ReadyPlanet.com


ฝนดาวตก...


http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/meteors/2009leonids.html

   ฝกดาวต๋นคือฝน          ดาวตก
พร่างพรูจากฟ้าหก          มองเห็น
วงรอบการเมืองตลก        ตัวเอก
ก่อร่าง-จากจรเน้น           หุ่นเชิด     เวียนวน



ผู้ตั้งกระทู้ ภารต...มันก็แค่เริ่องเดิมๆ :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-09 07:56:50 IP : 118.172.32.122


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2004587)

ในเมื่อพูดเรื่องการเมือง ก็มาว่ากันสักหน่อย

เมื่อ 250 ปีก่อน "กัมพูชา" เป็นสาเหตุสำคัญที่ๆทำให้ หมากตัว"ขุน" ถูกรายล้อมไว้ อยู่ในสภาพ"จน..กลางกระดาน" น่าสังเวชใจ อย่างยิ่ง

วันนี้ "กัมพูชา"  ทำให้ประวัติศาสตร์คล้ายซ้ำรอย อาจเป็น "กงกรรม กงเกวียน"

เค้ามาทวงของๆเค้าคืน

ผู้แสดงความคิดเห็น กงกรรม กงเกวียน วันที่ตอบ 2009-11-09 09:19:38 IP : 125.25.147.152


ความคิดเห็นที่ 2 (2004606)

ขอบคุณรายละเอียดครับ กำลังหาข้อมูลเวลาและสถานที่ไปดูอยู่เชียว

ผู้แสดงความคิดเห็น JigSaw วันที่ตอบ 2009-11-09 10:15:43 IP : 110.164.32.46


ความคิดเห็นที่ 3 (2004775)

พระเจ้าบรมโกศ

(พ.ศ.2275-2310 ค.ศ.1733-1758)

 

พระเจ้าบรมโกศ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 32 (ในจำนวน 34 องค์) ของอยุธยา พระองค์ทรงเป็นโอสรของพระเจ้าเสือ (กษัตริย์องค์ที่ 30) และเป็นอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ (กษัตริย์องศ์ที่ 31) พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ถือว่าเป็นสมัยของอยุธยาที่ “บ้านเมืองดี” ก่อนการเสียกรุงให้แก่พม่าเมื่อ 2310/1767 คือ 9 ปีภายหลังที่พระองค์สวรรคต และพระโอรส 2 องค์ พระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) และพระเจ้าเอกทัศน์ (ขุนหลวงขี้เรื้อน) เกิดปัญหาแก่งแย่งอำนาจกัน ไม่สามารถจะต้านศึกกับพม่าได้ สมัยของพระเจ้าบรมโกศเป็นสมัยที่คนยุคต้นรัตนโกสินทร์มองกลับไปหา และพยายามจะลอกเลียนแบบประเพณีของราชสำนักสมัยนั้น แต่สมัยของพระองค์ก็มีปัญหาการเมืองภายในราชสำนักอย่างมากในแบบฉบับของอยุธยา การที่มีพระสนมหลายองค์ในระบบ “ผัวเดียวเมียหลาย” นั้นเกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจในหมู่พระโอรส (และธิดา) ขึ้นเป็นประจำ พระเจ้าบรมโกศทรงมีปัญหาของพระโอรสริษยาแย่งชิงอำนาจกันเอง เช่นในกรณีของ (ฟ้าธรรมาธิเบศร์” หรือเจ้าฟ้ากุ้งผู้ทรงเป็นทั้งกวีและนักปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามหลายแหล่งในสมัยตอนปลายอยุธยาแต่ถูกข้อหา “ขบถ” เป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์พระสนมเอกของพระราชบิดาถูกโบยจนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมโกศยังมีโอรสอีกองค์ที่ถูกข้อหา “ขบถ” ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะลังกา คือ กรมหมื่นเทพพิพิธที่หนีกลับมาตั้ง “ก๊กเจ้าพิมาย” สมัยหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ถูก “ก๊กพระเจ้าตาก” ปราบปราม

ในรัชสมัยอันยาวนานของพระเจ้าบรมโกศ 25 ปีนั้น ทรงได้ปรับปรุงการปกครองโดยการขยายการตั้ง เจ้าทรงกรม จาก 3 กรมเป็น 13 กรม ให้แต่ละกรมมีอำนาจในการปกครองไพร่ของตนเอง ในด้านหนึ่งก็เป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการที่เจ้าและขุนนางบางคนมีอำนาจมากจนสามารถจะชิงราชสมบัติได้ แต่การขยายกรมที่คุมไพร่ ก็ทำให้การบังคับบัญชากำลังคนกระจัดกระจายไปอยู่ตามกรมย่อยต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถเผชิญกับศึกภายนอกเมื่อพม่ายกกองทัพมาตีอยุธยา

ในด้านศาสนา ปรากฏว่าพุทธศาสนาในสมัยของพระองค์รุ่งเรืองมากมีการส่งสมณทูตไปศรีลังกา 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2294/1751 ทั้งนี้เพราะกรุงแคนดีขอให้คณะสงฆ์ไทยไปช่วยฟื้นฟูศาสนาที่ตกต่ำจากการที่อิทธิพลของโปรตุเกสและฮอลันดาได้เข้าไปแทรกแซงในศรีลังกา ทำให้เกิดการอุปสมบทขึ้นใหม่ และมีการตั้งพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ขึ้นในประเทศนั้น ในปี 2298/1755 ก็ได้มีการส่งสมณทูตไปศรีลังกาอีกครั้งหนึ่ง

ในทางด้านความสัมพันธ์กับประเทศรอบบ้าน ปรากฏว่ารัชสมัยของพระองค์ อยุธยามีอิทธิพลอย่างสูงจากการที่ไทยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการสืบราชสมบัติและชิงอำนาจกันในกัมพูชาตั้งแต่ 2263/1720 ในสมัยของพระเจ้าท้ายสระ และได้รับเจ้าเขมร 3 องค์ที่มีสิทธิในบัลลังของกัมพูชาเข้ามาไว้ในอยุธยา (ทำนองเดียวกับที่พม่านำพระนเรศวรไปเป็น “องค์ประกัน”) ดังนั้นในปี 2281/1738 ก็ได้ให้กองทัพไทยนำเข้าเขมรนี้กลับไปครองอำนาจใหม่ ทั้งนี้โดยการสู้รบกับฝ่ายเขมรที่มีเวียดนามหนุนหลัง ในสงครามใหญ่ 2292/1749 ฝ่ายไทยได้รับชัยชนะทำให้กัมพูชาต้องเป็น “ประเทศราช” ของอยุธยา ในขณะเดียวกันทางด้านมอญก็เป็น “เอกราช” 2283/1740 และหงสาวดี (พะโค) ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย พระองค์ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับพม่าที่อังวะด้วย

ในปี 2300/1758 พระเจ้าบรมโกศทรงประชวร พงศวดารไทยกล่าวว่าในปีนั้นมีดาวหางขึ้น ซึ่งปรากฏว่าเป็นดาวหางฮัลเลย์ และเมื่อพระองค์สวรรคต ( 13 เมษายน 2301/1758) ก็เกิดการแย่งอำนาจกันในอยุธยา อีก 9 ปี ต่อมาก็เสียกรุงแก่พม่า เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยาซึ่งเป็นศูนย์กลางของอำนาจไทยมา 417 ปี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คนไทยใจไม่เขมร วันที่ตอบ 2009-11-09 16:39:06 IP : 58.9.233.123


ความคิดเห็นที่ 4 (2004790)

ย้อนหลังไป 415 ปีดีกว่า

ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติฯ ลงข้อความสั้น ๆ เกี่ยวกับสงครามกับพระยาละแวกครั้งนั้นว่า

"ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก…ณ วันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหยาตราไปเอาเมืองละแวก และตั้งทัพชัย ตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพระยาศรีสุพรรณ ในวันอาทิตย์แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ นั้น"

วันพยุหยาตรา(31/12/2316) SU=MO=MA=KR/ZE(MA/KR//ZE)=UR/PL.PO ใช้เวลา 2 เดือน 6 วัน(06/03/2317) ได้ตัวพระยาศรีสุพรรณ(อนุชาพระยาละแวก) t SU+MA-JU=r SU+MA-JU

ตรงนี้ประวัติศาสตร์ไม่แน่นอน ทางฝั่งเขมร และโปรตุเกส ว่าพระยาละแวกหนีไปเมืองลาว ส่วนทางไทยมีตำนานว่าด้วยเรื่องของพิธีปฐมกรรมต่อพระยาละแวก (นำโลหิตของพระยาละแวก มาล้างพระบาทของ พระนเรศวร)

ปัจจุบันผ่านไป 415 ปี วันที่ 12/11/2552 (ว่ากันว่าเป็นวันออกญามูลเมืองพบพระยาละแวก 2009) ขอให้มาจริงเหอะเพราะ t SU+MA-JU(12/11/2009) =v1 SU+MA-JU =r SU/MA//JU(31/12/2316), t SA=v1 SA

นั่นสิเนาะ ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย เป็น "กงกรรม กงเกวียน" หรือปล่าว

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว...โหราจดหมายเหตุ วันที่ตอบ 2009-11-09 17:19:04 IP : 202.176.101.3


ความคิดเห็นที่ 5 (2004816)

แล้วไปเกี่ยวกับพระเจ้าบรมโกศ พระองค์ท่าน ตรองไหน (เขียนไม่ผิดนะ ออกสำเนียงเขมร)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มนุษย์โว๊ย...ใจอริยะด้วย วันที่ตอบ 2009-11-09 18:50:14 IP : 125.25.147.152


ความคิดเห็นที่ 6 (2004854)

       อันนาคาโบราณว่า    เมืองเขมร
ครุฑาทรงเดชเน้น            แดนสยาม
ดาวเสาร์แทนชาติเวร        นาคราช
อาถรรพณ์ปางบรรพ์ขาม    ให้เห็น    ในดวง

    อาเต๊า จุดนายก          แอตเมฯ
เสาร์ สะท้อน ก็มีเฮ         ต่อต้าน
เห็นๆเน้นๆ เท                ดวงบอก   ไว้นา
เอาหลักโหราค้าน           ใช่ใช้       อารมณ์

   ระวังจีนพี่ใหญ่            ก็เสาร์
ใช่หลับมังกรเหลา           หาไม่
งี่เง่าฤาหูเบา                 โดนสวน   กลับแฮ
ชาตินิยมงมโข่งใช้           ล้าสมัย    ปัญญา

   เก่าก่อนตั้งแต่ครั้ง         ปางบรรพ์
สยามเยี่ยมเด่นดัน             การฑูต
กุศโลบายไทยทัน            โลกสดับ
รอดพ้นชาติดับรูด             เยี่ยมกว่า   ใช้ปืน      

    ปลุกปั่นคลั่งชาติย้อน     นาซี
Ku ถูกมึ ง ผิดมี               ตัดสิน
ผลประโยชน์กฎุมพี            มองข้าม
ร้ายลึกด้านดำหิน              มุ่งชนะ  อวิชชา

    วงรอบหลักโหรา          นักหลาย
เหตุการณ์มีมากมาย          ให้เค้น
หวยออกแล้วมันง่าย          อ้างบอก
ลูกรักลูกชังเน้น                เฉลยรู้   นี่ไง?

    เว็บนี้มิได้เชียร์              ทักษิณ
บอกกล่าวให้ได้ยิน             ทราบไว้
ทั้งเกลียดพวกโกงกิน          ทุกพวก
แต่ก็ยังมิใช่                      คลั่งชาติ   งงงม

   เกลียดตุลาภิวัฒน์เน้น        ตะแบง
ใช้กฎหมายมีเคลือบแครง      แฝงเร้น
ถูกผิดดีชั่วแจง                   ตัวบท   มีแล
ไม่ไว้หน้า ฤา เว้น                ลงโทษ  ตามกบิล





         
      

  
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ขออภัยในบางลีลานะ วันที่ตอบ 2009-11-09 20:23:37 IP : 118.172.11.118


ความคิดเห็นที่ 7 (2004969)

      เจ้าฟ้าเพชรเจ้าฟ้าพร    ฆ่ากัน
อากับหลานชิงบั่น              แย่งราชย์
เจ้าฟ้าพรเรียกกัน              บรมโกฐ
เลือดทาดั่งสีชาด               ล้างก๊ก   เป็นเบือ

     ครองแผ่นดินนานเนิ่น    จอมผไท
บ้านเมืองเฟื่องเจริญใหญ่     กรุงศรีฯ
อยุธยาเกริกไกร                แต่แผ่ว
ครั้นสิ้นแผ่นดินนี้               ม่านรุก   ปล้นเมือง

   อลองพญายีออง             ไจยะ
ตีมะริดรามัญ ละ                 จากใต้
ฆ่าปล้นชิงตีดะ                    เข้าถล่ม   กรุงแฮ
โชคช่วยยังคุมได้                 ปืนแตก   เสียชนม์

   จากนั้นเริ่มเคราะห์ร้าย       กรายมา
พรพินิจขึ้นผ่านฟ้า               แย่งที่
ฟ้ามะเดื่อจำเข้าหา              วัดอยู่
ทัพม่านมาครานี้                 ถึงขั้น     เสียกรุง

   พินทุวดีฟ้าหญิง              อยู่มา
ถึงกรุงเทพรักษา                ขนบได้
กรุงเทพธนบุรีอยุธยา           ส่งต่อ
ธรรมเนียมวังจารีตใช้           สืบรุ่น   ถึงเรา




          

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...แต่งแก้ง่วง วันที่ตอบ 2009-11-09 23:32:09 IP : 118.172.11.118


ความคิดเห็นที่ 8 (2004987)

     วงรอบวัฎฎะแห่ง        โหรา
ฝนดาวตกเทมา              ครั้งนี้
ปีห้าร้อย-ศูนย์เก้า ว่า       สี่หนึ่ง
เจาะดูตัวเอกซิ               ข้องรัฐ    เช่นไร

     ห่อนใช่ใช้ซารอส       ราหู
วงรอบมากถ้ารู้               เล่นได้
วงโค้งวงดาวดู               จังหวะ
แกะอดีตลงวงไล่             เกิดซ้ำ   ลีลา
               

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...แต่งแก้ง่วง วันที่ตอบ 2009-11-10 01:31:35 IP : 118.172.11.118


ความคิดเห็นที่ 9 (2005224)

(ผมในที่นี้ไม่ใช่ผมboi9999แต่คือศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช )

ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติฯ ลงข้อความสั้น ๆ เกี่ยวกับสงครามกับพระยาละแวกครั้งนั้นว่า
ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศกณ วันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหยาตราไปเอาเมืองละแวก และตั้งทัพชัย ตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพระยาศรีสุพรรณ ในวันอาทิตย์แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ นั้น
และในพงศาวดารเขมร (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑) ลงข้อความเรื่องเดียวกันว่า
ลุ ศักราช ๙๕๕ ศกมะเส็ง นักษัตรได้ ๒ เดือนจึงสมเด็จพระนเรศวรพระเจ้ากรุงไทยยกกองทัพไพร่พล ๕ หมื่นมารบกับพระองค์ (คือพระสัตถาหรือพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี) พาสมเด็จพระอัครมเหสีกับสมเด็จพระราชบุตรทั้ง ๒ หนีไปอยู่เมืองศรีส่อชอ ลุ ศักราช ๙๕๖ ศกมะเมียนักษัตรพระองค์พาสมเด็จพระอัครมเหสีกับพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ไปเมืองลาว ฝ่ายพระองค์บรมบพิตร เมื่อ ลุ ศักราช ๙๕๗ ศกมะแมนักษัตร พระชันษาได้ ๔๓ ปี พระไชยเชษฐาพระราชบุตรใหญ่ เมื่อ ลุ ศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตร พระชันษาได้ ๒๓ ปี นักองค์บรมบพิตรทั้งสองพระองค์สุรคตอยู่ที่เมืองลาว ยังแต่พระบรมราชาธิราชผู้เป็นพระอนุชา พระชันษาได้ ๑๘ ปี อยู่เมืองลาวฝ่ายสมเด็จพระศรีสุพรรณผู้เป็นพระอนุชาครั้งนั้นจึงพระนเรศวรเป็นเจ้าไพระองค์กับพระราชบุตรแล้วกวาดต้อนตัวเขมรไปเป็นอันมาก ลุ ศักราช ๙๕๖
ศกมะเมีย นักษัตรเดือน ๓ จึงพระนเรศวรเป็นเจ้านำพระองค์ไปกรุงศรีอยุธยาให้แต่พระมหามนตรีเป็นแม่ทัพใหญ่รั้งอยู่อุดงฦๅไชย…”

จากหลักฐานทั้งของไทยและของเขมรนี้ได้ความตรงกันว่า
๑. ในปีจุลศักราช ๙๕๕ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองละแวก จับพระศรีสุพรรณพระอนุชาของพระยาละแวกได้ จึงนำตัวมาที่กรุงศรีอยุธยา
๒. สำหรับตัวพระยาละแวกนั้นจากหลักฐานของไทยมิได้ระบุถึง แต่หลักฐานของเขมรระบุว่า พระองค์หนีไปได้ไปพิงพักอยู่เมืองลาวพร้อมด้วยพระมเหสีและโอรสอีก ๒ องค์ และอีก ๓ ปีต่อมาคือในจุลศักราช ๙๕๘ พระยาละแวกและโอรสองค์โตก็สิ้นพระชนม์ที่เมืองลาวนั้น
พงศาวดารเขมรยังได้กล่าวต่อไปว่า
ลุ ศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตรมีฝรั่งคนหนึ่งชื่อละวิศเวโลฝรั่งนั้นไปเชิยพระบรมราชา ผู้เป็นพระราชบุตรน้อยของพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีมาจากเมืองลาว เมื่อศักราช ๙๕๙ ศกระกานักษัตรลงมาทรงราชย์อยู่ ณ เมือง ศรีส่อชอ ลุ ศักราช ๖๗๑ ศกกุนนักษัตรจึงมีจามชื่อโปรัตกับแขกชื่อฬะสะมะนา ลอบฆ่าพระองค์สุรคตจึงสมเด็จพระเทวีกษัตริย์เป็นสมเด็จพระอัยกี พระองค์ให้ราชสาส์นไปขอสมเด็จพระศรีสุพรรณ ผู้เป็นพระภัคินีโยแต่งกรุงศรีอยุธยาจึงพระเจ้ากรุงไทยปล่อยให้สมเด็จพระศรีสุพรรณมาจากกรุงไทย มาทรงราชย์สนองสมเด็จพระเรียม ณ เกาะสาเกดในปีฉลูนั้น จึงสมเด็จพระเทวีกษัตริย์ผู้เป็นพระมาตุจฉาพระนางให้ไปขอพระไชยเชษฐาเป็นพระราชบุตรผู้น้องแต่พระเจ้ากรุงไทย จึงพระเจ้ากรุงไทยโปรดพระราชทานให้มา แล้วพระองค์ให้สมเด็จพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ปราบบรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยราบสิ้นแล้ว พระองค์ไปสถิตอยู่ที่เมืองละวาเอมแขวงเมืองพนมเพ็ญ เมื่อศักราช ๙๗๓ ศกฉลูนักษัตร” 


การที่ฝรั่งชื่อละวิศเวโลไปเชิยพระราชโอรสองค์น้อยของพระยาละแวกมาจากเมืองลาวมาให้ขึ้นครองเป็นกษัตริย์กัมพูชา และต่อมาสมเด็จพระเทวีเป็นสมเด็จพระอัยกีส่งพระราชสาส์นมาขอสมเด็จพระศรีสุพรรณจากพระเจ้ากรุงไทยที่กรุงศรีอยุธยา พระเจ้ากรุงไทยก็พระราชทานพระศรีสุพรรณไปทรงราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐมิได้กล่าวไว้ ส่วนที่พระนางให้ไปขอสมเด็จพระไชยเชษฐาผู้เป็นพระราชบุตรของพระศรีสุพรรณแต่พระเจ้ากรุงไทยและพระเจ้ากรุงไทยโปรดพระราชทานให้มากขึ้น พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐระบุว่า
ศักราช ๙๖๕ เถาะศก ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้ เรื่องที่พงศาวดารเขมรบันทึกว่า สมเด็จพระเทวีให้มาทูลสมเด็จพระไชยเชษฐาผู้เป็นราชบุตรของสมเด็จพระศรีสุพรรณเป็นเรื่องราวอยู่ในจุลศักราช ๙๖๕ ศกฉลูนักษัตร และจุลศักราช ๙๗๓ ศกฉลูนักษัตร (ที่ถูกควรเป็นกุน) พระราชพงศาวดารกรุงเก่าของเราระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นจุลศักราช ๙๖๕ เถาะศก และถ้าพระเจ้าฝ่ายหน้าในหลักฐานของเราเป็นคน ๆ เดียวกันกับพระไชยเชษฐา พระราชบุตรของพระศรีสุพรรณกษัตริย์เขมรตามหลักฐานของพงศาวดารเขมร คือสงสัยที่ว่าพระเจ้าฝ่ายหน้านี้จะเป็นผู้ใดก็จะตอบได้ในตัวว่าคือเป็นพระเจ้าฝ่ายหน้าของกรุงกัมพูชา หาใช่พระเจ้าฝ่ายหน้าของกรุงศรีอยุธยาไม่
ต่อไปนี้ขอเชิญพิจารณาหลักฐานของสเปนเกี่ยวกับสงครามพระยาละแวก ดังปรากฎอยู่ในจดหมายเหตุของ ดร.อันโตนิโอ เดอมอร์ก้าได้ต่อไป
หลักฐานนี้ ดร.อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า รองผู้สำเร็จราชการหมู่เกาะฟิลิปปินส์เขียนไว้เป็นภาษาสเปน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. ๑๖๐๘ ที่เมือง San Geronimo อเมริกาใต้ตรงกับปีที่ ๓-๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรฐ มีคนแปลออกเป็นหลายภาษาเฉพาะฉบับภาษาอังกฤษชื่อ Hon. Henry E.J. Stanley เฉพาะเรื่องราวพระยาละแวกในรัชกาลสมเด็จพระนเรศ



หน้า ๔๓ ในระหว่าง ค.ศ. ๑๕๙๔ ดอน หลุยส์ (เดอ เวลาสโก้) เป็นผู้สำเร็จราชการ (หมู่เกาะฟิลิปปินส์) มีเรือสำเภาลำใหญ่มาทอดสมออยู่ที่ฟิลิปปินส์ (เมืองมนิลา) มีคนโดยสารเป็นคนเขมร คนไทย คนจีน ชาติละ ๓-๔ คน (a few Gonzales) และมีคนในบังคับสเปน ๓ คน คนหนึ่งเป็นชาวเมือง คาสตีล ชื่อ Blas Ruyz Hernan อีก ๒ คนเป็นชาวปอร์ตุเกส ชื่อ Pontaleon Carnero และ Antonio Machado.
เมื่อคนเหล่านี้อยู่ในราชอาณาจักรกัมพูชาที่เมืองจัตุรมุข กับพระเจ้า Langara (ละแวก) กษัตริย์กัมพูชานั้น พระเจ้าแผ่นดินสยามกรีฑาทัพมาโจมตีพระองค์ด้วยรี้พลและ (กองทัพ) ช้างมากมาย ยึดพระนคร พระราชวัง และพระคลังสมบัติได้ พระเจ้ากัมพูชาจึงเสด็จหนีไปเมืองเหนือจนถึงอาณาจักรลาวพร้อมด้วยพระมเหสี พระมารดา พระขนิษฐา พระธิดา และพระโอรสสองพระองค์
พระเจ้ากรุงสยามเสด็จยกทัพกลับราชอาณาจักรของพระองค์ โดยทรงมอบหมายให้นายทหารอยู่รักษาบ้านเมือง (กัมพูชาที่ทรงตีได้) ส่วนทรัพย์สิ่งของที่ทรงนำไปทางบกไม่ได้ พระองค์ก็ทรงส่งกลับโดยทางทะเล
หนังสือนี้เล่ารายละเอียดพิสดารต่อไปจนถึงหน้า ๒๒๓ เป็นเรื่องราวของพระศรีสุพรรณมาธิราช พระอนุชาพระยาละแวกว่า
หน้า ๒๒๓กษัตริย์องค์ใหม่ของกัมพูชาพระองค์นี้ ตกเป็นเชลยศึกของพระเจ้าแผ่นดินสยาม แต่เสด็จกลับมาขึ้นครองราชย์ ด้วยเหตุการณ์พิสดารและการผจญภัยนานาประการ
ระหว่างหน้า ๔๓๒๒๓ มีเรื่องราวสำคัญเล่าไว้ดังจะระบุอย่างย่อ ๆ ดังนี้
หน้า ๔๗ เรือสเปน ๓ ลำ บรรทุกทหารชาติสเปน ญี่ปุ่น และชาวเกาะ ๑๒๐ คน มาถึงเมืองจตุรมุข (กัมพูชา) ใน ค.ศ. ๑๕๙๖ จึงได้ทราบว่า ขุนนางไพร่พลเขมรได้ขับไล่กองทัพไทยที่ยึดครองอยู่ให้พ่ายแพ้ถอยออกไปนอกพระราชอาณาจักรแล้ว


หน้า ๕๐๕๑พวกสเปนสืบได้ความว่า พระยาละแวกเสด็จอยู่ในประเทศลาว จึงออกติดตามเพื่ออัญเชิญให้เสด็จกลับกรุงกัมพูชา พวกหนึ่งไปทางบก พวกหนึ่งไปทางเรือจนถึงเมืองตังเกี๋ย แล้วเดินบกไปประเทศลาวจนถึงนครหลวงของลาว (เขียนชื่อไว้ว่า Alanchan) จึงได้ทราบว่าพระยาละแวกสวรรคตที่นั่น พระโอรสองศ์ใหญ่และพระธิดาก็สิ้นพระชนม์ด้วย เหลืออยู่แต่โอรสอีกองศ์หนึ่งมีชื่อว่า Prauncar กับพระมารดาเลี้ยงพระอัยยิกา และพระมาตุฉาหลายพระองค์ (ไม่บอกจำนวน) จึงอัญเชิญท่านเหล่านี้ลงเรือ ล่องลงมาตามลำน้ำ (โขง) จนเข้าเขตแดนกัมพูชา เมื่อ Prauncar ปราบปรามยุคเข็ญเกือบเสร็จสิ้นแล้วก็ได้เสด็จขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (ทรงพระนามสุธรรมราชา)
หน้า ๙๒๙๓ลงคำแปลพระราชสาส์นของกษัตริย์เขมร องค์ที่ระบุชื่อ Prauncar (เห็นจะเป็นพระสุธรรมราชาในพงศาวดารเขมร) ถึง ดร.อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า ยกย่องว่านายทหารสเปน ๒ คน ซึ่งออกติดตามพระราชบิดาของพระองค์ท่านจนถึงเมืองหลวงของประเทศลาวและได้นำพระองค์กลับมาครองกรุงกัมพูชาสืบไปพระองค์จึงพระราชทานยศชั้น เจ้าพระยา ให้ทั้ง ๒ คน และให้กินเมืองด้วย นายทหารชื่อ Don Bas Castino ทรงให้กินเมืองตรัน และนายทหารชื่อ Don Diego Portugal ให้กินเมือง Bapano
หน้า ๙๓๑๑๒เป็นจดหมายของ Blas Ruyz be Hurnan Ghnzales เขียนถึงรองผู้สำเร็จราชการเดอมอร์ก้า เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรกัมพูชาไว้อย่างยืดยาวยืนยันเรื่องราวการติดตามพระยาละแวกจนถึงเมืองลานช้าง (Lanchan) อันเป็นเมืองหลวงของลาว เมื่อเรามาถึง กษัตริย์กัมพูชาที่ทรงชราแล้วได้สวรรคตเสียก่อน พระราชธิดาและโอรสองค์ใหญ่ก็สิ้นพระชนม์ด้วย (หน้า ๙๙) นอกนั้นก็กล่าวเช่นเดียวกับเรื่องราวของ Don Bas และ Don Diego



หน้า ๑๓๖๑๓๗เล่าเรื่องลักษมานากับพวกรบพุ่งกับสเปนจนพวกสเปนต้องพ่ายแพ้ และลักษมานาปลงพระชนม์ King Prauncar คือ พระสุธรรมราชาด้วย (ตรงกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายไว้ (หน้า ๔๕๒) เล่ม ๑ ตอน ๒ ว่า สุธรรมราชาทรงราชย์อยู่ ๓ ปีมีจามคนหนึ่งชื่อโปรัดกับแขกชื่อลักษมานาลอบปลงพระชนม์พระสุธรรมราชาเสีย…”
หน้า ๒๒๒๒๒๓เล่าเรื่องขุนนางเขมรปราบลักษมานาได้แล้ว บ้านเมืองก็ยังไม่ปกติสุขจึงส่งฑูตมากรุงศรีอยุธยาทูลขอพระศรีสุพรรณมาธิราชไปครอบครองกรุงกัมพูชาพระเจ้าแผ่นดิน (สมเด็จพระนเรศวร) จึงโปรดให้กองทหารจำนวน ๖,๐๐๐ คน แห่แหนพระศรีสุพรรณมาธิราชกลับไปครองกรุงกัมพูชาใน ค.ศ. ๑๖๐๓ (ศักราชนี้ หรือ จุลศักราช ๙๖๕ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐระบุว่าทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้พระเจ้าฝ่ายหน้าจึงน่าจะหมายถึงพระศรีสุพรรณมาธิราชนี่กระมัง
เรื่องศึกสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตีเมืองละแวกครั้งนี้ (ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๕๕ ค.ศ. ๑๕๙๓) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (โอเดียนสโตร์) เล่ม ๑ ตอน ๒ หน้า ๔๐๙ ว่าหนังสือพงศาวดารเขมรลงศักราชถูกต้องกับต้นฉบับหลวงประเสริฐ แต่ไม่กล่าวถึงเรื่องจับนักพระสัฎฐาได้ เป็นแต่ว่าสมเด็จพระนเรศวรจับพระศรีสุพรรณมาธิราช กับพระราชเทพีราชบุตร และกวาดต้อนครัวเขมรมาเป็นอันมาก และว่าสมเด็จพระนเรศวรให้พระมหามนตรีเป็นแม่ทัพใหญ่อยู่รักษากรุงกัมพูชาที่เมืองอุดงส่วนเรื่องตั้งพระศรีสุพรรณมาธิราชเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชานั้น พระองค์ทรงอธิบายไว้ว่า (หน้า ๔๕๑) “…พระสุธรรมราชาเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย พระยาเขมรมีใบบอกเข้ามาขอพวกศรีสุพรรณมาธิราช น้องพระยาลาแวกนักพระสัฎฐา ที่จับเอาเข้ามาไว้ในกรุงศรีอยุธยาไปครองกรุงกัมพูชาเมื่อปีขาล จุลศักราช ๙๖๔ พ.ศ. ๒๑๔๕…”


เอกสาร เดอ มอร์ก้า นี เป็นเรื่องราวของชาวสเปนหลายคน ที่ออกมารบพุ่งแสวงหาโชคลาภในประเทศเขมร แล้วต่างก็รายงานไปยังกรุงมนิลา ดร. อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า เป็นเพียงผู้รวบรวมเรื่องราวเหล่านี้ตีพิมพ์ขึ้น จึงเห็นได้ว่า เรื่องพระยาละแวกมิได้ถูกปฐมกรรม ไม่ใช่ฝรั่งเพียงคนเดียวเขียนไว้ แต่เป็นเรื่องราวของฝรั่งหลายสิบคนออกไปแสวงหาโชคลาภในประเทศเขมรเขียนรายงานไปยังกรุงมนิลา และที่มีน้ำหนักเป็นพิเศษก็คือ พระราชสาส์นของกษัตริย์เขมร (พระสุธรรมราชา) ทรงมีไปยืนยันการกระทำของฝรั่งพวกนี้ว่า ได้ติดตามไปเฝ้าพระราชบิดา (พระยาละแวก) ถึงเวียงจันทน์ แต่พระยาละแวกสวรรคตเสียก่อนฝรั่งพวกนี้ไปถึง
เอกสารของ เดอ มอร์ก้า นี้ นอกจากจะยืนยันเรื่องราวดังปรากฎในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ในเรื่องไทยตีเมืองละแวกได้ เมื่อ ค.ศ. ๑๕๙๓ แล้ว ยังยืนยันในเรื่องสมเด็จพระนเรศวรทรงอภิเษก พระศรีสุพรรณมาธิราช พระอนุชาพระยาละแวกให้ได้กลับไปครองกรุงกัมพูชา ใน ค.ศ. ๑๖๐๓ อีกด้วย
เฉพาะในเรื่องสมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราชนี้ ฉบับหลวงประเสริฐระบุพระนามว่าพระเจ้าฝ่ายหน้าซึ่งเป็นปัญหาแก่นักศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมานานปีว่า จะหมายถึงผู้ใด คือจะหมายถึง สมเด็จพระเอกาทศรฐ (ดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงน ทรงเชื่อหรือจะหมายถึงพระราชโอรสของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งมีนักศึกษาบางคนเริ่มสงสัยเช่นนั้น แต่เอกสาร เดอ เมอร์ก้าให้ความกระจ่างในปัญหานี้ ทำให้น่าเชื่อว่า พระเจ้าฝ่ายหน้าหมายถึง วังหน้าของกัมพูชาคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราช เพราะสมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราชเป็นอนุชาพระยาละแวกเป็น พระเจ้าฝ่ายหน้าของกรุงกัมพูชาไม่ใช่หมายถึงเรื่องราวของกรุงศรีอยุธยา

บันทึกเพิ่มเติม
เอกสารของ อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า (ตีพิมพ์เป็นภาษาสเปน เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๖๐๘) ตามฉบับแปลภาษาอังกฤษของ สแตนเลย์ มีเรื่องสำคัญดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าได้รับคำแปลนี้ตั้งแต่หน้า ๔๒๒๒๓ ก็จริง แต่ตอนกลางระหว่างหน้า ๑๑๔๑๑๙ และระหว่างหน้า ๑๓๘๒๑๙ ทางกรุงลอนดอนไม่ได้ถ่ายมาให้ จึงจำต้องรอจนกว่าจะได้เพิ่มเติมมาจนครบ
วันนี้เอง ข้าพเจ้าได้รับเอกสารที่เขาส่งมาให้ใหม่ เป็นคำแปลเอกสารนี้รุ่นใหม่ของคนอื่น อยู่ในหนังสือชุดของ Blair & Robertson ข้าพเจ้ายังไม่ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับฉบับแปลของสแตนเลย์ แต่คาดว่าในการประชุมคราวหน้า ข้าพเจ้าคงจะได้ทำการศึกษาแล้วพร้อมทั้งทำบันทึกเสนอให้คณะกรรมการฯ ทราบต่อไป
เมื่อพิจารณาข้อความในพระราชพงศาวดาร ฯ ฉบับหลวงประเสริฐ เกี่ยวกับเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ฯ มีเรื่องจับตัวพระศรีสุพรรณ ฯ ได้ และนำมากรุงศรีอยุธยาและเรื่อง พระเจ้าฝ่ายหน้ายกทัพไปเอาเมืองขอมได้ แต่ไม่ปรากฎมีการระบุพระนามพระศรีสุพรรณ ฯ ว่าเสด็จกลับไปครองกัมพูชา
แต่พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ โดยเฉพาะฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุเรื่องจับตัวพระศรีสุพรรณ ฯ ได้ (ฉบับที่อ้างหน้า ๑๘๕) ระบุการทูลขอพระศรีสุพรรณฯ ไปครองกัมพูชา (หน้า ๒๕๓) และยังระบุเรื่องพระมหาธรรมราชา ราชโอรสยกทัพไปตีพระยาอ่อน (หน้า ๒๕๔)
ข้อความตอนนี้มีว่าพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชโองการตรัสให้แต่งทัพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชายกทัพไปโดยทางโพธิสัตว์ข้อความที่ชัดเจนก็คือ สมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ หมายถึง พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ส่วนข้อความที่คลุมเครือก็คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชาจะเป็นพระเจ้าลูกเธอของใคร ?
เอกสารของ เดอ มอร์ก้า ฉบับแปลของสแตนเลย์ เท่าที่มีอยู่ในมือไม่อธิบายปัญหาข้อนี้ พระราชพงศาวดาร ฯ ฉบับพระราชหัตถเลขา ก็มีใจความคลุมเครือ ส่วนฉบับหลวงประเสริฐก็ไม่ให้ความกระจ่างในถ้อยคำที่ว่าพระเจ้าฝ่ายหน้าคือใคร ใจความกระจ่างก็ต่อเมื่อพิจารณาเรื่องราวจากพงศาวดารเขมร (ฉบับที่อ้าง) คือพงศาวดารเขมรอธิบายว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาส่งพระศรีสุพรรณ ฯ ไปให้แล้ว ทางกรุงกัมพูชายังทูลขอบุคคลอีกคนหนึ่ง ระบุพระนามว่า พระไชยเชษฐาแลว่า เป็นพระราชบุตรผู้น้องท่านผู้นี้ ได้ร่วมกับพระศรีสุพรรณ ฯ ปราบปรามความวุ่นวายในกัมพูชา จนสงบราบคาบ พระศรีสุพรรณ ฯ จึงได้ขึ้นครองราชย์ ในจุลศักราช ๙๖๓ ต่อมาอีก ๑๘ ปี จึงเวนคืนราชสมบัติให้บุคคลผู้นี้ขึ้นครองราชย์ ในจุลศักราช ๙๘๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยเชษฐา
ท่านผู้นี้คือพระเจ้าฝ่ายหน้า” (ตามฉบับหลวงประเสริฐ) หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา” (ตามฉบับอื่น ๆ) คือเป็นฝ่ายหน้า หรือลูกเธอของกรุงกัมพูชาไม่ใช่ของกรุงศรีอยุธยา

ดูข้อมูลละเอียดที่
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=shalawan&topic=916

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...หลักฐานอ้างๆอิงๆ วันที่ตอบ 2009-11-10 18:00:51 IP : 118.172.34.63



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.