ReadyPlanet.com


อาจารย์ค่ะ เรื่อง วันขึ้นปีใหม่ทางโหราศาสตร์สากล


อาจารย์ค่ะ เรื่อง วันขึ้นปีใหม่ทางโหราศาสตร์สากล 

ปีนี้ตรงกับวัน เวลา อะไรค่ะ

มีประวัติอย่างไรบ้างค่ะ อาจารย์ช่วยเล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานหน่อยนะค่ะ

 

ปล** ขอให้อาตารย์สุขภาพแข็งแรงอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรทางความรู้ต่อไปนานๆค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ โหราของไทย :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-07 14:35:56 IP : 58.11.58.176


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2013720)

วงโคจรของโลกเรานั้นไม่ได้เป็นวงกลมที่สมบูรณ์ หากแต่เป็นลักษณะวงรีรูปไข่ ซึ่งหมายความว่าจะมีจุดที่โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเพียง 1 ตำแหน่ง สำหรับปีนี้ตรงกับวันที่ 4 ม.ค. และเช่นเดียวกันก็มีตำแหน่งที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด 1 ตำแหน่ง ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 7 ก.ค. หากกลไกนี้เป็นปัจจัยให้เกิดฤดูกาลก็พอฟังได้สำหรับซีกโลกทางใต้ แต่สำหรับซีกโลกทางเหนือแล้วดูเป็นเหตุผลที่ไม่เข้าท่าเท่าไร

ความจริงคือวงโคจรที่เป็นวงรีไม่ได้มีผลให้เกิดฤดูกาล แต่เหตุผลที่แท้คือแกนโลกที่เอียงนั้นเอง ถึงอย่างนั้นการโคจรที่ไม่เป็นวงกลมก็ทำให้เกิดภาพที่เรียกว่า “แอนนาเลมมา” (Analemma) ซึ่งสังเกตได้บนท้องฟ้า โดยมีปัจจัยสอดคล้องจากการเอียงของแกนโลกด้วย ลักษณะดังกล่าวได้จากการเฝ้าสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าตำแหน่งเดิมๆ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และบันทึกตำแหน่งไว้ทุกวันตลอดทั้งปี ซึ่งจะเห็นเส้นทางของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าที่ปรากฏจะเป็นรูปเลข 8 รูปร่างดังกล่าวเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ 1.แกนโลกที่เอียง 23.5 องศา และ 2.วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกที่เป็นวงรี

ตำแหน่งสูงสุดของแอนนาเลมมาเป็นตำแหน่งตอนกลางวันของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมห่างขึ้นไปทางซีกโลกเหนือมากที่สุดเรียกว่า “ครีษมายัน” (summer solstice) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิ.ย.ของทุกปี ส่วนตำแหน่งต่ำสุดของแอนนาเลมมาเรียกว่า “เหมายัน” (winter solstice) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ทำมุมห่างลงไปทางซีกโลกใต้มากที่สุด และตรงกับวันที่ 22 ธ.ค.ของทุกปี และเส้นตรงที่ลากผ่านจากเส้นขอบฟ้าในทิศเหนือ-ใต้เรียกว่า “เส้นเมริเดียน” (Meridian) นอกจากนี้ความแตกต่างของตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าในช่วงเวลากลางวันก็ยังเป็นผลมาจากแกนโลกเอียง แต่หากโลกโคจรเป็นวงกลมเราก็จะเห็นดวงอาทิตย์ตัดผ่านเส้นเมริเดียนในตอนเที่ยงทุกวัน ซึ่งความจริงไม่ใช่อย่างนั้น

รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่าเป็นปกติของทุกปีที่โลกจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 1 ครั้ง และไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุด 1 ครั้ง แต่ที่โลกในซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวก็เพราะว่าแกนโลกเฉียงชี้ออกจากดวงอาทิตย์ ซีกโลกใต้ที่เฉียงเข้าหาดวงอาทิตย์จึงเป็นฤดูร้อน ช่วงนี้หากไปแถวนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียก็จะเป็นหน้าร้อน เทศกาลคริสต์มาสในประเทศแถบนั้นจึงไม่ได้เป็น “ไวท์คริสต์มาส” (White Christmas) คือไม่มีหิมะในช่วงนี้

     ท่าน ดร. ท่านอธิบายไว้เข้าท่าคับ  เข้าใจง่ายด้วย

ตรงตำแหน่ง winter soltice นี่แหล่ะคับ ที่เริ่มปีใหม่  และเป็นจังหวะที่ อาทิตย์ทางโหราสากลยกเข้าราศีมกร ด้วย ปี นี้ ตรงกับ วันที่ 22  ธันวาคม 2009 เวลา 00.47 น.

โหราศาสตร์สากลของเรา  เกิดจากการสังเกตจากซีกโลกเหนือมาแต่ดึกดำบรรพ์  เลยเอาภาพนี้เป็นหลัก เพราะยุโรปมี 4 ฤดู

จะงงตรงที่ ของไทย มี แค่ 3 ฤดู  คือ ร้อน ฝน หนาว  เพราะตำแหน่งบนโลกไม่เหมือนฝรั่งเขาเพราะของเราไปอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร

เมื่องฝรั่งเริ่มปีใหม่ในฤดูหนาว  พี่ไทยเราเริ่มที่ฤดูร้อน

ทีนี้ปฎิทินโหร  มันมีค่า อายนางศะ หรือ Precission คือ ค่าจุดขั้วโลกที่แกว่งห่างจากจุดเดิมนั้น

ของโหรไทยไม่ปรับแต่ของโหรฝรั่งปรับ ซึ่งค่าที่ปรับนี้  ห่างกัน เรียกว่า ค่า อายนางศะ นี่แหล่ะคับ ประมาณ 23 องศาเศษ

ดวงอาทิตย์เฉลี่ย โคจรวันละ 1 องศา  ของฝรั่งเข้าฤดูร้อน หรือ อาทิตย์ยกเข้าราศีเมษ ประมาณวันที่ 21-22 มีนาคม แต่ ทางปฏิทินโหรไทย ถือว่า อาทิตย์ยกตอนสงกรานต์  หรือปีใหม่ไทยตรงกับวันที่  13 - 14 เมษายน  น่ะคับ

ในทางปรัชญาพยากรณ์นั้น  หลังจากเมล็ดพืชแทงหน่องอกเมื่อช่วงอาทิตย์ยกเข้าราศีเมษ และเติบโตงอกงามจนเก็บเกี่ยวได้เรียบร้อยแล้ว ระยะนี้เป็นระยะเมล็ดรอบ่มพักในยุ้งฉาง เพื่อรอเริ่มวงจรชีวิตใหม่หรือเหมือนกับสัตว์เข้าไปจุติอยู่ในครรภ์รอปฏิสนธิรอบใหม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...อธิบายแบบรู้งูๆปลาๆ วันที่ตอบ 2009-12-07 16:34:24 IP : 118.172.57.54


ความคิดเห็นที่ 2 (2013842)

หูยยย...ยาวดีจัง  กระจ่างเลยค่ะ  เข้าใจเยอะขึ้นเลย  ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

 

ปล*** ขอให้อาจารย์ถูกหวยเด้อค่ะเด้อ

ผู้แสดงความคิดเห็น โหราของไทย วันที่ตอบ 2009-12-08 00:37:00 IP : 58.9.98.168


ความคิดเห็นที่ 3 (2019192)

อาจารย์ค่ะ ข้อความที่กล่าวข้างต้น

ทาง ซีกโลกเหนือมากที่สุดเรียกว่า “ครีษมายัน” (summer solstice) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิ.ย.ของทุกปี ส่วนตำแหน่งต่ำสุดของแอนนาเลมมาเรียกว่า “เหมายัน” (winter solstice)

วันอ่านตำราที่เรียนจุดที่สอนตำแหน่งในแต่ละจุดว่า อุตตรวิษุวัต อุตตรมหากรานติ ทักษิณวิษุวัต ทักษิณมหากรานติ อาจารย์ช่วยบอกที่ว่าควรใช้เรียกอย่างไรที่ดีที่สุด

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกศิษย์ วันที่ตอบ 2009-12-25 00:30:22 IP : 110.164.99.209


ความคิดเห็นที่ 4 (2019429)

วิษุวัต equinox เส้นสุริยวิถี(Ecliptic)และเส้นศูนย์สูตรฟ้า(Celestial Equator)จะตัดกัน 2 จุด และจุดทั้งสองนี้จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี ถ้าโลกโคจรมาถึงจุดนี้ จากการมองเห็นด้วยตาเปล่า เราจะเห็นดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ จะมีปรากฏการณ์พิเศษบนพื้นโลก คือ ในวันนี้ ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก เวลากลางวันจะเท่ากับเวลากลางคืนพอดี จุดตัดทั้งสองนี้ เรียกว่า จุด วิษุวัต หรือ Equinox

จุดวิษุวัตซึ่งดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า อุตรวิษุวัต vernal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์ฟ้าพอดี คือ ไม่ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงกับศีรษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี กรันติ declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 21 มี.ค.ของทุกๆปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ราศีมีนประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละ 59 ลิบดา 35 ฟิลิบดา คิดตามเวลาที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.22 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.29 น. ในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาที ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า ที่ตั้งของกรุงเทพฯอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 13 องศา 46 ลิปดา ประมาณวันที่ 12 มี.ค.ของทุกปี สำหรับในวันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นที่กทม.เวลา 06.28 น. และตกเวลา 18.28 น. เวลาในภาคกลางวันจะเท่ากับภาคกลางคืนพอดี

จุดวิษุวัตเมื่อดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า ทักษิณวิษุวัต Autumnal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี คือ ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันของวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่บนศีรษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 23 ก.ย.ของทุกปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ในราศีกันย์ประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละประมาณ 58 ลิบดา 44 ฟิลิบดา คิดตามเวลามาตรฐานที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.17 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.14 น. จะเห็นได้ว่าในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาฑี ประมาณวันที่ 1 ต.ค.ของทุกปี ที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.08 นาฑี ดกเวลา 08.08 นาฑี เวลาในภาคกลางวันจะเท่ากับภาคกลางคืนพอดี

เส้นสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้า มีระนาบต่างกัน โดยทำมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา จุดบนเส้นสุริยวิถีที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีอยู่ 2 จุด เรียกว่า มหากรันติ solstice จุด 2 จุดนี้ จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี และต่างก็อยู่ห่างจากจุดวิษุวัต 90 องศาพอดี ถ้าดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดทั้งสองนี้ เราจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุด

จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด เรียกว่า อุตรายัน summer solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฎการณ์พิเศษเกิดขึ้นบนพื้นโลก คือ เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางวันนานที่สุด และเวลากลางคืนน้อยที่สุด) จะตรงกับประมาณวันที่ 22 มิ.ย. ของทุกๆปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดอุตรายัน ฤดูกาลในเมืองไทยเราจะเริ่มเข้าฤดูฝน

จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน winter solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฎการณ์เกิดขึ้น คือ เวลาในภาคกลางคืนจะมากกว่าในภาคกลางวันมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางคืนนานที่สุด มีเวลากลางวันน้อยที่สุด) จะตรงกับประมาณวันที่ 22 ธ.ค. ของทุกๆปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดทักษิณายัน เป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว ฤดูนี้ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า และขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว"

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...เท่าที่ผมรู้เป็นแบบนี้แหล่ะคับ วันที่ตอบ 2009-12-25 19:09:25 IP : 118.172.97.37


ความคิดเห็นที่ 5 (2019442)

http://www.eumetsat.int/groups/ops/documents/image/img_news_solstice_scheme.gif

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต..ดาราโหราศาสตร์? วันที่ตอบ 2009-12-25 20:13:58 IP : 118.172.97.37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.