ReadyPlanet.com


ดวง Solar Return เรียนถาม


ผูกดวงโดยคิด หรือไม่คิด ค่า Precessed จะอ่านได้ตรงกว่ากันครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ คุณนิช :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-05 07:50:12 IP : 114.128.168.236


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1897500)
ถ้าแปลว่าการเหลื่อม  ซึ่งถ้าคำนวณด้วยมืออย่างแต่ก่อนโดยการเปิดตารางการเคลื่อนที่ของอาทิตย์รายวัน  หรือคิดเฉพาะค่าองศา ไม่คิดค่าลิบดา สมัยนี้เขาแก้ไขปัญหาได้โดยใช้โปรแกรมคำนวณให้เสร็จสรรพ พร้อมผูกดวงซึ่งลงไปจนถึง ณ เวลาพิลิบดากันแล้ว  และจากประสบการณ์การใช้งานที่ผ่านมา ก็ใช้ได้แม่นยำดี   เพราะเราต้องการเรือนชะตาเพื่อหาเวลาที่แน่นอนในการสถาปนาฟ้า ตั้งลัคนาและเมอริเดียน   เพื่อที่จะหาได้แน่นอนว่า  อาทิตย์โซล่าร์จริงนั้น  มาในเรือนใดของลัคนา  ซึ่งจะเพิ่มความละเอียดของการตีความได้ในแง่มุมต่างๆได้มากขึ้นนะครับ  เพราะการดูดวงโซล่าร์ดูได้ 2 แบบ คือ โดยดูจากการเทียบสัมพัทธ์กับดวงกำเนิดและเทียบสัมพัทธ์กับดวงจรทรานสิต  ซึ่งวิธีแรกเป็นการหาเหตุการณ์สำคัญที่เจ้าชะตาจะต้องเผชิญในรอบปี  และวิธีหลังเป็นการบอกว่าเหตุการณ์ที่ว่านั้นจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...เล่าให้ฟัง วันที่ตอบ 2009-02-05 08:19:49 IP : 118.172.62.252


ความคิดเห็นที่ 2 (1897551)
ขอบคุณครับ. สรุปว่าอาจารย์แนะนำให้ใช้โปรแกรมผูกดวง. คำนวนแบบใช้ค่าprecessionด้วยนะครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น คุณนิช วันที่ตอบ 2009-02-05 09:55:20 IP : 114.128.174.133


ความคิดเห็นที่ 3 (1897589)
ผมจะใช้คำว่า  orbit  แทนนะคับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...วังกะ วันที่ตอบ 2009-02-05 10:35:58 IP : 118.172.62.252


ความคิดเห็นที่ 4 (1898533)
ถ้า Precession ที่ถามหมายถึงอายนางศะ ละก็ คำถามคงจะหมายถึงว่า ผูกดวง Solar Return โดยตั้งดวงคำนวณแบบนิรายนะเพื่อหาวัน เวลา ที่องศาอาทิตย์กำเนิด-อายนางศะกำเนิด = องศาอาทิตย์ทรานสิต-อายนางศะทรานสิต ผลของมันจะต่างกันมากเลยแหละครับ สมมุติอายุ 45 ปี ค่า Precession จะแตกต่างกันถึง 40 ลิปดาทีเดียว แปลงเป็นค่าเวลาตามการโคจรของอาทิตย์ จะมีค่าถึง 16 ชั่วโมงเชียวแหละ ดังนั้นลัคนาดวงโซล่าร์ จะต่างกันเป็นโยชน์เลย ผลการตั้งเรือนชะตาก็จะคนละเรื่องกันเลย
 
เรื่องนี้เคยอ่านผ่านตาที่เวบของคุณโรจน์ มีพูดถึงว่าตำราฝรั่งบางเล่ม เป็นโหราศาสตร์สากล แนะนำให้ใช้แบบหัก Precession อยู่เหมือนกัน แต่ในเมืองไทยถ้าเป็นโหราศาสตร์สากลหรือยูเรเนียนก็ไม่เ้ห็นใครใช้เลยครับ ยกเว้นโหราศาสตร์ไทยหรือภารตะ(ก็แน่นอนเขาเป็นระบบนิรายนะ นี่นา) มีการพูดถึงกันบ้างเหมือนกัน ส่วนหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครทดลองใช้ก็เพราะโปรแกรมต่างๆ ก็ไม่ได้ Support ตรงนี้แบบตรงๆ ต้องปรับใช้เอา เลยขี้เกียจใช้ซะเลย อิอิ
 
อีกอย่างที่มีพูดกัน ก็อย่างเช่นว่าเวลาดูดวงคนอายุมากๆ นี่ชักจะไม่ค่อยได้ผล ก็ว่าเหตุจากอันนี้ส่วนหนึ่ง แล้วก็ดวงโค้งสุริยาตร์ที่คำนวณได้ อีกอัน ก็มีผลว่าหากอายุมาก ค่าความคาดเคลื่อนก็จะมากตามไปด้วย อย่างดวงตั้งเสาร์หลักเมืองกรุงเทพ นี่ผ่านไป 200 ปี ดวงโซล่าร์นี่เหลื่อมกันเป็นวันๆเลย หรือ ค่าโค้งก็อาจคำนวณแล้วต่างกันได้มาก ดวงเมืองกรุงเทพเลยได้รับการเอามาใช้น้อยลงไป ใช้ดวงเหมายันสงกรานต์ ซึ่งสดและเหมือนเกิดใหม่ทุกปีแทน
ผู้แสดงความคิดเห็น ..มาแว๊ว...ตำราฝรั่งบางเล่มอ่านดูก็งั้นๆคร๊าบ วันที่ตอบ 2009-02-06 21:59:40 IP : 58.64.51.162


ความคิดเห็นที่ 5 (1898577)

จริงไม่ใช่ใช่ตำราฝรั่งจะเจ๋งไปซะทุกเล่มโดยเฉพาะวิชาโหราศาสตร์  พี่ไทยเราตกผลึกกับวิชานี้มานานนักหนาแล้ว บางอย่างแน่กว่าฝรั่งที่เขียนตำราเยอะนัก

อาทิตย์นั้นเดินวันละ 1 องศาเฉลี่ย โดยมองจากโลก  หรือ 24 ชั่วโมงหรือ 1440  นาทีดังนั้น  กว่าจะลงตัวใน ระดับเท่ากับ ลิบดา พิลิบดา ก็ต้องทำให้เรือนชะตาซึ่งผันตามลัคนา เมอริเดียน เปลี่ยนแปลงไปมากมาย  กว่าจะเข้าลิบดาที่ลงตัวตามเวลาเกิด

เรื่องดวงเมืองกรุงเทพเนี่ย  โหราหน้าแหกมาซะนักแล้วในกรณีที่ใช้แค่ดวงนี้พยากรณ์ดวงเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ศัพท์ที่ใช้ไม่ตรงกัน วันที่ตอบ 2009-02-07 08:29:51 IP : 118.172.100.175


ความคิดเห็นที่ 6 (1898606)
ตกลงโจทย์ของกระทู้เนี่ย  ถามเรื่องโหรแนวไทยหรือแนวฝรั่งกันแน่คับ  หรือ  หาจากแนวฝรั่งแล้วมาลบ อายนางศะ ( Precission )ประจำปี ได้ค่าเท่าไหร่   แล้วกลับไปทำนายในดวงแบบไทย  โดยใช้เรือนแบบไทยเหรอ  คนละระบบเวลากันนี่คับ  เรือนชะตาคลาดเคลื่อนหมดกัน
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...คนละเรื่องเดียวกัน วันที่ตอบ 2009-02-07 10:34:17 IP : 118.172.100.175


ความคิดเห็นที่ 7 (1898689)
แบบฝรั่งนี่หละครับ. ผูกดวงแบบสายนะtropical. แล้วตั้งดวงโซล่าร์ระหว่างใช้กับไม่ใช่ค่าprecessionก็ทำให้ลัคนาผิดกันเยอะครับ เพราะตั้งแต่ที่เกิดมาหลายสิบปีจุดเมษก็ถอยหลังไปเรื่อยๆถ้าเราจะหาจุดที่อาทิตย์กลับมาทับตรงตำแหน่งเดียวกับตอนที่เกิดเป๊ะมันจะต้องเลื่อนออกไปอีก.ลองเล่นดูก็ได้ครับไม่ต้องใช้แบบนิรายนะเลย แต่ผลการอ่านในลักษณะเรือนชะตานี่คงต้องอ่านดวงตัวเองตัดสินเอาเองว่าแบบไหนมันตรง
ผู้แสดงความคิดเห็น จขกท วันที่ตอบ 2009-02-07 15:33:17 IP : 114.128.171.137


ความคิดเห็นที่ 8 (1898693)
เท่าที่ลองอ่านดูรู้สึกว่าใช้ค่าprecessด้วยจะตรงเหตุการณ์จริงมากกว่า.ไม่ทราบท่านอื่นลองแล้วเป็นอย่างไรหรือว่าอ่านทางมุมดาวกันหมด
ผู้แสดงความคิดเห็น จขกท วันที่ตอบ 2009-02-07 15:55:40 IP : 114.128.175.206


ความคิดเห็นที่ 9 (1898712)

แล้วตอนโปรแกรมคำนวณเค้าคิดหากันอย่างไรล่ะคับ  ค่าตัวนี้น่ะ  เพราะ  ค่าราศี  องศา  ลิบดา  พิลิบดา ที่ดวงอาทิตย์จร  ณ ปีประสงค์ มามีค่าเท่ากับ  ราศี  องศา  ลิบดา พิลิบดา  ของอาทิตย์กำเนิด  ณ  เวลาเท่าใด   ผลลัพธ์มันเป็นค่า เวลาเป็น ชม.  นาที  วินาที อยู่แล้ว  แล้วเอาเวลาที่ว่า ไปคำนวณหา  สถาปนาท้องฟ้าตั้ง ลัคนา  และจะได้เรือนชะตาขึ้น   ทำไมต้องไปลบ  ค่า precess  ที่ว่านี้อีก  ผม เริ่มไม่เข้าใจ น่ะสิคับ  กระบวนการนี้มันต้องทำมาก่อนหน้านี้แล้วนี่นา  
   อย่างนี้ต้องถามทานผู้รู้ด้านคำนวณ  ด้านโปรแกรมมาช่วยขยาย และยกตัวอย่างให้ดูหน่อยเถอะครับ  ด้านคำนวณแนวนี้ผมไม่ชำนาญพอ ใช้เป็นด้านพยากรณ์อย่างเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ช่วยหน่อยคับ วันที่ตอบ 2009-02-07 17:15:10 IP : 118.172.90.211


ความคิดเห็นที่ 10 (1898778)
จะลองอธิบายนะครับไม่แน่ใจว่า จขกท หมายถึงแบบนี้หรือไม่ โดยยกตัวอย่างนะครับ(ใช้โปรแกรม Solarfire ก็ได้) สมมุติจากดวงตัวอย่าง เกิด 16/03/2507 22:39 อาทิตย์เท่ากับ 26:05 ราศีมีน ลัคนา 26:51 ราศีพิจิก
 
ผูกดวง Solar return ปีนี้ กรณีปกติ(สายนะ หรือ สากล) จะได้เป็นดวงทินวรรษ 16/03/2552 20:13:11 อาทิตย์จะเท่ากับ 26:05 ราศีมีน(เท่ากัน) ลัคนา 22:44 ราศีตุล แบบนี้คือปกติไม่ใช้ Precession
 
ทีนี้ลองใหม่ใช้เวลาเกิดเดิม แต่ปรับเป็นตัดอายนางศะ(ใช้ Lahiri) จะได้เป็นอาทิตย์ 2:44 ราศีมีน ลัคนา 3:30 ราศีพิจิก
 
คราวนี้ก็ผูกดวง Solar return อีกทีโดยตัดอายนางศะแบบ Lahiri เช่นกัน จะได้เป็นดวงทินวรรษ 17/03/2552 11:35:16 โดยอาทิตย์ก็จะเท่ากับ 2:44 ราศีมีนเช่นกัน ลัคนาจะเท่ากับ 27:02 ราศีพฤษภ
 
นั่นก็คือเราได้ดวงโซล่าร์ประจำปีเป็น 17/03/2552 11:35:16 ทีนี้เมื่อเราจะดูแบบสากล ที่ใช้ค่า Precession เราก็ผูกดวงแบบสายนะ โดยใช้ วัน ว เวลา ณ นี้ จะได้เป็น อาทิตย์ 26:37 ราศีมีน และลัคนา 20:55 ราศีมิถุน
 
จะเห็นว่าเมื่อใช้เวลาตามแบบนิรายนะ แต่ปรับมาผูกแบบสากลหรือสายนะแล้ว อาทิตย์ดวงโซล่าร์ จะมากกว่า อาทิตย์กำเนิด และลัคนาก็จะต่างจากเดิมไปมากเลย(จาก 22:44 ราศีตุล เป็น 20:55 ราศีมิถุน) ซึ่งเมื่อตั้งเรือนชะตาก็จะต่างกันลิบลับเลยครับ หรือกรณีใช้มุมดาวก็เถอะ มุมจากลัคนาและเมอริเดียน ก็ย่อมแตกต่างกันจากเดิม
 
ไม่ทราบว่าแบบนี้เป็นไปตามที่ จขกท ต้องการจะถามใช่ไหม หากไม่ใช่ก็ขออภัยนะครับที่ตีความผิด
 
หมายเหตุ ถ้าใช้โปรแกรม Uranus ก็ไปที่เมนูตั้งค่า แล้วเลือกเครื่องหมายถูกที่ ตัดอายนางศ์ลาหิรี จากนั้นกลับไปผูกดวงกำเนิด แล้วก็เลือกที่เมนูดวงจร เลือกดวงทินวรรษหรือกด F1 จะได้เป็นดวงทินวรรษแบบนิรายนะ ถ้าจะใช้เป็นสายนะ ก็กลับไปที่เมนูตั้งค่าอีกที แล้วเลือกเอาเครื่องหมายถูกออก ตรงตัดอายนางศ์ลาหิรี กดปุ่ม OK ก็จะได้เป็นดวงโซล่าร์แบบ ใช้ค่า Precession นั่นเอง (ค่าคำนวณอาจไม่ตรงกับ Solarfire บ้างเพราะ Logic ข้างในต่างกัน)
 
ปล. ลองดูดวงท่านเจ้าสำนักเองก็ได้นะครับ หากแบบใช้ค่า Precession ละก็ ปีนี้ ลัคนาโซล่าร์ ฉากกับลัคนากำเนิดด้วยนะครับ
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ..มาแว๊ว...ใบไม้ร่าเริง (เอี๊ยบไค) วันที่ตอบ 2009-02-07 21:17:47 IP : 124.120.14.190


ความคิดเห็นที่ 11 (1898785)

ผมงงตรงจุดเมษถอยหลังตามอายุที่เกิดนี่แหล่ะคับ ปรัชญาและทฤษฎีที่มีมาทางโหรา  มันจะคนละทางกัน  จะว่าระหว่างเรื่อง  Solar Return กับ Progress  ก็ไม่น่าจะใช่ 

เพราะ Precession ของ ค่า Equinoxes ซึ่งรอบหนึ่งตั้ง  25770 ปี  เมื่อเทียบกับอายุขัยคน  ค่าต่างมันในระยะไม่เกินร้อยปี  นิดเดียวเองแทบไม่มีผล

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...นั่นน่ะสิคับ วันที่ตอบ 2009-02-07 22:00:13 IP : 118.172.24.114


ความคิดเห็นที่ 12 (1898843)

25770ปี จุดเมษ ถอยครบหนึ่งรอบหรือ 360องศาหรือ 1,296,000ฟิลิปดา

ดังนั้น1ปีจุดเมษถอยไป52ฟิลิปดา

สมมุติเราอายุ30ปี จุดเมษถอยไปจากตอนที่เราเกิด1560"" หรือ 26ลิปดาก็จริง

อาทิตย์จร24ชั่วโมงได้1องศา(หรือ60ลิปดา)ดังนั้น 26ลิปดาคือ10.4ชั่วโมงจะทำให้ลัคนาและเมอริเดียนแตกต่างระหว่างใช้กับไม่ใช้ค่าprecession ไปถึง5-7ราศี ทีเดียวเจียวละ

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น จขกท วันที่ตอบ 2009-02-08 09:33:54 IP : 114.128.174.123


ความคิดเห็นที่ 13 (1898857)
ท่าทางจะใช้วิธีโยนลูกมาขี้เกียจอธิบายเองละมั้ง ในเมื่อโยนมาเราก็รับแล้วเล่นต่อซะเลย
 
อยู่ที่มุมมองครับ เปรียบเสมือนการที่ นาย A ขี่จักรยานผ่านนาย B ย่อมเห็นเสมือน นาย B ค่อยๆถอยห่างไป แต่นาย B ย่อมเห็นนาย A วิ่งเดินหน้าไปค่อยๆไกล
 
ถ้าเทียบเฉพาะ Precession มันก็เหมือนน้อยสิครับ เพราะอาทิตย์จะห่างจากเมษมากขึ้นเรื่อยๆ ปีละแค่ประมาณ 51 ฟิลิปดา แต่ถ้าเทียบเป็นค่าเวลาที่อาทิตย์ต้องใช้เวลาเดินได้ 51 ฟิลิปดาจะต้องใช้เวลาตั้ง 20 นาที ซึ่งมีผลทำให้ลัคนาของเวลาที่ห่างกัน 20 นาที ห่างกันได้ประมาณ 5 องศาเลยเชียวแหละ
 
ถ้าผูกดวงแบบสากลนิยม(อย่างในโปรแกรม SolarFire) จะตั้งลัคนา Fix ไว้ทางซ้ายมือ เราจึงเห็นเสมือนว่าเมษของ Solar Return แบบคิดค่า Precession มันถอยหลังไปปีละประมาณ 5 องศา(เมื่อเทียบกับเมษของ Solar Return แบบปกติ) ก็หมายถึงว่าเส้นแบ่งเรือนชะตาก็จะเคลื่อนกันไปจากวิธีปกติ ถึงปีละประมาณ 5 องศาเลย(มุมมองของนาย A) ซึ่งก็คือลัคนามันเคลือนไปข้างหน้า(มากขึ้น)ปีละ 5 องศาเช่นกัน(มุมมองของนาย B)
 
อย่างในตัวอย่างข้างบน อายุจนถึงปัจจุบัน 45 ปี ในมุมมองของนาย B ลัคนาจึงมากขึ้นกว่า 216 องศาเข้าไปแล้ว เรือนชะตาต่างจากเดิมถึง 8 เรือนเข้าไปโน่นเลยแหละ
 
ที่จริงในดวงตัวอย่างมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในปี 2535 อายุ 28 ปี ลัคนาโซล่าร์แบบ Precession ห่างจาก ลัคนาโซล่าร์แบบปกติประมาณ 135 องศาพอดี (ทำมุมถึงกัน) น่าสนใจเหมือนกันว่า ถ้าตั้งสมมุติฐานเล่นๆว่าปีใดที่ลัคนาทั้ง 2 แบบทำมุมถึงกัน ปีนั้นจะเป็นปีสำคัญปีหนึ่งได้หรือไม่ (เป็นรูปแบบปีสำคัญอย่างหนึ่ง) เพราะมันน่าจะเป็นรูปแบบของวงรอบอย่างหนึ่งได้
ผู้แสดงความคิดเห็น ..มาแว๊ว...SiteKick วันที่ตอบ 2009-02-08 10:17:42 IP : 124.120.14.42


ความคิดเห็นที่ 14 (1898865)

คล้ายอันโตนาทีแนววิธี 10 ลัคนาน่ะเหรอ  พอโลกหมุนดาวก็เดิน   แต่อ่านๆไปคิดไปคิดมากลับกรายเป็นว่า  เป็นมุมมองแบบความรู้ใหม่เลยครับ  ดีครับ ต้องขอเวลาไปศึกษา เรียบเรียงความรู้ความคิดใหม่กันอีกที  ถ้าตรงนี้เป็นจริงมันจะพริ้วขยายได้ต่ออีกมากมายหลายระบบ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ขอบคุณครับที่มาช่วยๆกันถกปัญหา วันที่ตอบ 2009-02-08 10:35:26 IP : 118.172.99.148


ความคิดเห็นที่ 15 (1898874)
ทดลองดูเหมือนกันคับ ในการพิจารณา
แต่ผลจากปรากฏการณ์ เท่าที่นำมาวิเคราะห์ นานๆจะออกแบบ Precession ตามโปรแกรมSf ที่มีในโปรแกรม แรกๆก็ไม่รู้ว่าคืออะไร ตอนนี้รู้แระ ขอบคุณคับ
ผู้แสดงความคิดเห็น แก่ละ ค่อยๆเรียนรู้กันไป... วันที่ตอบ 2009-02-08 10:53:16 IP : 58.9.148.200


ความคิดเห็นที่ 16 (1898944)
จะว่าเหมือนสิบลัคน์ก็ไม่ใช่ครับ(แล้วก็ไม่เกี่ยวกับอันโตนาทีด้วย) เพราะสิบลัคน์มันคล้ายๆกับดาวมันเคลื่อนไปทุกดวงแบบ Direction  แต่อันนี้ที่มันเคลื่อนจนเห็นได้ชัดคือเฉพาะลัคนากับเมอริเดียน
 
ที่จริงก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแต่ว่าดวงจรมันคำนวณออกมาได้ 2 เวลา เพราะความหมายของ SolarReturn สมัยนี้มันก็คือ องศาอาทิตย์จรทับองศาอาทิตย์กำเนิดสนิทถึงฟิลิปดา นั่นแหละ ซึ่งใน 2 แบบที่ว่านั้นมันคำนวณแล้วได้วัน เวลา ต่างกัน ซึ่งก็คือเราคำนวณเพื่อให้ได้วัน เวลา ก่อน จากนั้นจะผูกดวงแบบนิรายนะ หรือ สายนะ ก็ตามแต่
 
จากตัวอย่างข้างบนดวงโซล่าร์แบบปกติ(Tropical) คือ 16/03/2552 20:13:11 แต่ดวงโซล่าร์แบบหัก Precession(Sideral) คือ 17/03/2552 11:35:16 ในเมื่อดวงจรวันเวลาต่างกัน ดังนั้นเมื่อเวลาตั้งดวงไม่ว่าจะผูกดวงแบบนิรายนะ หรือ สายนะ ก็ย่อมได้ดวงจรออกมาไม่เหมือนกัน (แต่ทั้ง 2 แบบก็เป็น Solar Return)
 
สรุปคือ Tropical Solar Return กับ Sideral Solar Return จะคำนวณแล้วได้ วัน เวลาต่างกัน ซึ่งจะต่างกันมากขึ้นปีละประมาณ 20 นาทีเศษ เมื่อนับจากวัน เวลา ของดวงกำเนิด
 
ถ้าไปสิบลัคน์นี่จะอีกประเด็นนึงเลย ทั้งประเด็นของวิธีการคำนวณและมุมมอง สงสัยจะยาวแหละ ถ้าคุยต่อ เพราะอันที่จริงในโหราศาสตร์สากลก็มีการตั้งดวงอันนึงซึ่งคล้ายกับ Concept ของสิบลัคน์ น่าจะเรียกว่าเป็นดวงประเภท Rising ก็ได้ หรือที่เรียกว่าดวงชะตาพระเคราะห์ ซึ่งสิบลัคน์ก็อาจเทียบ(แค่คล้ายๆ เพราะต่างกันอยู่เยอะ)ได้กับดวงประเภท Rising of The Sun (ชื่อเรียกในโปรแกรม SolarFire หรือ Janus ก็เรียกว่า Planet on Angle) แต่วิธีการคำนวณของสิบลัคน์มีวิธีเฉพาะไปอีกซึ่งก็เกี่ยวกับอันโตนาที ที่ว่านั่นแหละ และถ้าเป็นราหูกับเกตุ จะคำนวณย้อนกลับ(ตามทิศทางโคจรของราหู) อีกทั้งคำนวณได้ทุกเวลาตามเวลาตกฟาก แต่ดวง Rising จะเน้นเป็นตามคาบของอาทิตย์ขึ้นตก(AS) กับ เที่ยงวัน เที่ยงคืนจริง (MC) ซึ่งวัตถุประสงค์การใช้ก็ต่างกันไปเลย
ผู้แสดงความคิดเห็น ..มาแว๊ว...อันนี้มันดาบโค้งของเต็งพ้ง วันที่ตอบ 2009-02-08 17:15:38 IP : 125.25.7.170


ความคิดเห็นที่ 17 (1898959)

สิบลัคน์เป็นเรื่องเรือนชะตาหมุนตามเวลาอันโตนาทีหรืออักษรนาที  ตะก่อนเขาโฆษณาว่าเป็นระบบ Heliocentric ตัดค่า precession ทำไปทำมาผมดูแล้วก็ไม่น่าจะใช่  แต่เป็นปรากฏการณ์ของการหมุนรอบตัวเองของโลกไปรับฟ้า  ตามสูตรที่ว่า  ลัคนาคือจักรราศีทางทิศตะวันออกของท้องฟ้า  ณ  เวลาประสงค์  ซึ่งตามหลักการดาราศาสตร์นี้ใช้ได้เฉพาะดวงอาทิตย์ เท่านั้น เพราะเป็นตัวกำหนดทิศตะวันออก  แต่นี่กลับเอาดาวทุกดวง มาร่วมใช้ทิศตะวันออกด้วย  โดยไม่คิดถึงอัตราการโคจรของดาวนั้น  ซึ่งทางดาราศาสตร์ท่านว่า หลักการนี้ชอบกลอยู่น่ะสิคับ 

แต่เท่าที่ท่านอินทรีผงาดฟ้า ( เต็งพ้ง ) กับท่าน  จขกท. อธิบายมาน่ะก็พอจะเข้าใจแล้วคับ กำลังมองข้ามไปว่าถ้านำไปลองใช้กับดาว ( ปัจจัย ) ทุกตัวที่เข้าวงจร Return กันก็น่าจะได้อยู่ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...อาวเอี๊ยงฮง วันที่ตอบ 2009-02-08 17:51:40 IP : 118.172.97.235


ความคิดเห็นที่ 18 (1899224)
อย่าดึงโฆษณานานสิคับ  มาต่อเรื่อง sunrise  sunset ต่อให้ด้วยว่า  เจตนาเขาใช้ดูยังไงอ่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ซาเสียวเอี้ย...ไม่ใส่ไม้เอก? วันที่ตอบ 2009-02-09 11:48:54 IP : 118.172.21.66


ความคิดเห็นที่ 19 (1899253)

อยากฟังด้วยคน เห็นเจ้าของเทคนิคคุยว่าน่าจะเป็นแบบเดียวกับที่ ชาวคาลเดียนใช้

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณนิช วันที่ตอบ 2009-02-09 12:53:35 IP : 124.157.196.35


ความคิดเห็นที่ 20 (1899436)
ขออภัยคร๊าบ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เป็นเจ้าของเทคนิค ไม่ได้เป็นชาวคาลเดียน แต่อาจจะเป็นเคยเกิดเป็นคนด่านเกวียนก็ได้ เลยก็ไม่ได้เข้าใจเจตนาว่าเขาใช้ดูอย่างไร แล้วก็ไม่ได้เรียนจบสายสากลซะด้วย น่าจะต้องไปถามในคอร์สแอดว๊านซ์ สากล-ยูเรเนียน ซะมากกว่า
 
อย่างไรก็ดีก็ขอตีความตามที่ได้สังเกตุ เป็นความเข้าใจส่วนตัวนะคร๊าบ เพราะที่จริงเดิมมองไว้เพื่อเทียบเคียงกับสิบลัคน์ เพราะก็มองเห็นว่าสิบลัคน์นี่น่าจะต้องมาพิจารณาเรื่องแนวทางคำนวณว่ามีความสอดคล้องกับดาราศาสตร์อย่างไรหรือไม่ ก็พักอันนี้ไว้ก่อนแล้วกันนะครับ
 
อันที่จริงดวง Rising นี่ตามปกติเราก็ใช้กันอยู่แล้วในบางโอกาส เช่นการตั้งดวง Transit ประจำวัน หรือ การผูกดวงสำหรับผู้ไม่รู้เวลาเกิด นั่นก็คือเราจะตั้งดวง ณ.เวลาเที่ยงวัน หรือถ้าจะเอาแบบละเอียดจริงๆ ก็คือผูกดวงให้เมอริเดียน(MC)=อาทิตย์(SU) นั่นเอง หรืออาจจะผูกดวงที่ ลัคนา(AS)=อาทิตย์(SU)
 
เพราะหากเราเปิดโปรแกรม SolarFire ไปดูในเมนู Rising/Setting จะพบว่าดวงประเภทนี้จะแบ่งออกได้ 4 ประเภท(ตามภาษาของ Solarfire) คือ Culminating , Anticulminating , Rising , Setting ซึ่งก็คือ เมอริเดียนบน เมอริเดียนล่าง ลัคนา และ อัสตลัคนา ตามลำดับนั่นแหละ ส่วนในโปรแกรม Janus ซึ่งใช้ชื่อว่า Planet on Angle จะเรียกว่า Medium Coeli , Imum Coeli , Ascendant , Decendant ตรงตัวเลย และยังมี พวก Vertex, Anti Vertex และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นกลุ่มของปัจจัยที่เกิดจากการคำนวณตำแหน่งโดยใช้ Latitude และ Longitude
 
ดวง Rising หรือ Planet on Angle ก็คือการผูกดวงที่คำนวณตามเวลาที่ ปัจจัยต่างๆ เท่ากับจุดเหล่านั้น เช่น Rising of the Sun แบบ Culminating จะหมายถึง คำนวณดวง ณ เวลาที่ MC ทับ SU หรือหากเป็น Jupiter Culminating ก็หมายถึง ผูกดวง ณ เวลาที่ MC ทับ JU ซึ่งในแต่ละวันดาวหรือปัจจัยต่างๆ จะถูกจุดเหล่านี้ทับวันละครั้ง
 
พอมองเห็นเจตนาอันหนึ่งมั้ยครับ ยกตัวอย่างในเชิงปรัชญา เมอริเดียนหรือจุดจอมฟ้า หมายถึงตำแหน่งของเส้น Longitude อยู่สูงสุดกลางท้องฟ้านั่นเอง ณ เวลาที่ประสงค์ เปรียบเสมือนจุดที่ให้พลังงานสูงสุดของแต่ละวัน ตรงนี้จึงเป็นเวลาที่เราใช้ผูกดวงประจำวันโดยให้ MC ทับ SU ซึ่งนั่นก็คือเรากำลังใช้ดวง Rising of the Sun (Sun Culminating)
 
เช่นเดียวกันถ้าเป็น Jupiter Culminating หรือ MC ทับ JU ก็เปรียบเสมือนเป็นเวลาที่ พฤหัส ให้พลังงานสูงสุดของวันนั้นนั่นเอง เพราะเรากำลังสถาปนาพฤหัส ณ จุดจอมฟ้านั่นเอง
 
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกับดาวเด่นในดวงชะตานั่นเอง โดยข้าพเจ้าเรียกว่าเป็น Aspect Dominance เพราะการที่ปัจจัยใดสัมพันธ์กับ เมอริเดียนหรือลัคนา ย่อมมีคุณลักษณะเป็นดาวเด่นในดวงชะตา ที่ผูกขึ้น ณ เวลานั้น (ที่จริง Aspect Dominance ยังรวมถึงจุดเจ้าชะตาอื่นๆด้วย)
 
การปรับใช้อีกอย่างในเรื่องของ Aspect Dominance ก็คือ ในเมื่อปัจจัยนั้นมีพลังงานสูงสุด ณ เวลานั้น ย่อมมีอิทธิพลมากนั่นเอง (แล้วถ้าหากเป็นทุกวันที่ 1 หรือวันที่ 16 ของทุกเดือน ตอนเวลาประมาณ 15.45 น. จะเกิดอะไรขึ้น ไปเดาเอาเองได้นะครับ ว่าจะแปลงเป็นตัวเลขได้หรือไม่ เพราะโดยส่วนตัวข้าพเจ้าไม่สนใจเรื่องตัวเลขครับ)
 
อีกอย่างก็คือ การสร้างเป็น Astro Map นั่นเองก็เกิดจากการคำนวณดวง Rising ต่างๆในแต่ละวันแล้วนำไป Plot เป็นกร๊าฟ นั่นเอง ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในเรื่องของ Re-Location หรือ Astro*Carto*Graphy ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจสอบหาพิกัดที่ดาวที่เราประสงค์จะให้พลังงานสูงสุดในแต่ละวันว่าอยู่ที่ตำแหน่งใด
 
หมายเหตุ หากไม่มีโปรแกรมที่มีเมนูให้คำนวณดวง Rising ก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะเพียงแต่เราปรับเวลาไปเรื่อย จนได้ MC ไปทับดาวอะไร สมมุติทับ UR เราก็จะได้ว่า ณ เวลานั้นเป็นดวง Uranus Culminating นั่นเอง
 
ปล. ไม่เพียงแค่ใช้ดาวเดี่ยว เราอาจจะใช้ศูนย์รังสี ก็มิได้ผิดกติกาแต่อย่างใด
 
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการตีความ และเป็นข้อสังเกตุของข้าพเจ้าเองทั้งสิ้น(แต่ก็บวกกับการค้นคว้ามาบ้าง) ไม่ได้รับรองว่าเป็นเทคนิคของการนำมาใช้จริงๆ นะคร๊าบ....สิบอกให่
 
อันที่จริงแล้ว หลายๆเรื่อง เมื่อคิดกลับไปกลับมาแล้วมันก็เป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง เฉกเช่นเดียวกับ ดาบโค้งของเต็งพ้ง กับ กระบี่ที่ 15 ของอี้จับซา นี่น่ะ ซาเซียวเอี้ยกลับบอกว่า เป็นรูปแบบของกระบวนท่าส่วนลึกในแนวทางเดียวกัน ซึ่งตอนที่ซาเซียวเอี้ยพูดเรื่องนี้นั้น กลับกลายเป็นช่วงที่ เขากลับใช้กิ่งไม้ต่างกระบี่ไปแล้ว เพราะซาเซียวเอี้ยบอกว่า กระบี่อยู่ที่ใจ
ผู้แสดงความคิดเห็น ..มาแว๊ว...ชาวด่านเกวียน..ไม่ใช่คาลเดียน วันที่ตอบ 2009-02-09 22:35:37 IP : 58.64.104.18


ความคิดเห็นที่ 21 (1899535)
อย่างงี้ ถ้าเราใช้จุดพล็อต Rising ของปัจจัยแต่ละตัวของทุกตัว   มาลงในแผ่นดวงเดียวกัน  ก็คือ เราจะได้  ดวงสิบลัคนาแบบสากลยูเรเนี่ยน...อ๊ะ  เข้าท่าทีเดียวละคับ   ได้วิชาใหม่อีกแระ   ขอบคุณท่านอี้จับซามากคับ  ซาเสียวเอี้ย จะเอาไปยำต่อ  อิอิ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...เจ่กเตี้ยมอั๊ง วันที่ตอบ 2009-02-10 09:19:20 IP : 118.172.97.38


ความคิดเห็นที่ 22 (1899558)
คิดไปคิดมากระทู้นี้ดีแท้เน่อ  ประยุกต์ต่อไปได้สารพัด  ขอบพระคุณมากคับ  ทั่นำมาเผยแพร่ให้ศีกษาต่อสาธารณะ  ถือเป็นไม้เด็ดเคล็ดลับ ชั้นสุดยอดทีเดียวครับ   เช่นเดียวกับ เทคนิคโค้งอาทิตย์จร ที่ถูกหลงลืมตกหล่นไปแต่ก็ถือเป็นเคล็ดวิชาสำคัญครับ 
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...มีของใหม่ให้เล่นแล้วอิอิ วันที่ตอบ 2009-02-10 09:48:18 IP : 118.172.97.38


ความคิดเห็นที่ 23 (1900177)
แต่ดวงสิบลัคนาแบบยูเรเนียนคิดไปคิดมาตรึกตรองดูแล้วน่าจะผิดตรรกะไปคับ  เงื่อนไขเวลาเกิดกับดาวรายวันมันไม่เป็นเหตุเป็นผลกัน     ไม่น่าจะใช้ได้  ต้องใช้แบบของเดิมเค้าน่ะดีแล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต..ชนกำแพง วันที่ตอบ 2009-02-11 09:47:44 IP : 118.172.26.169


ความคิดเห็นที่ 24 (1900240)
ถ้าจะตั้งดวงคล้ายสิบลัคน์โดยคำนวณแบบสากล ทำแบบนั้นคงจะไม่ได้กระมังครับ ควรจะทำประมาณนี้
 
1. เริ่มต้นเราผูกดวง Sun Rising ประจำวันก่อน ซึ่งก็คือดวงที่ลัคนาทับอาทิตย์ นั่นแหละ หมายถึงว่าเป็นจังหวะที่อาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ซึ่งเราจะได้ตำแหน่งของลัคนา Rising ว่าสถิตย์ราศีอะไร(สมมุติเป็น A) รวมถึงตำแหน่งดาวประจำวัน(ให้จำไว้) ถ้าเป็นจานคำนวณจะง่ายขึ้นเพราะเราก็ Plot ตำแหน่งลงจานคำนวณไปเลย
2. ผูกดวงแบบปกติ ตามเวลาที่ประสงค์ เราจะได้เป็นลัคนากำเนิด(สมมุติเป็น B)
3. หาระยะห่างระหว่าง A กับ B หรือว่าเอา B - A จะได้เป็น C
4. ทีนี้ถ้าจะตั้งดวง เราก็เอาค่า C ไปบวกตำแหน่งของดาวที่คำนวณไว้ตามข้อ 1 ก็จะได้ดวงซึ่งคล้ายสิบลัคน์ คือตำแหน่งดาวจะเคลื่อนไปตามลัคนาที่เคลื่อนไปในแต่ละชั่วโมงนั่นเอง ซึ่งก็คือหมุนจานให้อาทิตย์(ของดวง Rising)ไปทับลัคนากำเนิดนั่นเอง จากนั้นเราก็ใช้อาทิตย์เป็นเรือนที่ 1 เพื่ออ่านเรือนชะตาต่อไป
5. วิธีดังกล่าวตำแหน่งดาวอื่นจะคลาดเคลื่อนไม่มากแต่ตำแหน่งจันทร์อาจต้องปรับตามเวลาเพราะจันทร์เดินวันละประมาณ 12-15 องศา ซึ่งก็ปรับได้โดยเอาค่า MOr - MO Rising ไปบวกเพิ่มนั่นเอง
 
เรียกได้ว่าดวงสิบลัคน์แบบนี้คือ ดวงแบบ Ascendant Arc ประจำวันก็ได้ เพราะมันหมุนแบบ Direction ไปทั้งวันๆ ละ 361 องศาโดยประมาณ
 
แต่ก็ยังไม่เหมือนกับสิบลัคน์นะครับ เพราะสิบลัคน์เริ่มคำนวณจากอาทิตย์ขึ้น 6.00 น.ตัดเวลาท้องถิ่น ใช้อันโตนาที และ ราหูกับเกตุยังคำนวณแบบย้อนกลับ มันจึงไม่ได้ Direction ไป 100 % ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทำให้ภาพดวงเปลี่ยนไป การกำหนดเรือนชะตาจึงไม่ Linear แบบ Ascendant Arc ครับ เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสิบลัคน์
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ..มาแว๊ว...หลักสูตรโหราศาสตร์ไทยสู่ยูเรเนียน วันที่ตอบ 2009-02-11 11:32:31 IP : 210.246.184.2


ความคิดเห็นที่ 25 (1900416)
อืมม์....เข้าท่าๆคับ  แหมยังสามารถคิดกันต่อไปได้อีกแน่ะ....ขอบพระคุณหลายคับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ได้รูปจานดวงแบบใหม่แระ วันที่ตอบ 2009-02-11 16:54:16 IP : 118.172.90.133



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.