ReadyPlanet.com


จุดกึ่งกลาง ของศุนย์รังสี 2 อัน เขามีใช้กันไหมครับ


จุดกึ่งกลาง ของศุนย์รังสี 2 อัน เขามีใช้กันไหมครับ

เช่น a = ศูนย์รังสีของ พุธ/ศุกร์

และ b = ศูนย์รังสีของ พฤหัส/เสาร์

มีใครเขาคิดใช้ ความหมายศูนย์รังสีของ a/b บ้างไหมครับ



ผู้ตั้งกระทู้ alive ... สงสัย ถามผู้รู้ :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-21 18:35:37 IP : 58.8.156.152


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1986445)

มีคับ เป็นเรื่อง a+b+c+d และอื่นๆ  ท่านปรมาจารย์จรัญ  พิกุล  เอามาเล่นนานแล้ว  ถึงขนาดจะออกเป็น คัมภีร์สูตรดาว 4  ตัวอีกต่างหากเชียว

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ไม่ใช่ของใหม่ วันที่ตอบ 2009-09-21 19:08:25 IP : 118.172.27.83


ความคิดเห็นที่ 2 (1986560)

ในเอกสารของท่าน พลตรีประยูร พลอารีย์ ท่านใช้ในดวงตัวอย่าง เช่นกันครับ เพื่อขยายความหมายลงรายละเอียดไปจากโครงสร้างเดิมที่อ่านไว้

ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมดังนี้

สมมุติให้ c = ศูนย์รังสีของ a/b

ถ้าจะใช้ คิดว่าควรใช้ระยะวังกะ(orb หรือ ความคลาดเคลื่อน) น้อยมากๆ คือไม่ควรเกิน 15 ลิปดา
และ c = a/b ในมุม 0 หรือ 180 องศา เพราะ จะเป็นพระเคราะห์สนธิแท้

จากเท่าที่ได้ทดลองดูแม้กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ยังพบข้อมูลสมการจำนวนมาก(ส่วนใหญ่เกิน 100) ทำให้ยากในการเลือกหยิบสมการใดๆ มาใช้ แต่บางครั้งข้อมูลกลับบ่งชี้ออกไปในทางเดียวกันจนพอจะคาดเดาความหมายได้เลยก็มี คือมองปุ๊บมันเหมือนกระตุ้นให้ Sixsense ทำงาน สมองสั่งการแปลความหมายให้เสร็จสรรพ จึงน่าที่จะใช้รูปแบบสมการแบบนี้ เพื่อขยายความหมายจากการตรวจสอบ ปัจจัยเดี่ยวและศูนย์รังสีมาแล้ว

และบางครั้งจะพบว่าบางสมการแทบจะไม่เห็นมีผลอะไรเลยก็มี เข้าทำนองว่า สมการ(ดาว)ทำมุม แต่สมการ(ดาว)ไม่ทำงาน จึงต้องมีการคัดกรองสมการ เพราะสิ่งที่เห็นอาจไม่แสดงผลตอนนี้ แต่จะแสดงผลตามอายุขัย การคัดกรองอาจใช้แนวทางที่ว่าด้วย แกนถึงแขน แขนถึงแกน แขนถึงแขน มาช่วย

อีกอันที่น่าสนใจจริงๆ คือ ถ้า a = c แล้วก็ิ b = c ด้วย เช่น a = c มุม 90 และ b = c มุม 270(-90) เราจะพบว่า c=a/b เป็นดาวเข้ารูป T-sqr ย่ิอมหมายถึงว่า สมการ a และ b จะแสดงผลพร้อมๆกัน (โดยเฉพาะถ้ามีวังกะใกล้เคียงกัน) หรือถ้า a=c มุม 120 และ b=c มุม 240(-120) จะได้เป็น c=a/b ดาวเข้ารูป GrandTrine ขออนุญาตเรียกชุดของสมการแบบนี้ว่า Integradted Midpoints Tree

ถ้าจะว่าการตามหลักการก็ยังมีว่า a=จุดอิทธิพล A+B-C  และ b=จุดอิทธิพล D+E-F เราก็จะได้ c=a/b ด้วย ยิ่งมากขึ้นไปอีก(Integradted Sensitive Points Tree) แล้วจะใช้ยังไงดีเนี่ย

เริ่มน่าสนใจไหมล่ะ ถ้าอยากเห็นคงต้องมาเข้า workshop โปรแกรม Uranus (โฆษณาแฝง อิอิ)

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว...ก็กำลังลองใช้อยู่ อย่างเป็นล่ำเป็นสัน วันที่ตอบ 2009-09-22 07:35:36 IP : 202.176.101.19


ความคิดเห็นที่ 3 (1986983)

วิธีของจานคำนวณสองชั้นแนวท่าน ปรมาจารย์จรัญ  พิกุล น่ะ เขาใช้  เขาทำ  เขาทำนายกันได้ปร๋อ  เป็นเรื่องสามัญประจำบ้านกันนะคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...เรื่องชิวๆ วันที่ตอบ 2009-09-23 10:58:10 IP : 118.172.99.232


ความคิดเห็นที่ 4 (1987433)

เช่น a = ศูนย์รังสีของ พุธ/ศุกร์

และ b = ศูนย์รังสีของ พฤหัส/เสาร์

มีใครเขาคิดใช้ ความหมายศูนย์รังสีของ a/b บ้างไหมครับ

ใช้ครับ
เช่น A = ur/ap
      B = su/ju
ผันเป็นสมาการ = A + B
                   = ur+ap+su+ju
                   = ur+ap+su = -ju
ได้เป็นดาว 3 ตัวบวกกัน เท่ากับ - พฤหัสสะท้อน
แปลว่า
เมื่อปรากฏตนเป็นนักโหราศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วโชคดี

เป็น 1 ใน 4 สมาการของระบบโหรายูเรเนียน
หากปรากฎมีสูตรแบบนี้ในดวงชะตา ถือว่านำมาอ่านได้
เนื่องจากมีจุดเจ้าชะตาร่วมอยู่

ผู้แสดงความคิดเห็น มองดาว ดูสมาการ 4 ทางเดินของดาวเคราะห์ วันที่ตอบ 2009-09-24 12:21:04 IP : 118.172.29.156


ความคิดเห็นที่ 5 (1987694)

ขออนุญาตแสดงความเห็นเพิ่มเติมนะครับ กรณีตาม คห.ที่ 4 จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ A/B//C/D = AR หรือ 0 หรือ จำนวนพหุคูณของ 22:30 องศา(Harmonic ที่ 16) หรือ เท่ากับเมษ ใน Harmonic ใดๆเท่านั้น มิฉะนั้นเราจะไม่ได้ผลลัพท์เป็น A+B+C = -D และ ระยะวังกะของ A/B//C/D ไม่ควรเกิน 15 ลิปดา เพราะเมื่อผันสมการเป็น A+B+C = -D วังกะจะเพิ่ม 4 เท่าเป็น 1 องศา และเช่นกัน มุมสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการผันสมการ จะเป็น 4 เท่า ของมุมเดิม(มุมใหญ่ขึ้น 4 เท่า)

ตัวอย่าง

A/B//C/D = AR มุม 45 orb 12"
เมื่อคูณ 2 ในสมการ จะได้เป็น A/B+C/D = 0 มุม 90 orb 24"  (เพราะ AR เท่ากับ 0 เมื่อคูณ 2 ก็เท่ากับ 0)
เมื่อคูณ 2 ในสมการอีกครั้ง จะได้เป็น A+B+C+D = 0 มุม 180 orb 48"
เมื่อย้ายข้าง D จะได้เป็น A+B+C = -D มุม 180 orb 48"

แต่หาก A/B//C/D เท่ากับ E ซึ่งไม่เท่ากับ 0 เมื่อเอา E คูณ 2 คูณ 2 ผลของสมการจะเป็น

A+B+C = 4E - D หรือ A+B+C = E+E+E+E-D

นั่นก็คือ A+B+C จะเท่ากับ -D ได้ก็ต่อเมื่อ ดวงจรอายุขัย(โค้งสุริยาตร์)มีค่าเท่ากับ 4 เท่าของค่าองศาของ E ซึ่งก็คงยากที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติกระมัง

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว...โหราคณิตศาสตร์ วันที่ตอบ 2009-09-24 21:42:24 IP : 202.176.100.148


ความคิดเห็นที่ 6 (1987715)

ลึกซึ้งจริงๆ คิดว่าในคัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ ไม่ได้แนะนำสูตรนี้ไว้นะครับ

... ต้อง save ความเห็นท่านผู้รู้ ไว้ศึกษาก่อน

ผู้แสดงความคิดเห็น alive วันที่ตอบ 2009-09-24 22:51:46 IP : 58.8.155.99



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.