ReadyPlanet.com
dot
dot
เนื้อหาสาระ
dot
bulletเจตนารมณ์
bulletจากใจผู้จัดทำ
bulletส่องฟ้าฝ่ากระแสดาว
dot
ภาควิชาการ
dot
bulletสากลยูเรเนียนสัมพันธ์
bulletวิวัฒนาการองค์ความรู้แห่งโหรสยาม1
bulletวิวัฒนาการองค์ความรู้แห่งโหรสยาม 2
dot
บทความน่าอ่าน
dot
bulletคานทองนิเวศม์
bulletดวงเมียน้อย
bulletรสนิยมรักกับดวงชะตา
bulletอาจารย์ขา!แฟนหนูเป็นเกย์?!
bulletเรื่องอย่างว่า!!เอ๊ะยังไงกัน?
bulletเมื่อไหร่จะขายออกซะที?
bulletใครเอ่ย?เนื้อคู่คุณ..
bulletจุดรับเงินคุณเป็นอย่างไร?
bulletจุดล้มละลาย
bulletเพ่งดวงลูกน้อง
bulletเบอร์ฮัลโหลกับโหราศาสตร์
bulletเมื่อไหร่จะถูกหวย??
bulletงานสมพงษ์
bulletปั้นดินให้เป็นดาว
bulletถูกดองตำแหน่งหรือแป๊กขั้น
bulletทำอย่างไรให้ขายดี!!
bulletวิ่งให้ถูกเส้น ทำอย่างไร?
bulletจับงานใหญ่ต้องใช้ฤกษ์
bulletเอาฤกษ์เอาชัย
bulletลางสังหรณ์พารวย
bulletดวงผิดเพศ
bulletสัมผัสที่ 6
bulletคนเห็นผี
bulletคนตกยุค
bulletดวงดาวกับปัญหาสายตา
bulletศัลยกรรมใบหน้ากับโหราฯ
bulletต้นไม้เสี่ยงทาย
bulletสะเดาะเคราะห์ทำได้จริงหรือ?
bulletเทียนอาถรรพณ์
bulletพระเกตุ ดาวทิพย์แห่งโหรสยาม
bulletบทความ อจ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletมุมสัมพันธ์ระหว่างดาว
bulletเรือนชะตาจันทร์
bulletดาวไร้สัมพันธ์
bulletเว็บไซด์โหราฯ ที่น่าสนใจ
bulletธุรกิจ " หมอดู "
bulletตรวจสุขภาพด้วยโหราฯ
bulletกลุ่มโหราพารวย
bulletกลุ่มโหราหารัก
bulletกลุ่มโหราพารุ่ง
bulletโหราพาสนุก
bulletกลุ่มโหราพาสยอง
bulletกลุ่มโหราอาถรรพณเวทย์
bulletกลุ่มโหราสุขภาพ
bulletอาลัยพี่กุ้ง " กิตติคุณ เชียรสงค์ "
bulletกลุ่มสืบจากดวง
bulletกลุ่มโหราพยากรณ์
bulletกิจกรรมโหรา ' Sky Clock '
bulletท่านปัญญานันทะ
bulletอาลัยอาปื้ด ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
bulletจิ๊กซอร์ของโหราศาสตร์สากลยูเรเนียน
bulletสะเดาะเคราะห์แก้อาการเซ็ง
bulletสืบจากศพ..ทำไมถึงตาย
bulletอุตุโหราฯ
bulletไซโคลนนากรีส
bulletรอยสักสยองขวัญ
bulletบทความ "ระวังยูเรเนียน " ..โดย จรัญ พิกุล
bulletจังหวะฟ้ากับการนั่งสมาธิ
bulletพายุเฮอริเคน IKE
bulletอาลัยท่าน Udo Rudolph
bulletเสน่ห์มหานิยมจากริงโทนรอสาย
bulletรสนิยมเรื่องอย่างว่ากับอาหารการกิน
bulletเรื่องของไฝกับไอ้นั่น
bulletเรื่องของ ขน โลมา และอารมณ์
bulletยาโป๊วกับโหราศาสตร์
bulletของแสลงผิดสำแดงอารมณ์เพศ
bulletอาลัยพญาอินทรีแห่งวงการน้ำหมึก 'รงค์ วงษ์สวรรค์
bulletสะดือกับการพยากรณ์
bulletกรณีศึกษาการกลับชาติมาเกิด
bulletสยามยามวิกฤติ ตอนที่ 1
bulletรุจน์ รณภพ ดาราเจ้าบทบาท
bulletโหราจารย์มานิตย์ ธีรเวชชโรกุล ... ดวงครูที่น่าศึกษา
bullet...
bulletอีรีส (Eris )เทพเจ้าแห่งความขัดแย้งวุ่นวาย
bullet หลักวิธีการแก้กรรมในระบบโหราศาสตร์สากลยูเรเนียน
bullet100 ปี พระพุทธเจ้าหลวงกับดาวหางฮัลเลย์
bulletโหราสาธยาย
bulletโหราศาสตร์คืออะไร
bulletสารบัญ
bulletประวัติและความเป็นมาของวิชาโหราศาสตร์
bulletปรัชญาในการศึกษาวิชาโหราศาสตร์
bulletจุดลากรองจ์ (Lagrange Point )
bulletการหาเวลาเกิด ตำรับโหรจรัญ พิกุล
bulletAnalemma อาถรรพณ์แห่งเส้นสุริยวิถีกับโหราศาสตร์สากลยูเรเนียน
bulletหลักสูตรโหราศาสตร์สากลยูเรเนียนระบบจานสองชั้น 80 ชั่วโมง




มุมสัมพันธ์ระหว่างดาว
                           ตำแหน่งสัมพันธ์ระหว่างดาว

                                                     พันโท ประยูร พลอารีย์

                                                               โหราเวศม์ ฉบับปฐมฤกษ์   เมษายน 2517

                        ทฤษฎีตำแหน่งสัมพันธ์ เป็นทฤษฎีที่สำคัญยิ่งทฤษฎีหนึ่งในการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ เป็นทฤษฎีที่นักศึกษาทุกท่านมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่บางท่านไม่รู้จัก จึงใคร่ขอถือโอกาสนี้นำเอาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทฤษฎีนี้มาเล่ากันฟัง พอเป็นสังเขป เพื่อนักศึกษาที่สนใจจะได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาของท่านสืบไป
 

                        "สิ่ง" ที่วิชาโหราศาสตร์เรียกว่า "ตำแหน่งสัมพันธ์" นั้น คือ ลักษณะเชิงมุมที่ดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยต่างๆ ในวิชาโหราศาสตร์กระทำต่อกัน ซึ่งจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ 2 พวก คือ

                        พวกที่ 1 เรียกว่า "ตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศี" ภาษาต่างประเทศเรียกว่า Mundanaspekt เป็นลักษณะเชิงมุมหยาบๆ ไม่ต้องคำนึงถึงสมผุสของดาวพระเคราะห์ หรือปัจจัยสัมพันธ์ที่มีต่อกัน กล่าวคือ

                        ดาวพระเคราะห์สถิตในราศีเดียวกัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) กุม กัน

                        ดาวพระเคราะห์ที่สถิตเป็นสามแก่กัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) โยค กัน

                        ดาวพระเคราะห์สถิตเป็นสี่แก่กัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) จตุโกณ กัน

                        ดาวพระเคราะห์สถิตเป็นห้าเป็นเก้า เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) ตรีโกณ กัน

                        ดาวพระเคราะห์สถิตเป็นเจ็ดแก่กัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) เล็ง กัน

 

                        พวกที่ 2 เรียกว่า "ตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศา" ภาษาต่างประเทศเรียกว่า Aspekt เฉยๆ เป็นตำแหน่งสัมพันธ์ที่ต้องคำนึงถึงสมผุสของดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยที่มีลักษณะเชิงมุมต่อกันด้วย ในขณะเดียวกันก็กำหนดระยะคลาดเคลื่อน หรือ "ระยะวังกะ" ที่ยอมให้ใช้ด้วย (ความจริงแล้ว เมื่อนักศึกษามีความชำนิชำนาญขึ้นจะเห็นว่า ระยะวังกะนี้ เป็นปฏิภาคกลับกับความแรงของอิทธิพลทางโหราศาสตร์ และไม่จำเป็นต้องตั้งเกณฑ์บังคับเมื่อระยะวังกะมีค่ามากขึ้น อิทธิพลทางโหราศาสตร์ก็จะอ่อนลงตามลำดับจนกระทั่งไม่ปรากฏอิทธิพลเลย ยิ่งไปกว่านั้น ระยะวังกะยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลสมัยอีกด้วย เพราะบุคคลแต่ละยุคแต่ละสมัยมีความรู้สึกในการรับรู้อิทธิพลของดวงดาวไม่เท่ากัน สำหรับสมัยนี้ หากพยากรณ์กันให้รู้สึก ควรใช้ะยะวังกะราว 1 - 2 องศา แต่ในสมัยโบราณระยะวังกะมากกว่านี้) ตำแหน่งสัมพันธ์มาตรฐานที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ

                        ดาวพระเคราะห์ทำมุม 0 องศากัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) กุม กัน

                        ดาวพระเคราะห์ทำมุม 60 องศากัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) โยค กัน

                        ดาวพระเคราะห์ทำมุม 90 องศากัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) จตุโกณ กัน

                        ดาวพระเคราะห์ทำมุม 120 องศากัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) ตรีโกณ กัน

                        ดาวพระเคราะห์ทำมุม 180 องศากัน เรียกว่า (มีตำแหน่งสัมพันธ์) เล็ง กัน
 

                        คุณสมบัติทางโหราศาสตร์ของตำแหน่งสัมพันธ์ทั้ง 2 พวกนี้ เหมือนกันทุกประการ แต่ความแน่นอนในการพยากรณ์ย่อมจะสู้ตำแหน่งสัมพันธ์พวกที่ 2 คือตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศาไม่ได้เป็นธรรมดา เพราะได้คำนึงโดยละเอียดจนถึงสมผุสของดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยที่มีตำแหน่งสัมพันธ์กันด้วย

                        เกี่ยวกับคุณสมบัติทางโหราศาสตร์ของตำแหน่งสัมพันธ์นี้ ในชั้นต้น เพื่อความง่ายแก่การจดจำ เขาจะกำหนดความร้ายดีของคุณสมบัติของตำแหน่งสัมพันธ์ไว้ดังนี้

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ กุม อาจให้คุณหรือให้โทษก็ได้ (แล้วแต่คุณสมบัติทางโหราศาสตร์ของดาว)

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ โยค ให้คุณ

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ จตุโกณ ให้คุณ

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ ตรีโกณ ให้คุณ

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ เล็ง ให้โทษ
 

                        ที่กล่าวมานี้ใช้สำหรับสอนนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่ทราบซึ้งในวิชาโหราศาสตร์ หรือไม่เคยศึกษาวิชาโหราศาสตร์มาก่อนเลย เพราะง่ายแก่การจดจำและการใช้ ซึกหากกำหนดให้ละเอียดพิสดารกว่านี้ ก็รังแต่จะก่อให้เกิดอาการไขว้เขว มากกว่าที่จะเป็นการให้ความรู้ในวิชาโหราศาตร์แก่เขา

                        โบราณเข้าใจวางหลักสูตรการศึกษาให้แก่อนุชนรุ่นหลัง กล่าวคือได้วางแผนให้ศึกษาหาความลึกซึ้งไว้เป็นชั้นๆ อย่างน่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง เกี่ยวกัยเรื่องราวของทฤษฎีตำแหน่งสัมพันธ์นี้ก็เช่นกัน เมื่อนักศึกษาใหม่มีความคุ้นเคยกับโหราศาสตร์ดีพอแล้ว ท่านก็จะให้คำแนะนำต่อไปว่า อันที่จริงนั้นคุณสมบัติของตำแหน่งสัมพันธ์ต่างๆ ตามที่ได้กำหนดให้จดจำไว้แต่เดิมนั้น ความจริงแล้วหากจำแนกกันให้ละเอียดจะต้องจำแนกออกมาเป็นรูปคุณสมบัติของดาวพระเคราะห์ ที่แสดงลีลาของชีวิตทั้ง 5 คือ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัส และเสาร์ และคุณสมบัติของตำแหน่งสัมพันธ์ ตั้งแต่ตำแหน่งสัมพันธ์ที่มีมุมใหญ่ที่สุด คือ "เล็ง" นั้น จะมีคุณสมบัติเหมือนกันกับคุณสมบัติของดาวพระเคราะห์ นับตั้งแต่ดาวพระเคราะห์ที่อยู่ใกล้อาทิตย์มากที่สุด คือ ตำแหน่งสัมพันธ์ "กุม" มีคุณสมบัติเหมือน "พุธ" จนถึงดาวพระเคราะห์ที่อยู่ไกลอาทิตย์มากที่สุด เรียงตามลำดับอย่างมีกฏเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ กุม จะมีคุณสมบัติเหมือน พุธ (ใกล้อาทิตย์มากที่สุด)

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ โยค จะมีคุณสมบัติเหมือน ศุกร์

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ จตุโกณ จะมีคุณสมบัติเหมือน อังคาร

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ ตรีโกณ จะมีคุณสมบัติเหมือน พฤหัส

                        ตำแหน่งสัมพันธ์ เล็ง จะมีคุณสมบัติเหมือน เสาร์ (ไกลอาทิตย์มากที่สุด)

                        ซึ่งนักศึกษาคงเห็นแล้วว่า คล้ายกันกับการวางหรือจัดดาวเคราะห์เข้าตำแหน่งเกษตรในจักรราศีทุกประการ
 

                        เมื่อเป็นเช่นนี้ นักศึกษาเก่าก็คงจะได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีตำแหน่งสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากที่เคยศึกษาจดจำมาแต่เดิมด้วยความพึงพอใจ และเกิดความซาบซึ้งยิ่งขึ้นเป็นอย่างยิ่ง หากคุ้นเคยกับคุณสมบัติของดาวพระเคราะห์เป็นอย่างดีแล้ว
 

                        ที่ว่าตำแหน่งสัมพันธ์กุม มีคุณสมบัติเหมือนกับพุธ ก็เพราะคุณสมบัติของพุธในทางโหราศาสตร์ซึ่งเทียบได้กับราศีมิถุนนั้น คือ "การติดต่อกัน" อันมีธรรมชาติเป็นกลาง ไม่เกี่ยวกันกับความสอดคล้องหรือความไม่สอดคล้องกันแต่ประการใดตามธรรมชาติของพุธ เมื่อดาวพระเคราะห์ดวงหนึ่งกุมกันหรือทำมุม 0 องศากับดาวพระเคราะห์คู่นั้นแต่ประการเดียว ร้ายดีย่อมขึ้นอยู่กับอิทธิพลของดาวพระเคราะห์โดยตรง ตัวอย่างเช่น ศุกร์ มีคุณสมบัติก่อให้เกิดความรักหรือความพิสวาส เมื่อกุมกับอังคาร ซึ่งมีคุณสมบัติก่อให้เกิดความร้อนแรงหรือรุนแรง คุณสมบัติของอิทธิพลทางโหราศาสตร์ สำหรับศุกร์กุมอังคารจึงแสดงออกไปทางการมีความรักหรือความพิสวาสอันร้อนแรงหรือรุนแรง อันเป็นความหมายผสมระหว่างดาวพระเคราะห์คู่นี้โดยตรง
 

                        สำหรับตำแหน่งสัมพันธ์ โยค นั้นก็มีคุณสมบัติเหมือนกีบคุณสมบัติของศุกร์ กล่าวคือ สร้างความสอดคล้องให้แก่ดาวพระเคราะห์ที่มีตำแหน่งสัมพันธ์คู่นั้น นักโหราศาสตร์บางท่านกล่าวว่า เป็นตำแหน่งสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานตามคุณสมบัติของศุกร์เอาเลยทีเดียวก็มี อย่างไรก็ตามนักโหราศาสตร์ในสมัยปัจจุบันลงความเห็นว่า น่าจะเป็นตำแหน่งสัมพันธ์แห่งความนิ่มนวลมากกว่า เพราะฉะนั้นหากดาวพระเคราะห์คู่ใดก็ตาม มีตำแหน่งสัมพันธ์ "โยค" หรือทำมุม 60 องศากัน จึงมักนิยมกันว่า แสดงอิทธิพลทางด้านดีเป็นส่วนมาก (แต่ไม่ได้หมายความว่าดีทั้งหมด ดังจะได้กล่าวต่อไปในตอนท้าย) และในการพยากรณ์ หากจำนำเอาอิทธิพลของศุกร์เข้าไปร่วมด้วย ก็อาจกระทำได้ (แต่ต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง เพราะคุณสมบัติของตำแหน่งสัมพันธ์นั้นอ่อนกว่าดาว) ตัวอย่างเช่น ศุกร์ โยค อังคาร นักศึกษาอาจพยากรณ์เสมือนกับมีศุกร์สองดวงผสมอังคารก็ได้เหมือนกัน กล่าวคือจะแสดงอิทธิพลก่อให้เกิดความมีเสน่ห์ ความน่ารักน่าเอ็นดูให้แก่ตัวเจ้าชาตา ซึ่งจะเห็นว่าละมุนละไมกว่าการกุมกันเล็กน้อย

 

ฉบับที่ ตำแหน่งสัมพันธ์ระหว่างดาว

พันโท ประยูร พลอารีย์

                        ส่วนตำแหน่งสัมพันธ์จตุโกณ ซึ่งว่ามีคุณสมบัติเหมือนอังคารนั้น เป็นตำแหน่งสัมพันธุ์ของ "การต่อสู้" โดยแท้จริง ตามลีลาของอังคาร มีลักษณะกระด้างแตกหัก ปราศจากความสอดคล้องใดๆ ดาวพระเคราะห์ใดๆ ก็ตามมีตำแหน่งสัมพันธ์จตุโกณกันจะแสดงคุณสมบัติในทางธรรมชาติของตนออกมาอย่างแรงโยไม่เพลามือ ลักษณะที่ปรากฏจึงดูประหนึ่งว่าร้าย เพราะไม่มีการลดราวาศอก โบราณไม่ชอบจึงประมาณว่าให้โทษ ในการออกแบบคำพยากรณ์ นักศึกษาอาจเพิ่มอิทธิพลของอังคารเข้าไปในดาวพระเคระาห์คู่ที่มีตำแหน่งสัมพันธ์กันนั้นได้เลย อาทิตย์ จตุโกณ พฤหัส อิทธิพลจะออกมาในรูปของ อาทิตย์ อังคาร พฤหัส รวมกัน คือเจ้าชะตาจะตู้สู้และดิ้นรนในทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขและโชคลาภของตน ศุกร์ จตุโกณ อังคาร เป็นบุคคลมักมากในกาม เจ้าสำราญ ฯลฯ ถ้าหากดาวพระเคราะห์ที่มีตำแหน่งสัมพันธ์จตุโกณกันดวงใดดวงหนึ่งร้ายแล้วย่อมจะร้ายรุนแรงเสมอ ดังเช่น อาทิตย์ จตุโกณ เสาร์ จะก่อให้เกิดการพลัดพรากถูกกดขี่อย่างรุนแรงเสมอ ซึ่งการแปลความหากเติมอังคารเข้าไปแล้ว ท่านจะไม่ผิดหวังในการพยากรณ์ของท่านเลย

                        คราวนี้ลองมาพิจารณาตำแหน่งสัมพันธ์ทองของโบราณดูบ้าง คือตำแหน่งสัมพันธ์ตรีโกณ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนพฤหัส ตำแหน่งสัมพันธ์นี้เป็นตำแหน่งสัมพันธ์ที่คอยเสริมสร้างความผาสุกโดยอาศัย "แรง" แห่งความสอดคล้องกัน สร้างความสมัครสมานให้แก่คุณสมบัติของดาวพระเคราะห์คู่ที่มีตำแหน่งสัมพันธ์ตรีโกณกันนั้นอย่างเต็มที่ จึงเป็นตำแหน่งสัมพันธ์ที่ถือว่าให้คุณแก่โครงสร้างดาวพระเคราะห์นั้น อย่างไรก็ดี ความสมัครสมานที่แท้จริงนั้น ย่อมต้องอาศัยคุณสมบัติของดาวพระเคราะห์เป็นมูลฐาน เพราะดาวพระเคราะห์บางคู่ โดยเฉพาะคือ อังคารกับเสาร์นั้น สร้างความสมัครสมานกันยากโบราณกลัวดาวพระเคราะห์คู่นี้นัก ท่านจอมพลถนอม ซึ่งมีอันต้องโค่นล้มก็เพราะมีดาวพระเคราะห์คู่นี้กุมกันในเรือนที่ ๕ คือเรือนปุตตะ การพยากรณ์โยทั่วไปสำหรับดาวพระเคราะห์คู่นี้ซึ่งใช้ได้ทุกตำแหน่งสัมพันธ์ก็คือ มักหาทุกข์ใส่ตัวเพราะการกระทำของตนหรือเพราะความดื้อรั้นเป็นเหมาะที่สุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากตำแหน่งสัมพันธ์ตรีโกณนั้นมีคุณสมบัติของพฤหัส ถึงแม้ดาวพระเคราะห์ที่ได้ตำแหน่งสัมพันธ์จะเป็นดาวที่ก่อให้เกิดทุกข์ก็เป็นความทุกข์ที่เกืดมาจากความสบายตามคุณสมบัติของพฤหัส

                        ตำแหน่งสัมพันธ์สุดท้าย คือ ตำแหน่งสัมพันธ์เล็ง มีคุณสมบัติเหมือนเสาร์ กล่าวคือ มีมูลฐานมาจากลีลาของอาการปะทะกัน ซึ่งก่อให้เกิดผลที่ตามมา คือแตกแยก พลัดพราก ความจำกัด รวมทั้งอาการสมาธิด้วย อาการเหล่านี้ปรากฏขึ้นเพื่อต้องการเอาชนะสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ดาวพระเคราะห์ที่เล็งกันต่างก็จะส่องแสงประชันกัน แบบใครดีใครอยู่ จึงเป็นตำแหน่งสัมพันธ์ซึ่งแฝงไว้ซึ่งความทุกข์ตามคุณสมบัติสำคัญของเสาร์ หากนักศึกษาต้องการจะออกแบบคำพยากรณ์ ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะเพิ่มคุณสมบัติความดื้อรั้นอันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เด่นของเสาร์เข้าไปด้วยจะเหมาะเจาะเป็นอย่างยิ่ง เช่น อาทิตย์เล็งพฤหัส จะมีผลทำให้เจ้าชะตาแสวงหาความสุขและโชคลาภด้วยความดื้อรั้น อวดดี ทำนองนี้ ซึ่งก็เกิดจากความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง โบราณจึงไม่นิยม

                        คุณสมบัติอันแท้จริงของตำแหน่งสัมพันธ์ทั้ง ๒ แบบ (คือทางราศีกับทางองศา) ตามกฎเกณฑ์ดั้งเดิมของวิชาโหราศาสตร์พร้อมที่มา ซึ่งได้กล่าวมาแล้วนี้ หากพิจารณาให้ละเอียดจะเห็นว่า แตกต่างกับคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นพอสมควร ในขณะเดียวกัน นักศึกษาคงได้แนวความคิดบ้างกระมังว่า อันบรรดาปัจจัยทางโหราศาสตร์นั้น ทุกปัจจัยย่อมจะมีทั้งคุณและโทษผสมกันไป ตำแหน่งสัมพันธ์นี้ก็เหมือนกัน ท่านเทียบเอาไว้ว่าเหมือนกับดาวพระเคราะห์ทั้ง ๕ ดาวพระเคราะห์แต่ละดวงมีทั้งคุณและโทษฉันใดตำแหน่งสัมพันธ์ก็ฉันนั้น นักโหราศาสตร์ผู้มีความละเอียดรอบคอบเขาจะพิจารณาตำแหน่งสัมพันธ์ประกอบกันไปกับดาวพระเคราะห์ เพราะตำแหน่งสัมพันธ์บางชนิดเหมาะกับดาวพระเคราะห์คู่นี้แต่อาจไม่เหมาะสำหรับพระาเคราะห์อีกคู่หนึ่งได้ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ประสบการณ์อันเกิดจากทางปฏิบัติซึ่งขึ้นอยู่กับยุคและสมัยเป็นสำคัญ

จบฉบับที่ 2

เล่ม3

ตำแหน่งสัมพันธ์ระหว่างดาว

   อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าของโรงเรีียนโหราศาสตร์ฮัมเบอร์ก (ซึ่งนิยมเรียกกันว่า โหราศาสตร์ยูเรเนียน) พบว่าตำแหน่งสัมพันธ์ที่นับว่าเหมาะแก่การนำมาใช้ในการพยากรณ์บุคคลในสมัยนี้นน ตำแหน่งสัมพันธ์ 0 องศา 90 องศา และ 180 องศา รวมทั้งมุม 45 องศา (ครึ่งหนึ่งของ 90 องศา) และมุมเป็นจำนวนเท่าของ 22 ½ องศา (ครึ่งหนึ่งของ 45 องศา) ให้ผลการพยากรณ์ดีที่สุด ส่วนตำแหน่งสัมพันธ์ 60 องศา 120 องศา มักแสดงผลเห็นไม่ประจักษ์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านดีหรือทางด้านร้ายก็ตาม ส่วนอิทธิพลจะมาในด้านดีหรือด้านร้ายนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับดาวพระเคราะห์เป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็นศุภเคราะห์ย่อมให้คุณ หากเป็นบาปเคราะห์ย่อมให้โทษ ซึ่งวงการโหราศาสตร์ทั่วโลกล้วนยอมรับ

   นอกจากตำแหน่งสัมพันธ์ตามที่ได้กล่าวมานี้ ซึ่งอาจสรุปได้ว่า มีอยู่ 2 ประเภท คือ

ประเภทตรีโกณ    ได้แก่ ตำแหน่งสัมพันธ์ 60 กับ 120 องศา และยังหมายรวมถึงตำแหน่งสัมพันธ์ที่มีมุมเป็นจำนวนเท่า ของ 30 องศา(หรืออาจเล็กกว่านั้น แต่เมื่อเอา 2, 3, 4,.....คูณแล้วก็จะกลายเป็น 30, 60, 120 องศาขึ้นมาตามลำดับ) ด้วย ตำแหน่งสัมพันธ์ประเภทนี้ จะมีอิทธิพลไปทางด้านละมุนละไม

ประเภทจตุโกณ    ได้แก่ ตำแหน่งสัมพันธ์ 90 กับ 180 องศา และยังหมายรวมถึงตำแหน่งสัมพันธ์ที่มีมุมเป็นจำนวนเท่าของ 45 องศา (หรืออาจเล็กกว่านั้น แต่เมื่อเอา 2, 3, 4,.....คุณ แล้วก็จะกลายเป็น 45, 90, 180 องศาขึ้นมาตามลำดับ) ด้วย ตำแหน่งสัมพันธ์ประเภทนี้ จะมีอิทธิพลไปทางด้านความรุนแรง และเหมาะที่จะนำมาใช้ในกิจกรรมของการพากรณ์ในยุคปัจจุบัน

   ยังมีตำแหน่งสัมพันธ์อีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ คือตำแหน่งสัมพันธ์ประเภทแบ่งห้า หรือเบญจโกณ ตำแหน่งสัมพันธ์ประเภทนี้ ใช้่เฉพาะุกับดวงชาตาที่ทราบสมผุสของดาวพระเคราะห์กับปัจจัยต่างๆ เท่านั้น ซึ่งได้แก่มุม 360 ÷ 5 คือ 72 องศา 114 องศา (ตรงกับภาษาต่างประเทศคือ Quintill กับ Biquintill) นักโหราศาสตร์บางท่านลงความเห็นว่า เป็นตำแหน่งสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความสูงส่งทางด้านจิตใจ และสร้างความสำเร็จทางด้านอาชีพการงาน เพราะมาจากคุณสมบัติความสมส่วนของโลก อย่างไรก็ดี โหราศาสตร์ยูเรเนียนพิจารณาแล้ว และได้ให้ข้อสรุปว่า เป็นตำแหน่งสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดรอยกลมกลืนในการผสมอิทธิพลระหว่างดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยที่มีตำแหน่งสัมพันธ์กัน ร้ายดีย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดาวพระัเคราะห์หรือปัจจัยคู่ที่พิจารณา

   ในทัศนะของโรงเรียนโหราศาสตร์กรุงเทพฯ ซึ่งต้องการผลการพยากรณ์ 100 เปอร์เซนต์ ใคขอเสนอแนะนักศึกษาที่ต้องการทราบความจริงในวิชาโหราศาสตร์ สนใจแต่เฉพาะกรณีที่มีตำแหน่งสัมพันธ์กับจุดเจ้าชาตา (ลัคนา เมอริเดียน อาทิตย์ จันทร์ จุดเมษสายนะ ราหู) เท่านั้น ใช้ระยะวังกะเพียง 1 องศา เช่นมุม 114 องศาเป็นต้น หากทำมุมกัน 113 หรือ 115 องศา ก็ให้ถือว่ามีตำแหน่งสัมพันธ์ 114 องศาได้ สำหรับการพยากรณ์ให้พยากรณ์ตามคุณสมบัติของดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยที่มีตำแหน่งสัมพันธ์กับจุดเจ้าชาตาทั้ง 6 ดังกล่าว เหมือนกับหลักการพยากรณ์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตัวอย่างเช่น อังคารมีตำแหน่งสัมพันธ์เบญจโกณกับอาทิตย์ พยากรณ์ว่าเป็นบุคคลแข็งขัน นักสู้ นักกีฬา นักการทหาร (ตามคุณสมบัติของอังคาร) ศุกร์มีตำแหน่งสัมพันธ์เบญจโกณกับจันทร์ พยากรณ์ว่าเป็นคนน่ารัก นักศิลป ชอบความสงบสุข (ตามคุณสมบัติของศุกร์) เสาร์มีตำแหน่งสัมพันธ์แบญจโกณกับอาทิตย์ ทำงานหนัก นักค้นคว้า มีบุคลิกภาพแรงแต่แข็งกระ้ด้าง เปล่าเปลี่ยว (ตามคุณสมบัติของเสาร์) พฤหัสมีตำแหน่งสัมพันธ์เบญจโกณกับเมอริเดียน ทำอะไรก็สำเร็จ มีโชคลาภมิได้ขาด (ตามคุณสมบัติของพฤหัส)

   นายเอ ชมิทท์ (A. Schmitt) กล่าวไว้ในหนังสือ Deutung dev kleinen Aspekt (การพยากรณ์ด้วยตำแหน่งสัมพันธ์เล็ก) ว่า เขาได้รับการติดต่อจากบรรดานักศึกษาเป็นจำนวนมากว่า ตำแหน่งสัมพันธ์เบญจโกณนี้ ให้ผลการพยากรณ์แน่นอนกว่าตำแหน่งสัมพันธ์กุม โยค จตุโกณ และเล็งเสียอีก คำว่าแน่นอนในที่นี้หมายถึงแรง)

   ยังมีตำแหน่งสัมพันธ์ชุดแบ่ง 7 คือ สัตตโกณ ซึ่งได้แก่มุม 51 องศา (รวมทั้ง 102, 154, 205, 257 และ 308 องศา) ซึ่งได้จากการหาร 360 องศา ด้วย 7 (ภาษาต่างประเทศเรียกว่า Septile) มุมที่ให้การพยากรณ์แน่นอน คือมุม 51 กับ 308 องศา ส่วนมุม 154 กับ 205 ไม่แสดงผล ตำแหน่งสัมพันธ์นี้ ไม่ขอแนะนำให้ใช้ในการพยากรณ์ทางปฏิบัติ นอกจากจะใช้สำหรับการค้นคว้าทางโหราศาสตร์ในบางแขนง กล่าวคือเป็นงานอดิเรกของนักศึกษา เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณสมบัติอันแท้จริงของดาวพระเคราะห์ต่างๆ หรือเพื่อความมุ่งหมายอื่นๆ

   หลักการใช้ตำแหน่งสัมพันธ์ในการพยากรณ์ทางปฏิบัติ จะเหมือนกันทุกประการทั้งในการพยากรณ์พื้นดวงชาตา และการพยากรณ์จร อย่างไรก็ตาม การแสดงอิทธิพลของดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยจรนั้น ตามปกติจะอ่อนกว่าอิทธิพลของปัจจัยหรือดาวพระเคราะห์ในดวงชาตากำเนิด อ่อนจนบางครั้งเจ้าชาตาไม่รู้สึก แต่ดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยจรนี้ จะแสดงอิทธิพลเมื่อตนมีตำแหน่งสัมพันธ์กับดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยเดิมในดวงชาตาอย่า่งรุนแรงในกรณีเฉพาะอันหนึ่ง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องศึกษากันเป็นพิเศษ หรือมิฉะนั้นก็ต้องค้นคว้าเอาเองโดยขะมักเขม้น จึงจะรู้ได้

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.