่างไกลจากสภาพการมีตำแหน่งสัมพันธ์กับดาวพระเคราะห์อื่นมากน้อยเพียงใด และอิทธิพลอันเกิดขึ้นเพราะการไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ก็จะมีีลีัลาอ่อนแรงเป็นไปตามส่วนสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นด้วย
การวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ "ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์" จะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาดาวพระเคราะัห์ที่มีตำแหน่งสัมพันธ์ก่อน กล่าวคือ เนื่องจากในกรณีการมีตำแหน่งสัมพันธ์นั้น "ผู้รับ" จะได้รับความสัมพันธ์จาก "ผู้ส่ง" (ซึ่งอาจมีหลายผู้ส่งก็ได้) หรือก็คือ "ผู้ส่ง" จะส่งความสัมพัีนธ์ ไปให้แก่ "ผู้รับ" ฉะนั้นเมื่อไม่มีตำแหน่งสัมพันธ์หรือไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ สภาพของการปราศจากความสัมพันธ์ ก็จะบังเกิดขึ้น และมีอิทธิพลต่อเจ้าชาตาทางด้านจิตวิทยา คือ การมีสภาพโดดเดี่ยว ตามความหมายทางโหราศาสตร์ของดาวพระเคราะห์นั้น
ตัวอย่างเช่น ศุกร์ (ความรักใคร่) เมื่อมีตำแหน่งสัมพันธ์กับพุธจะมีความสัมพันธ์กับปัญญาความสามารถ เมื่อมีตำแหน่งสัมพันธ์กับอังคาร จะมีความสัมพันธ์กับความร้อนแรง...ฯลฯ แต่ถ้าหากไม่มีตำแหน่งสัมพันธ์กับดาวพระเคราะห์ใดๆ เลย ก็จะมีผลทางด้านจิตวิทยา คือทำให้กลายเป็นบุคคลไม่มีความรู้สึกในเรื่องรักๆ ใคร่ๆ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ การไร้สมรรถภาพทางเพศ ปราศจากความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และมีชีวิตอยู่ด้วยความเปล่าเปลี่ยว
การพิจารณาดวงชาตา สำหรับกรณีดาวพระเคราะห์ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์นี้ ยังต้องคำนึงถึงราศีที่ดาวพระเคราะห์ดวงนั้นสถิตอีกด้วย เพราะในกรณีดาวพระเคราะห์ใดๆ สถิตในราศีใดๆ ก็ตามนั้น อิทธิพลทางโหราศาสตร์ที่ปรากฏก็คือ เสมือนกับ ดาวพระเคราะห์ดวงนั้นสถิตกุมกันกับเกษตรของราศีที่สถิตนั่นเอง (ตัวอย่าง อังคารสถิตในราศีมิถุน อิทธิพลที่เกิดขึ้นก็คืออิทธิพลผสมระหว่างอังคารกับพุธ ซึ่งเป็นเกษตรของราศีมิถุนนั่นเอง กล่าวคือ เป็นผู้มีความคิดหลักแหลม พูดจาคล่องแคล่ว ฯลฯ กล่าวคือมีอิทธิพลเหมือนอังคารได้ตำแหน่งสัมพันธ์ "กุม" พุธ) อย่างไรก็ดี ถ้าหากดาวพระเคราะห์ดวงนั้นๆ สถิตในราศีที่เป็นเกษตรของตนเอง ดังเช่นพุธสถิตในราศีมิถุนอันเป็นตำแหน่งเกษตรของตนเช่นนี้ อิทธพลที่ปรากฏก็จะเป็นอิทธิพลของพุธบริสุทธิ์
ฉบับที่ 9 ต่อ
ดาวพระเคราะห์ที่ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์
ดาวพระเคราะห์ที่ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ หากสถิตในตำแหน่งเกษตร การมีสภาพโดดเดี่ยวก็จะมีลักษณะรุนแรงยิ่งขึ้น
ดาวพระเคราะห์ที่มีอิทธิพลแสดงถึง ความโดดเดี่ยว หรือการพลัดพรากจากสังคม ในท้องฟ้าย่อมไม่มีดวงใดเกิน เสาร์ เสาร์หากไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ เป็นเจ้าเรือนที่ 1 ถ้าสถิตในเรือนที่ 12 แล้ว โครงสร้างเช่นนี้ ก็คือดวงชาตาของฤาษีหรือชีไพรนั่นเอง
เพื่อเป็นตัวอย่าง ขออัญเชิญดวงพระชาตา พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งปรากฏในหน้า 1 ของนิตยสารพยากรณสาร (ของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย) ดังนี้
ลัคนา 13 พภ 11
เมอริเดียน 3 กภ 33 (กัมมะ)
อาทิตย์ 5 ธน 42
จันทร์ 5 กฏ 05
อังคาร 18 พจ 48
พุธ 15 พจ 58
พฤหัส 17 มน 47
ศุกร์ 14 มก 37
เสาร์ 29 มน 56 พ.
มฤตยู 4 สห 21
เนปจูน 19 มษ 37
พลูโต 4 พภ 15 พ.
ราหู 5 ธน 04
เกตุ 7 มษ 29
อายนางศ 22 องศา 11 ลิปดา
ประสูติ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 เวลา 15.59 น. พระนคร
ในการตรวจดวงชาตาเพื่อค้นหาดาวพระเคราะห์ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ เพื่อความสะดวกควรใช้ "จานคำนวณ" ของโหราศาสตร์ยูเรเนียน แต่เมื่อต้องการประหยัด ก็อาจใช้วิธีเพื่อพราง กล่าวคือใช้กระดาษแข็งตัดเป็นวงกลม หมายจุดที่มีตำแหน่งสัมพันธ์สามัญทั้ง 5 ลงไปที่ขอบ แล้วใช้อย่างจานคำนวณก็ได หรือจะใช้วิธีคิดเอาในใจก็ได้เช่นเดียวกัน
เมื่อได้สำรวจดวงพระชาตาตั้งแต่อาทิตย์จนถึงเกตุพร้อมทั้งลัคนาและเมอริเดียนแล้ว พอจะวินิจฉัยได้ว่า มีดาวพระเคราะห์ในพระชาตาอยู่ 2 ดวงที่มีสภาพ ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ มากกว่าเพื่อน โดยที่เสาร์ไร้ตำแหน่งสัมพันธ์มากที่สุด รองลงไปก็คือเนปจูน (เสาร์สถิตห่างจากตำแหน่งจตุโกณสนิทกับจันทร์ราว 5 องศา ส่วนเนปจูนสถิตห่างจากตำแหน่งจตุโกณกับศุกร์ราว 4 องศาเช่นกัน แต่จันทร์โคจรเร็ว และกำลังโคจรออกจากตำแหน่งจตุโกณออกไป จึงถือว่าเสาร์ได้ตำแหน่งสัมพันธ์กว่า)
เมื่อเสาร์ดาวพระเคราะห์แห่ง ความวิปโยคพลัดพราก อยู่ในสภาพไร้ตำแหน่งสัมพันธ์อย่างมากที่สุดเช่นนี้ ก็ย่อมแสดงคุณสมบัติของตนอย่างเต็มที่ กล่าวคือ มีผลทำให้พระองค์ต้องวิปโยค พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนไปประเทศอังกฤษตั้งแต่พระชนมายุเพียง 13 พรรษา และยิ่งไปวกว่านั้น กิจกรรมใดๆ ก็ตาม ที่เป็นกิจกรรมที่มีผลทำให้ต้องปลีกตนออกจากสังคม ย่อมจะเข้ามามีบทบาทสำคัญจ่อชีวิตของพระองค์อย่างแน่นอน ดังเช่นกิจกรรมโหราศาสตร์และไสยศาสตร์เป็นต้น ปรากฏว่าพระองค์ท่านมีความเชี่ยวชาญเป็นที่เลื่องลือกันหนาหู ดังประจักษ์อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ลำพังเพียงเสาร์ดวงเดียวซึ่งอยู่ในสภาพไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ จะยังนำมาวินิจฉัยถึงความปรีชาสามารถทางด้านไสยศาสตร์หรือศาสตร์ลึกลับอื่นๆ หาได้ไม่ เพราะดาวพระเคราะห์ดวงนี้ ธรรมชาติของอิทธิพลอันแท้จริงมีความโน้มเอียงไปทางด้านวัตถุมากกว่าทางด้านจิต หรือก่อให้เกิดความเปล่าเปลี่ยวกายมากกว่าเปล่าเปลี่ยวใจ เนปจูนซึ่งอยู่ในสภาพไร้ตำแหน่งสัมพันธ์ในอันดับถัดไป จึงเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ อิทธิพลที่แท้จริงของเนปจูนในทางโหราศาสตร์คือ การพลัดพรากทางจิต เพราะเหตุผลดังกล่าวท่านจึงจัดให้ครองเป็นเกษตรประจำราศี "ความเช้าตรู่" คือราศีมีน ซึ่งเป็นราศีสุดท้ายของจักราศี ถัดจากราศีมีนก็จะขึ้นต้นราศีเมษซึ่งอุปมาเหมือนยามเช้า เพราะฉะนั้น หากท่านต้องการจะทราบธรรมชาติที่แท้จริงของเนปจูนว่าเป็นอย่างไร ก็ให้นึกถึงธรรมชาติในยามเช้าตรู่ ซึ่งจะเห็นว่าเต็มไปด้วยความวิเวกวังเวงจนบอกไม่ถูก และก็ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง ยามเช้าตรู่จึงเป็นกาลเวลาที่เหมาะอย่างยิ่งในรอบวันสำหรับกิจกรรมเกี่ยวกับเวทมนต์คาถา ในโหราศาสตร์ยูเรเนียนให้ความหมายของเนปจูนไว้ประการหนึ่งว่า หมายถึง การวิปัสสนา ส่วนอิทธิพลของเนปจูน ซึ่งได้แก่ความหลอกลวง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการเพ้อฝันนั้น เป็นผลทางด้านจิตวิทยาอันสืบเนื่องมาจาก "การพลัดพรากทางจิต" อีกทีหนึ่ง บุคคลใดๆ ก็ตาม หากเข้าไปพัวพันกับสิ่งที่กล่าวมานี้ ย่อมหมายถึงว่า เขาผู้นั้น จิตจะต้องไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เผลอไผล เห็นผิดเป็นชอบ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ปากอย่างหนึ่งใจอย่างหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นอาการของ การพลัดพรากทางจิต ทั้งสิ้น