ReadyPlanet.com
dot
dot
เนื้อหาสาระ
dot
bulletเจตนารมณ์
bulletจากใจผู้จัดทำ
bulletส่องฟ้าฝ่ากระแสดาว
dot
ภาควิชาการ
dot
bulletสากลยูเรเนียนสัมพันธ์
bulletวิวัฒนาการองค์ความรู้แห่งโหรสยาม1
bulletวิวัฒนาการองค์ความรู้แห่งโหรสยาม 2
dot
บทความน่าอ่าน
dot
bulletคานทองนิเวศม์
bulletดวงเมียน้อย
bulletรสนิยมรักกับดวงชะตา
bulletอาจารย์ขา!แฟนหนูเป็นเกย์?!
bulletเรื่องอย่างว่า!!เอ๊ะยังไงกัน?
bulletเมื่อไหร่จะขายออกซะที?
bulletใครเอ่ย?เนื้อคู่คุณ..
bulletจุดรับเงินคุณเป็นอย่างไร?
bulletจุดล้มละลาย
bulletเพ่งดวงลูกน้อง
bulletเบอร์ฮัลโหลกับโหราศาสตร์
bulletเมื่อไหร่จะถูกหวย??
bulletงานสมพงษ์
bulletปั้นดินให้เป็นดาว
bulletถูกดองตำแหน่งหรือแป๊กขั้น
bulletทำอย่างไรให้ขายดี!!
bulletวิ่งให้ถูกเส้น ทำอย่างไร?
bulletจับงานใหญ่ต้องใช้ฤกษ์
bulletเอาฤกษ์เอาชัย
bulletลางสังหรณ์พารวย
bulletดวงผิดเพศ
bulletสัมผัสที่ 6
bulletคนเห็นผี
bulletคนตกยุค
bulletดวงดาวกับปัญหาสายตา
bulletศัลยกรรมใบหน้ากับโหราฯ
bulletต้นไม้เสี่ยงทาย
bulletสะเดาะเคราะห์ทำได้จริงหรือ?
bulletเทียนอาถรรพณ์
bulletพระเกตุ ดาวทิพย์แห่งโหรสยาม
bulletบทความ อจ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletมุมสัมพันธ์ระหว่างดาว
bulletเรือนชะตาจันทร์
bulletดาวไร้สัมพันธ์
bulletเว็บไซด์โหราฯ ที่น่าสนใจ
bulletธุรกิจ " หมอดู "
bulletตรวจสุขภาพด้วยโหราฯ
bulletกลุ่มโหราพารวย
bulletกลุ่มโหราหารัก
bulletกลุ่มโหราพารุ่ง
bulletโหราพาสนุก
bulletกลุ่มโหราพาสยอง
bulletกลุ่มโหราอาถรรพณเวทย์
bulletกลุ่มโหราสุขภาพ
bulletอาลัยพี่กุ้ง " กิตติคุณ เชียรสงค์ "
bulletกลุ่มสืบจากดวง
bulletกลุ่มโหราพยากรณ์
bulletกิจกรรมโหรา ' Sky Clock '
bulletท่านปัญญานันทะ
bulletอาลัยอาปื้ด ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
bulletจิ๊กซอร์ของโหราศาสตร์สากลยูเรเนียน
bulletสะเดาะเคราะห์แก้อาการเซ็ง
bulletสืบจากศพ..ทำไมถึงตาย
bulletอุตุโหราฯ
bulletไซโคลนนากรีส
bulletรอยสักสยองขวัญ
bulletบทความ "ระวังยูเรเนียน " ..โดย จรัญ พิกุล
bulletจังหวะฟ้ากับการนั่งสมาธิ
bulletพายุเฮอริเคน IKE
bulletอาลัยท่าน Udo Rudolph
bulletเสน่ห์มหานิยมจากริงโทนรอสาย
bulletรสนิยมเรื่องอย่างว่ากับอาหารการกิน
bulletเรื่องของไฝกับไอ้นั่น
bulletเรื่องของ ขน โลมา และอารมณ์
bulletยาโป๊วกับโหราศาสตร์
bulletของแสลงผิดสำแดงอารมณ์เพศ
bulletอาลัยพญาอินทรีแห่งวงการน้ำหมึก 'รงค์ วงษ์สวรรค์
bulletสะดือกับการพยากรณ์
bulletกรณีศึกษาการกลับชาติมาเกิด
bulletสยามยามวิกฤติ ตอนที่ 1
bulletรุจน์ รณภพ ดาราเจ้าบทบาท
bulletโหราจารย์มานิตย์ ธีรเวชชโรกุล ... ดวงครูที่น่าศึกษา
bullet...
bulletอีรีส (Eris )เทพเจ้าแห่งความขัดแย้งวุ่นวาย
bullet หลักวิธีการแก้กรรมในระบบโหราศาสตร์สากลยูเรเนียน
bullet100 ปี พระพุทธเจ้าหลวงกับดาวหางฮัลเลย์
bulletโหราสาธยาย
bulletโหราศาสตร์คืออะไร
bulletสารบัญ
bulletประวัติและความเป็นมาของวิชาโหราศาสตร์
bulletปรัชญาในการศึกษาวิชาโหราศาสตร์
bulletจุดลากรองจ์ (Lagrange Point )
bulletการหาเวลาเกิด ตำรับโหรจรัญ พิกุล
bulletAnalemma อาถรรพณ์แห่งเส้นสุริยวิถีกับโหราศาสตร์สากลยูเรเนียน
bulletหลักสูตรโหราศาสตร์สากลยูเรเนียนระบบจานสองชั้น 80 ชั่วโมง




วิวัฒนาการองค์ความรู้แห่งโหรสยาม1

วิวัฒนาการองค์ความรู้แห่งโหรสยาม 
โดย ภารต  ถิ่นคำ
บทความนี้ถูกนำลงในพยากรณ์สาร นิตยสารของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย
ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2546

     โหราศาสตร์หรือศาสตร์แห่งการทำนายอนาคตโดยใช้ ความสัมพันธ์ของตำแหน่งดวงดาว มาเป็นหลักใน การพยากรณ์นั้น  เข้ามาเผยแพร่ในสุวรรณภูมิแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีใครหาหลักฐานมาอ้างอิงได้ แต่ก็มีการหาหลักฐานคร่าวๆว่า มีหลักศิลาจารึกภาษาสันสฤตอักษรขอม มีการจารึกตำแหน่งดวงดาว ที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า การผูกดวงนั้น ก็มีที่ปราสาทบันทายศรี ซึ่งก็มีอายุกาลมากว่า หนึ่งพันปีขึ้นไปแล้ว
       การนับปีของไทย เช่น ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ หรือที่เราเรียกกันว่า ปีนักษัตร เป็นการนับปีทางระบบจันทรคติ เช่นเดียวกับระบบทางประเทศจีน  มีผู้รู้ทางภาษาศาสตร์บางท่านสันนิฐานว่าศัพท์พวกนี้เป็นภาษาเขมร  ส่วนการใช้ศักราชก็มีวิวัฒนาการไปหลายอย่าง เช่นมีการใช้มหาศักราชซึ่งรับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย หรือจุลศักราช ซึ่งสถาปนาขึ้นใน สมัยอาณาจักรพุกามของพม่า โดยพระเจ้าบุรพโสระหัน ซึ่งจุลศักราชนี้ไทยเรารับมาใช้
       ในการคำนวณหาตำแหน่งของการโคจรของดาวพระเคราะห์ จากคัมภีร์พระสุริยยาตร์ ซึ่งคงได้รับมาใช้ในสมัยกรุง
สุโขทัย ในรัชกาลที่ 5 คือพระเจ้าลือไทย แห่งราชวงศ์พระร่วง เพราะมีศิลาจารึก หลักที่ 4 ,5 และ 6 กล่าวไว้ว่า พระองค์ได้แตกฉานมีพระอัจฉริยภาพในการคำนวณคัมภีร์พระสุริยยาตร์ ถึงกับทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งจากเดิม เราเปลี่ยนศักราชเมื่อ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน อ้าย มาเป็น วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 โดยเริ่มใช้ ตั้งแต่ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 1ค่ำ ปีฉลู มหาศักราช 1283 ตรงกับวันที่ 7 มีนาคม พุทธศักราช 1904 ทางสุริยคติ ( สมัยนั้น ยังเรียกว่า 1905 เพราะแต่โบราณ นั้น นับตามปีขึ้นต้นจาก 1 ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่ นับต้นพุทธศักราช จาก 0 ) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงคิดเกณฑ์เลขที่เรียกว่า
สรุปอัป อันเป็นการย่นย่อ ขั้นตอนการคำนวณ ลัด โดยที่เกณฑ์เลขหลักต่างๆ ยังคงเดิม  ยิ่งในส่วนเรื่องของคัมภีร์พยากรณ์นั้น ทรงนิพนธ์คัมภีร์จักรทีปนี และคัมภีร์ทักษสังคหปกรณ์ ซึ่งพระคัมภีร์ทั้ง 2 นี้ ทรงนิพนธ์ขึ้นเป็นภาษาบาลี ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสืนทร์ นี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงแปลเป็นภาษาไทย และนิพนธ์เป็นแบบฉันทลักษณ์ คือ ตำราจักรทีปนีคำฉันท์ และลิลิตทักษาพยากรณ์  และเมื่อทรงกล่าวอ้างที่มาของตำรานี้ ทรงนิพนธ์เอาไว้ว่า " คัมภีร์โพ้นเร้นลี้ " ซึ่งทรงหมายถึงว่า ที่มานั้นเป็นที่รู้กันมา นานนมแล้ว จนกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยไปแล้วก็ว่าได้
          มาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ บันทึกเอาไว้ว่า " ลุศักราช 712 ขาลศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เพลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 9 บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา " ซึ่งตรงกับทางสุริยคติ วันที่ 3 มีนาคม พุทธศักราข 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงย้ายเมืองหลวง มาตั้งที่ตำบลหนองโสน มำพิธีตั้งเสาพระหลักเมือง ใต้ต้นหมัน การผูกดวงสมัยนั้นยังไม่มีดาวเกตุและดาวมฤตยู มีแต่อาทิตย์ถึงราหู หรือ เลข 1 ถึง 8 เท่านั้นในสมัย อยุธยาตอนกลางมีการใช้ จุลศักราช บันทึกในพงศาวดาร สันนิฐานกันว่า คงได้รับมาคราวพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง ซึ่งมาตี กรุงศรีอยุธยาได้ใน ปี พศ. 2112 ที่ไทยเรารับเรื่องนี้มาเพราะ เราใช้ คัมภีร์พิชัยสงครามซึ่งต่อมาเราก็มาต่อเติมในภายหลัง ซึ่งคัมภีร์พิชัยสงครามนี้ สันนิฐานกันว่า แต่งขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และที่ว่าเพิ่มเติมนั้นคงจะเพิ่มมาในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะพระองค์ทรง เสด็จไปศึกษาที่ราชสำนักหงสาวดี ซึ่งตอนนั้นได้รับการยอมรับกันว่าเป็นมหาอำนาจทางการทหารในย่านอุษาคเนย์ นี้และ การเพิ่มเติมเข้าไป ก็เพื่อเป็นวิธีการศึกษายุทธวิธีในการป้องกันประเทศ
          ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีเพชรน้ำเอกในวงการโหรเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่พระยาโหราธิบดี ซึ่งความแม่นยำใน การพยากรณ์นั้น เป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน ที่เรียกกันในหมู่โหรว่า " ตำราโหราทายหนู  " กล่าวกันว่าการออกท้องพระโรง ว่าราชการคราวหนึ่ง บังเอิญมีหนูตกลงมาจากเพดานของพระที่นั่ง ใกล้พระองค์ ซึ่งทรงทอดพระเนตรอยู่แต่พระองค์เดียว จึงทรงเอาขันทองครอบหนูเอาไว้ แล้วให้เบิกตัวพระยาโหราธิบดีให้เข้าเฝ้า ตรัสให้ทำนายว่าสิ่งที่อยู่ในขันทองนี้คืออะไร ซึ่งพระยาโหราธิบดีได้ผูกดวงกาลชะตาแล้วจับยาม คำนวณ จากนั้นจึงถวายคำทำนาย ออกไปว่า เป็นสัตว์สี่เท้า จำนวน 4 ตัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงเฉลยว่า ที่ว่าสัตว์ 4 เท้านั้น ถูกต้อง แต่จำวน 4 ตัวนั้นผิด ซึ่งพระยาโหราธิบดีก็ยังคงยืนยันคำทำนายของตน พระองค์ท่านจึงทรง เปิดขันทองขึ้น ปรากฎว่า มีแม่หนู วิ่งออกมา 1 ตัวและมีลูกหนูแดงๆเพิ่งจะคลอด อีก 3 ตัว รวมเป็น 4 ตัว ตรงตามคำทำนายเอาไว้ทุกประการ พระองค์จึงตรัสชมเชยว่า พระยาโหราธิบดีคนนี้ ทายแม่นยิ่งกว่าตาเห็น เพราะพระองค์เองก็ทรงทอดพระเนตรเห็นแค่หนู 1 ตัวเท่านั้น
          อีกคราวนี้พระยาโหราธิบดีคนเดียวกันนี้ทำนายว่า ปีนั้นวันนั้นจะเกิดไฟไหม้พระราชวังขอให้เตรียมอพยพ ขนย้ายของมีค่าออกไปจากพระมหาปราสาทก่อน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงโปรดให้เจ้าพนักงาน ขนย้ายของออก ไปไว้ในเรือลอยลำอยู่ ตามวันเวลาดังกล่าว ถึงเวลาก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะเกิดไฟไหม้แต่อย่างใด มิหนำซ้ำ ยังมีฝนตก ปรอยๆอีกด้วย จึงตรงถามย้ำพระยาโหราธิบดี ซึ่งพระยาโหราฯก็กราบทูลว่าขอให้ทรงรอให้หมดฤกษ์ซะก่อน กราบทูลขาดคำ ก็เกิดอสุนีบาตผ่าเปรี้ยงลงมาที่ยอดเหมพระมหาปราสาท เกิดติดไฟลุกลาม ไปทั่ว ตรงตามคำทำนาย ทุกประการ
          กิตติศัพท์ความแม่นยำของโหรไทยเป็นที่ประจักษ์ ให้กับชาวต่างชาติจากยุโรป อีกครั้งหนึ่งเพราะมีบันทึก ของคณะทูต จากผรั่งเศสซึ่งผู้บันทึกคือบาทหลวง เดอชัวชี ได้บันทึกเอาไว้ แรกเริ่มจากคราวหนึ่งพระโหราธิบดี ถวายคำพยากรณ์ว่า จะมีคณะทูตจากต่างแดนจะเข้ามาขอเจริญพระราชไมตรี ภายใน 7 วัน ซึ่งก็เป็นจริงตามคำ ทำนายนั้น ต่อมาคณะทูตได้ยินกิตติศัพท์ความแม่นยำในการทำนายของโหรไทย ก็ส่งคนในคณะทูตเข้ามาหาโอกาส จะสนทนาด้วย ซึ่งพอรู้จักกันแล้ว ก็ทำให้คณะบาทหลวงที่มาในครั้งนั้นทึ่งในความสามารถของโหรไทย ที่สามารถจะคำนวณ ตำแหน่งของดวงดาวในท้องฟ้าได้เช่นเดียวกับ พวกนักดาราศาสตร์ชั้นนำในทวีปยุโรป นอกจากนี้ยังได้บันทึกถึงความประทับใจในผลของการพยากรณ์ของคณะโหรไทย ในเรื่องคนหาย ในเหตุที่คณะทูตบางคนได้พลัดหลงกันในระหว่างที่เดินทางเข้ามาในสยามเพราะเนื่องจากลมพายุพัดให้เรือพลัดหลง ทางกัน  ซึ่งทางคณะโหรได้ทำนายว่า คณะที่หายไปนั้นยังไม่ได้เสียชีวิต และจะยังคงได้พบกันก่อนที่คณะทูตจะ เดินทางกลับ เพราะทั้ง 3 คนนั้นถูกพายุพัดไปทางตะวันตก  อีก 3 วันก่อนออกเดินทางจะมาพบกัน โดยมิได้มี อันตรายแต่อย่างใดเลย
          พอครบกำหนดได้ฤกษ์ออกเดินทางตามหมายกำหนดการ ต้นหนเรือส่องกล้องเห็นเรือใบที่มีพวกของตน นั่งโดยสารมาด้วย ก็โห่ร้องดีใจกันไปทั้งลำเรือทันเวลาพอดี ทางคณะทูตจึงเลื่อมใสในความสามารถของโหรไทยมาก เพราะลึกๆแล้วพวกนี้เชื่อกันว่าทั้ง 3 คนนี้คงจะถูกพายุพัดจมน้ำตายหมดแล้วในคราวนั้น สอบถามก็ได้ความว่า ที่จริงพายุได้พัดเรือของพวกนี้ไปขึ้นฝั่งที่ชุมพร แล้วจึงจับเรือมาขึ้นฝั่งที่กรุงศรีอยุธยาอีกที ปลอดภัยทั้ง 3 คน พวกบาทหลวงจึงชมเชยความสมารถของคณะโหรไทยเอาไว้ในจดหมายเหตุการเดินทาง
          คัมภีร์โหราศาสตร์ของไทยคงสูญหายไปมากมาย เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ใน ปี พศ. 2310 ปูมโหรบันทึกตำรับตำราต่างๆ คงหายไปมาก โชคดีที่ตามหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองเอก เช่น ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ยังคงพอจะมีอยู่บ้างเพราะมิได้เสียหายยับเยิน เหมือนในกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ได้เอาพระทัยใส่ธุระ ที่จะเก็บรวบรวมบรรดาตำรับตำราเอกสารครั้งกรุงเก่า มาหาไว้สำหรับเป็นศรีแก่พระนคร เหมือนครั้งบ้านเมืองยังดี ทำให้คัมภีร์โหราศาสตร์คงจะถูกเก็บรวบรวม เข้ามาคราวนั้นด้วย ในสมัยหลังๆถึงกับเคยมีผู้รวบรวมรายชื่อคัมภีร์ที่เกี่ยวกับโหราศาสตร์  และพยากรณ์ศาสตร์ เอาไว้ได้ถึง 130 กว่าคัมภีร์ขึ้นไปทีเดียว
          นอกจากนี้พระปรีชาสามารถทางโหราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ หลายต่อหลายอย่าง อาทิ ทรงให้ประชุมโหรในการวางเสาพระหลักเมือง ของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงสถาปนาขึ้น ซึ่งการวางตำแหน่งดวงดาวโยคเกณฑ์ต่างๆ ในดวงเมืองนี้ ผู้ที่คลุกคลีในวงการโหราศาสตร์ไทย
ในระดับลึกจะบอกได้เลยว่า ผู้ที่วางตำแหน่งโยคเกณฑ์ดวงดาวนี้ ต้องเป็นโหรระดับอัจฉริยะอย่างยิ่งเลยทีเดียว เพราะสามารถกำหนดดวงเมืองมิให้มีอริราชศตรู มาย่ำยีบีฑาเอาได้  ซึ่งเรื่องนี้อาจเล่าได้เป็นเรื่องใหญ่ๆเลยทีเดียว
           อีกทั้งในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ก็มีการบรรยาย ความรู้เรื่องโหราศาสตร์ชั้นสูงของไทยสอดแทรกเข้าไป อย่างกลมกลืนอยู่ตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งถ้าไม่มีความรู้ทางด้านนี้อย่างแตกฉานลึกซึ้งแล้ว จะไม่มีทางสร้างสรรค์เรื่อง เหล่านี้ขึ้นมาได้เลย อีกทั้งมีเรื่องเล่าถึงพระอัจฉริยภาพในด้านการพยากรณ์ เมื่อคราวมีเหตุให้มีอสุนีบาตต้อง พระมหาปราสาท คือพระที่นั่งอัมรินทร์มหาปราสาทไหม้ไปทั้งหลัง มีบันทึกเรื่องราวของเหตุการณ์ครั้งนี้ ในจดหมายเหตุ กรมหลวงนรินทร์เทวี (กุ) ว่า ณ วันอาทิตย์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก เวลา บ่าย 3 โมง 6 บาท อสุนีบาตต้อง พระมหาปราสาท   ทให้ไฟไหม้วอดทั้งหลัง พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาอำนวยการดับไฟเองทั้ง วังหลังและวังหน้า ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตรัสถึงเรื่องนี้ว่า เทวดาเข้าข้างพระองค์ ไม่ให้ถึงกับต้องเสียเมืองแค่เสียพระมหาปราสาท แล้วทรงพยากรณ์ต่อไปว่ากรุงเทพฯจะดำรงสถาพรต่อไป ถึง 150 ปี และความที่ทรงพยากรณ์เอาไว้เช่นนี้ทำให้ วาระต่อๆมาเมื่อกรุงเทพฯ เจริญต่อมาใกล้จะถึง 150 ปี ก็มีการกล่าวขวัญ ถึงกันมากอยู่ แม้พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้กันหลายคราว ซึ่งความแม่นยำก็มาประจักษ์ชัดเมื่อตอนมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น ระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พศ. 2475 ครบ 150 ปีพอดี นับจากตั้งกรุงเทพฯ เมื่อปี พศ. 2325
          ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีโหรสำคัญ 2 องค์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส งานนิพนธ์ของ พระองค์ท่านหลายชิ้นได้แสดงถึงพระอัจฉริยภาพทางวิชาโหรฯ อีกพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระองค์นอกจากจะทรงเป็นปรมาจารย์ในการประดิษฐ์ท่ารำแล้ว ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง จักรทีปนีคำฉันท์ และลิลิตทักษาพยากรณ์ ซึ่งเหล่าผู้ศึกษาวิชาโหร ในรุ่นต่อๆมายังคงใช้ อ้างอิงกันจนถึงทุกวันนี้ ถึงกับมีพระนามอยู่ใน การกล่าวโองการไหว้ครูโหร จนถึงปัจจุบัน
         ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการติดต่อกับประเทศทางตะวันตก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง และเริ่มมีการรับเอา วิทยาการต่างของตะวันตกเข้ามาศึกษา ในหมู่ชนชั้นนำในสมัยนั้น รวมถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองเมื่อ ครั้งนั้น ก่อนที่จะทรงเสวยราชย์ในเวลาต่อมา ทรงดำรงสมณเพศเป็นพระภิกษุ ดำรงพระอิศริยยศเป็น พระวชิรญาณ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้ทรงศึกษาวิทยาการทางด้านดาราศาสตร์ จากพวกบาทหลวงโปเตสแตนท์ มาประยุกต์ใช้กับวิชาการด้านโหราศาสตร์ไทย อย่างทรงเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้ง ทรงชำระคัมภีร์พระสุริยยาตร์ใน สมัยต่อมา อีกทั้งทรงนิพนธ์คัมภีร์ปักษ์คนณา ซึ่งใช้คำนวณวันมหาปวารณาเข้าพรรษา ของคณะสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุติ ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดให้สถาปนาขึ้น ซึ่งคัมภีร์ปักษ์คนณานี้ เป็นหลักฐานอย่างดีถึงพระปรีชาสามารถ ทั้งในด้านโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ของพระองค์ และต่อมาเมื่อทรงเสด็จเฉลิมถวัลย์ราชย์สมบัติเป็น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในการต่อมา แล้วนั้น พระองค์ได้ทรงใช้วิชาการทางด้านนี้ ในการช่วยเหลือประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติโดยเฉพาะเกี่ยวกับขวัญกำลังใจรวมทั้งอาถรรพณ์ศาสตร์ ต่างๆประกอบกับรัฐประสานโยบาย
ที่ลึกซึ้งสุขุม ช่วยเหลือประเทศชาติให้รอดพ้นจากภัยพิบัติในโดยการล่าเมืองขึ้นหรืออาณานิคม จากชาติมหาอำนาจ จากชาติตะวันตกที่คุกคามไทยอยู่ในขณะนั้น
          ประการแรกคือ  ทรงตรวจของพระองค์และของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฑามณี ว่ามีดวงเสมอกัน และดูเหมือนว่าพระอนุชา มีจุดเด่นกว่าซะด้วยซ้ำ จึงเห็นสมควรให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพะองค์นั้น ขึ้นเป็นพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยของพระองค์ จึงถือว่า สยามประเทศมีพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ ทำให้ความสามัคคีในหมู่พระราชวงศ์ทั้งวังหลวงและวังหน้า ซึ่งกำลัง ลุกลามใหญ่โตเนื่องจากการแทรกแซงของประเทศทางตะวันตกเป็นอันหมดไป
          ประการต่อไปพระองค์ทรงยกเสาพระหลักเมืองขึ้นใหม่ตามฤกษ์ที่พระองค์ทรงกำหนดขึ้น โดยยกเสาเดิมขึ้นแล้วทำเสาใหม่ด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ตั้งพระฤกษ์ใหม่ ณ วันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม  พศ. 2396 เวลา 6 ทุ่มเศษหรือ 00.15 นาฬิกา ซึ่งทางวิชาการโหรแล้วถือว่า พระองค์ทรงแก้อาถรรพณ์ ในเรื่องเกี่ยวกับดวงเมืองในรัชสมัยของพระองค์ได้อย่างฉมังยิ่งนัก
          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคร่งครัดในหลักวิชาการโหรเป็นอย่างยิ่ง ทรงนำวิชาการจากแดน ตะวันตก เช่นวิชาดาราศาสตร์มาใช้ในคัมภีร์โหรไทย ทรงนำเกตุ หรือคราสน้อยซึ่งเป็นเกณฑ์เลขในการอนุกรม สุริยุปราคา และดาวยูเรนัสหรือดาวมฤตยู ซึ่งเป็นดาวพระเคราะห์ที่ค้นพบใหม่ ซึ่งค้นพบโดยเซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล เข้ามาใช้ในคัมภีร์พระสุริยยาตร์ ใช้แทนเลข 9 และ 0 ลงในดวงชะตา จนปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงคิด เกณฑ์เลขที่เรียกว่า อุจจนี ของดาวมฤตยูได้อย่างไร แต่ก็สามารถใช้ได้อย่างผสมกลมกลืนกับคัมภีร์เดิมได้เป็นอย่างดี
และเหล่าโหรทั้งหลายก็ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าต่อมาจะมีการค้นพบดาวเนปจูน และ ดาวพลูโต แต่การจัดอุจจนีของ ดาวทั้ง 2 ดวงนี้ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง เท่าที่ก็ได้แก่ พลูหลวง ( ประยูร อุรุชาฎะ ) และ ชัยพฤกษ์ อุรุชาฎะ บุตรสาวที่จัดทำขึ้นและนำมาลงเผยแพร่ในหนังสือโหราเวศน์เท่านั้น
          ความเคร่งครัดในวิชาการโหรของพระองค์ทำให้มีการตื่นตนขวนขวายค้นคว้าทาง วิทยาการด้านโหรในวงใน อย่างกว้างขวาง เพราะถ้าพระองค์ตรัสถามแล้วตอบไม่ได้ ถึงกับมีการลงโทษพวกกรมโหรให้สวมประคำซึ่งเอา หอยโข่ง มาร้อยเป็นลูกประคำ แล้วให้ไปขัดสิงโตหิน ที่วัดพระเชตุพนฯ หรือที่พระราชวังสราญรมย์ ให้เป็นที่อับอายว่า งมโข่ง
              พระอัจฉริยภาพในด้านโหราศาสตร์ที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ มีมากมาย การทำนายดวงชะตาพระราชโอรสและพระราชธิดา ที่พระองค์นิพนธ์ไว้เป็นภาษาบาลีเฉพาะองค์ก็ดี การทำนายลาง บอกเหตุต่างๆทางธรรมชาติ เช่นดาวหาง ดาวตกอุกาบาต พยากรณ์น้ำฝน การกำหนดเวลาที่เป็นสากล และการทำนาย สุริยุปราคา ที่เป็นวิทยาศาสตร์ และอีกหลายสิ่งที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ เหลือที่จะพรรณาได้หมด เหล่าโหรรุ่นหลัง จึงพร้อมใจกันยกย่องพระองค์เป็นปรมาจารย์ทางด้านโหราศาสตร์ของไทยอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งอัญเชิญใส่ไว้ในโองการ ไหว้ครูโหราในยุคต่อมาแม้ จนถึงปัจจุบัน
            ในรัชสมัยต่อมาในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 นั้นก็มีเรื่องเล่าถึงความแม่นยำในเชิงโหราศาสตร์ของ พระยาโหราธิบดี ( แหยม วัชรโชติ ) คือการทำนายพระสุบินขององค์พระปิยมหาราช ว่าจะทรงได้รับข่าวศึก ภายใน 7 วัน ซึ่งก็ตรงตามคำทำนาย เพราะไม่นานนักก็ทรงได้รับใบบอกจากหัวเมืองพายัพ เรื่องพวกฮ่อก่อการกบฏ ทางกรุงเทพฯ ต้องจัดส่งทหารขึ้นไปปราบปรามเหตุการณ์จึงสงบลงได้  ความสามารถในการพยากรณ์ครั้งนี้ ทำให้ท่านพระยา โหราธิบดี ได้รับพระราชทานเข็มศิลปวิทยาเชิดชูเกียรติยกย่องความสามารถ
            ในรัชกาลที่ 6 นั้น กรมโหรได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในการหาพระฤกษ์ประกาศพระราชสงคราม กับฝ่ายมหาอำนาจกลางในมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการฟื้นฟูพระราชพิธีตัดไม้ข่มนามและงานโบราณราชประเพณี ต่างๆ  รวมถึงการกำหนดพระฤกษ์ ในพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปครั้งนั้น ซึ่งต่อมาได้นำชัยชนะมาสู่สยามประเทศ ทำให้ศักดิ์ศรีของประเทศสยามได้ถูกยกระดับเท่าเทียมอารยประเทศ และในรัชกาลนี้เองที่เหล่าศิลปวิทยาการต่างๆจากอัสดงคตประเทศได้เผยแพร่อิทธิพลมาทางสื่อต่างๆทั้งจาก ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านสื่อ เช่นโทรเลข การไปรษณีย์ ขนส่ง ความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศ รวมทั้งการศึกษา ของประชาชนดีขึ้น ทั้งจากเหล่าคนไทยที่ไปศึกษาต่อและนำเข้ามาเอง เริ่มมีการแปลภาษา และศึกษาเป็นการส่วนตัวมีการนำตำราโหราศาสตร์สากล มาสู่ประเทศไทย มีการวิพากย์วิจารณ์เปรียบเทียบ กับโหราศาสตร์ไทยแบบดั้งเดิม  ในเมืองไทยจนถึงกับแบ่งพวกเป็นหัวนอกหัวในกันเอง ในหมู่ผู้สนใจในวิชานี้กันขึ้น แต่โหราศาสตร์สากล ก็ยังคงอยู่ในวงจำกัดมาก มีผู้รู้น้อยท่านมากและโดยมากเป็นความสนใจในส่วนตัวศึกษากันในวงเล็กๆ แต่ถึงกระนั้นทำให้เรารู้กันว่า ตำแหน่งดวงดาวในคัมภีร์สุริยยาตร์ที่ใช้กันมาแต่โบราณกาลนั้นคลาดเคลื่อน กับวิทยาการด้าน ดาราศาสตร์ทางตะวันตก โดยเฉพาะการทำปฏิทินดาราศาสตร์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างมากในเชิงวิชาการของเหล่าโหรในรุ่นต่อๆมา
            เจ้านายหลายพระองค์และปัญญาชนที่กลับมาจากต่างประเทศในครั้งนั้น ที่ได้สะสมตำราโหราศาสตร์สากล ไว้มาก อาทิ หม่อมเจ้าเฉลิมศรี จันทรฑัต ,หม่อมเจ้าพรหมมาส พรหมเมศ , พระยาบริรักษ์เวชชการ (บริรักษ์ ติตริรานนท์ )
หลวงอรรถวาทีธรรมปริวรรต ( วิเชียร จันทร์หอม เปรียญและเนติบัณฑิต ) และอีกหลายท่านที่มิได้กล่าวนาม ได้นำวิทยาการอันแปลกใหม่นี้เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนผู้สนใจโดยเฉพาะที่จะกล่าวถึงคือ หลวงอรรถวาทีธรรมปริวรรต
 นั้น ได้จัดพิมพ์หนังสือโหราศาสตร์นิเทศ ซึ่งเป็นตำราพื้นฐานของโหราศาสตร์ไทยที่เปรียบเทียบกับการนำเสนอใน แบบสากล และเป็นคนแรกที่จัดทำปฏิทินโหราศาสตร์ขึ้นเผยแพร่ตามแบบวิธีการทางคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยใช้ชื่อว่า ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย พ.ศ. 2417 ถึง พ.ศ.2479 ซึ่งแต่เดิมผู้ที่เป็นโหรนั้นต้องศึกษาวิชาคำนวณก่อนและ มาศึกษาวิชาจากคัมภีร์พระสุริยยาตร์ และลงมานัตต์ทำปฏิทินโหราศาสตร์ขึ้นใช้เอง หรือมิฉะนั้นก็ต้องไปขอจดคัดลอก เอาจากกรมโหร ซึ่งก็คำนวณล่วงหน้าเอาไว้ ปีต่อปีหรือไม่นานนัก ส่วนปีเก่าๆก็ต้องไปคัดเอาเองด้วยกันทั้งสิ้น จึงจะ สามารถที่จะหาตำแหน่งดวงดาวหรือที่ต่อมาเรียกกันในภาษาโหรว่า ผูกดวง นั่นเอง
         เสียดายที่หลวงอรรถวาทีธรรมปริวรรต มีอายุขัยสั้นถึงแก่กรรมด้วยวัยที่ไม่มากนัก งานทั้งหมดของท่าน ทาง ทายาทได้อุทิศลิขสิทธิ์ให้กับหอพระสมุดแห่งชาติเป็นผู้ดูแลแทน ทำให้มีสำนักพิมพ์เอกชน ขออนุญาตพิมพ์เผยแพร่เป็น ครั้งคราว นอกจากนี้ตำรับตำราของท่านที่เก็บรวบรวมสะสมไว้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้อนุชนรุ่นต่อมาบางท่าน สนใจที่จะศึกษาวิทยาการด้านนี้ต่อโดยเฉพาะโหราศาสตร์สากล ถึงกับไปเรียนเองถึงที่ประเทศอังกฤษ
          หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ พ.ศ. 2475 ข้าราชการกรมโหรก็ต่างออกมาประกอบอาชีพ อิสระในเชิงวิชาการด้านนี้ เป็นการส่วนตัว ถึงกับเป็นที่รู้กันทั่วไปเช่นเดียวกับพราหมณ์และ พระสงฆ์ ซึ่งต้องจัดให้มีเป็นธรรมเนียม ในพิธีราษฎร์ที่สำคัญๆที่ต้องใช้ฤกษ์ผานาที  หรือแม้แต่ในยามที่ประเทศชาติคับขัน เนื่องจาก ความไม่สงบทางการเมือง  ภายในประเทศ มีการรัฐปฏิวัติรัฐประหารกัน หลายต่อหลายครั้ง ทำให้เหล่าโหรดังๆ ก็ต้องถูกจับพลอยฟ้าพลอยฝน ไปกับเขาด้วย ที่ทำสำเร็จก็มี ที่สมรู้ร่วมคิดถูกจับติดตะรางคดีนักโทษ ทางการเมือง ถูกนำไปปล่อยเกาะตะรุเตาก็มี  นักโทษการเมืองสมัยนั้นมีการเปิดการสอนวิชาโหราศาสตร์กัน ในคุกบางขวาง พอถึงคราวจะหลบหนีก็ใช้วิชาโหรนี้  หาฤกษ์เพื่อหลบหนีจากการปล่อยเกาะตะรุเตาสำเร็จก็มี
            เมื่อวิชาการโหรเผยแพร่ออกสู่สามัญชนในวงกว้างขึ้น จึงมีการรวบรวมกันก่อตั้งสมาคมโหร แห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 เวลา 11 นาฬิกา 41 นาที ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน มีสำนักงานอยู่ที่ ใกล้วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพมหานคร มีกิจกรรมทั้งการบรรยายพิเศษ และการสอนเผยแพร่วิชาการ ทางด้านนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่โหราศาสตร์เท่านั้น ยังรวมไปถึงการพยาการณ์แขนงต่างๆ อีกด้วย  โดยออกนิตยสารรายเดือน ของสมาคม ชื่อ พยากรณ์สาร  ซึ่งมีมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมี หม่อมเจ้าเจริญศุขโสภาคย์ เกษมสันต์ , พระยาบริรักษ์เวชชการ , พระยาประสงค์สรรพการ และ พระยาอาณาจักรบริบาล เป็นผู้เริ่มก่อตั้ง จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สมาคม โดยมีท่านผู้อุปการะแก่สมาคมโหรแห่ง ประเทศไทย 5 ท่านคือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ , พระธรรมวโรดม ซึ่งต่อมาได้รับการ สถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( อยู่ ญาโนทโย ) วัดสระเกศ , พระธรรมปาโมกข์ ซึ่ง
ต่อมาได้เป็นพระพรหมมุนี ( ผิน สุวโจ ) วัดบวรนิเวศ , พระศรีสัจจญาณมุนี ( สนธิ์ ) วัดสุทัศน์ และ พระภัทรมุนี ( อิ๋น ภทรมุนี ) วัดทองนพคุณ โดยใช้อาคารหอสมุดของมหามงกุฏราชวิทยาลัย เป็นที่ทำการสมาคม และปัจจุบันได้รับพระบรมราชินูปถัมภ์ จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชีนีนาถ แม้ว่าปัจจุบันที่ทำการสมาคมจะย้าย ออกมาอยู่ข้างๆ อาคารหอสมุดแล้วก็ตาม

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.