ReadyPlanet.com


Blu Moon มีจริงหรือเนี่ย พระจันทร์สีน้ำเงิน


เพิ่งได้รับ Fw mail มาค่ะ แต่เป็นพวกตัดแปะมาบางส่วน อ่านแล้วไม่เกิดปัญญา เลยเสิรจหาต่อ ก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเต็มๆขึ้นมาอีกนิด เลยเอามาแบ่งปัน

เรียนถาม อจ ค่ะ ว่าในทางโหราศาสตร์เรา เจ้า Blue Moon มันจะมีอะไรพิเศษ บ้างหรือไม่คะ

 

 

ปรากฎการณ์ “พระจันทร์สีน้ำเงิน” หรือว่า บลูมูนที่ใครๆ เฝ้าฝันถึง
       
       เมื่อเอ่ยถึงสำนวนที่ว่า “วันซ์อินอะบลูมูน….” (Once in a Blue Moon…) สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับภาษาอังกฤษย่อมรู้แน่ว่ามันหมายถึง “เป็นไปได้ยาก” หรือนานทีจะมีสักครั้งหนึ่ง หรือยากเสียจนกระทั่งกลายเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่น่าจะเป็นไปได้เสียแทน
       
       แต่ว่า “พระจันทร์สีน้ำเงิน” เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริง (และนานๆ ทีตามที่สำนวนว่า) แล้วมีใครที่เคยเห็นหรือยัง ถ้าเคยครั้งล่าสุดที่เห็นเมื่อไหร่?

 ตามแนวคิดใหม่ “พระจันทร์สีน้ำเงิน” คือ พระจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบเดือนปฏิทิน หรือเรียกง่ายๆ ว่าถ้าเดือนไหนมีพระจันทร์เต็มดวง 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 นี่ล่ะ จะเรียกว่า “บลูมูน” เพราะปกติใน 1 เดือนจะเกิดปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงได้เพียงแค่ 1 ครั้ง และมีบางคราวที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือนจะแอบแทรกตัวขอเกิดขึ้น อีกหน ซึ่งพระจันทร์เต็มดวงหรือฟูลมูน (Full Moon) จะเกิดขึ้นประจำทุกเดือน
       
       แม้ว่าใน 1 ปีมี 12 เดือน และ 1 เดือนมี 30 และ 31 วันแต่รอบของดวงจันทร์ก็มีแค่เพียง 29.53059 วันต่อเดือน และใน 1 ศตวรรษจะมีเดือนทั้งหมด 1200 เดือน ทั้งนี้ ในศตวรรษเดียวกันจะเกิดพระจันทร์เต็มดวงได้ถึง 1236.83 ครั้ง แต่จะเป็นเพียงพระจันทร์สีน้ำเงินแค่ 36.83 ครั้งหรือ 2.72 ปีต่อครั้ง แต่มีที่พิเศษกว่านั้นเข้าไปอีกคือจะมีการเกิดบลูมูนปีละ 2 ครั้งในทุกๆ 19 ปี ซึ่งปีล่าสุดที่เกิดบลูมูน 2 ครั้งซ้อนก็คือปี 1999 และถัดไปคือปี 2018 หรือสรุปง่ายๆ ว่า 3% ของฟูลมูน จะเป็นบลูมูน

การเกิด “พระจันทร์สีน้ำเงิน” ในช่วงศตวรรษที่ 20

       


       

วันที่ เดือน ปี (พ.ศ.) เวลาสากล(UT) เวลาประเทศไทย
30 มิถุนายน 1996 (2539) 10:35 17:35
31 มกราคม 1999 (2542) 16:06 23:06
31 มีนาคม 1999 (2542) 22:49 05:49 (1 เม.ย.)
30 ธันวาคม 2001 (2544) 20:51 03:51 (31 ธ.ค.)
31 กรกฎาคม 2004(2547) 18:06 01:06 (1 ส.ค.)
30 มิถุนายน 2007 (2550) 13:50 20:50
31 ธันวาคม 2009 (2552) 19:14 02:14 (1 ม.ค.)
31 สิงหาคม 2012 (2557) 13:58 20:58

ข้อสังเกตง่ายๆ ถ้าเห็นพระจันทร์เต็มดวงก่อนวันที่ 11 มกราคม แสดงว่าปีนั้นจะมีพระจันทร์เต็มดวงมากถึง 13 ครั้ง และจะต้องมีเดือนใดเดือนหนึ่งที่มีพระจันทร์เต็มดวงซ้อนกันถึง 2 ครั้ง (อย่างเช่นในปี 2547 นี้ที่คืนวันขึ้น 15 ค่ำแรกของปี ตกวันที่ 6 มกราคม และในปีนี้ก็เลยมีเดือนกรกฎาคมเป็นผู้โชคดีมีพระจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้ง) หรือถ้าในบางปีที่พระจันทร์เต็มดวงมีก่อน 11 มกราคมแต่ไม่ปรากฏในเดือนกุมภาพันธ์ ก็เป็นไปได้ว่าเราจะได้เห็นบลูมูนถึง 2 ครั้งแบบเดือนเว้นเดือน
       
       เมื่อวันที่ 31 ที่กำลังจะมาถึงนี้ และก็เข้าแก๊บของการเกิด “พระจันทร์สีน้ำเงิน” พอดิบพอดี
       
       สีน้ำเงินของดวงจันทร์
       
       วันที่เกิดพระจันทร์เต็มดวงจะไม่มีผลต่อสีของดวงจันทร์ แม้ ในวันที่ 31 ที่จะถึงนี้จะเป็นคืนบลูมูน แต่พระจันทร์ในคืนนั้นเราก็จะมองเห็นเป็นดวงกลมๆ สีเทาๆ ราวไข่มุกเหมือนในทุกๆ คืนที่ที่ผ่านมา (อ้าว !!)

แต่ว่าก่อนหน้านี้ เราจะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินกันอยู่แล้วทุกค่ำคืน ไม่ว่าจะเป็นเต็มดวง ครึ่งดวง หรือว่าค่อนดวง ยกเว้นในบางคืนที่ดวงจันทร์จะกลายเป็นสีเขียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ....
       
       ในปี 1883 เป็นปีที่ภูเขาไฟ “กรากาตัว” (Krakatoa) ที่อินโดนีเซียระเบิดขึ้นตูมใหญ่ราวกับทิ้งนิวเคลียร์ขนาด 100 เมกาตัน ส่งผลให้ลาวาและฝุ่นควันพุ่งกระจายออกไปไกลถึง 600 กิโลเมตร เถ้าของภูเขาไฟพวยพุ่งขึ้นสูงไปถึงชั้นบรรยากาศ นั่นจึงทำให้พระจันทร์เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
       

       ใน ขี้เถ้าของภูเขาไฟกรากาเตา คลุ้งจนกลายเมฆฝุ่นซึ่งผสมด้วยอนุภาคเล็กๆ ขนาด 1 ไมครอน (1 ส่วน 1 ล้านเมตร) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้มีความกว้างมากกว่าความยาวคลื่นของแสงสีแดงกระจัดกระจาย อยู่ทั่วไปในอากาศ (ความยาวคลื่นของแสงแดงคือ 0.7 ไมครอน) ดังนั้นเมื่อแสงสีขาวที่เคยตกกระทบดวงจันทร์ก่อนส่งมาที่ดวงตาของเราต้อง ผ่านอนุภาคเหล่านี้ก่อน แสงสีแดงก็จะกระเจิงหายไป เหลือแต่เพียงแค่ 2 แสงคือ แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว

พระจันทร์ยังคงเป็นสีน้ำเงินเช่นนี้อยู่อีกนานหลายปีหลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้น เพราะมีเขม่าควันจากภูเขาไฟอีกหลายแห่ง แม้จะไม่แรงเท่ากรากาตัว แต่ก็มีส่วนทำให้ดวงจันทร์กลายเป็นสีน้ำเงินต่อๆ ไปไม่ว่าจะเป็นในปี 1983 หลังจากภูเขาไฟเอล ชิชอน (El Chichon) ในเม็กซิโกระเบิดขึ้น และก็มีรายงานว่าพบพระจันทร์สีน้ำเงินหลังจากภูเขาไฟเซ็นต์เฮเลน (St. Helens) ระเบิดในปี 1980 และภูเขาไฟพินาตูโบ (Pinatubo) ระเบิดในปี 1991 นอกจากฝุ่นควันจากปล่องภูเขาไฟแล้ว ไฟป่าก็มีส่วนพ่นควันที่มีอนุภาคเหล่านี้ออกมา ทำให้เห็นดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินได้เช่นกัน
       

       ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่าทางทิศตะวันตกของสหรัฐจะเกิดไฟป่าขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ และถ้าไฟโหมหนักมากพอที่จะเกิดฝุ่นควันจำนวนมาก พร้อมๆ กับมีอนุภาคขนาด 1 ไมครอนปนอยู่พวกเราก็จะสามารถเห็นดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินสมใจ
       
       ที่สำคัญท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้คือจุดที่จะมองเห็นดวงจันทร์แบบเต็มๆ นับเป็นโอกาสอันดีที่ หลัง เวียนเทียนอาสาฬหบูชาจบ ประมาณตี 1 นิดๆ ลองแหงนหน้าขึ้นฟ้าลุ้นกันดูว่าดวงเดือนกลางเวหาจะกลายเป็นสีอะไร เผื่อว่าสายตาจะได้บันทึกภาพแห่งความทรงจำ “ครั้งหนึ่งกับพระจันทร์สีน้ำเงิน”

 

http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000029368



ผู้ตั้งกระทู้ หนูพุก :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-29 13:07:55 IP : 58.8.246.17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2020475)

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต..รู้จักแต่ ฟูลมูนปาร์ตี้อ่ะ วันที่ตอบ 2009-12-29 17:56:46 IP : 118.172.88.219


ความคิดเห็นที่ 2 (2020477)

อะวิชชาปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง วิญ-
ญาณะปัจจะยา นามะรูปัง นามะรูปังปัจจะยา
สะฬายะตะนัง สะฬา-
ยะตะนะปัจจะยา ผัสโส ผัสสะปัจจะยา เวทะนา เวทะนาปัจจะยา

ตัณหา ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ภะวะ-
ปัจจะยา ชาติ ชาติปัจจะยา
ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะ-
นัสสุปายา
สา สัมภะวันติ ฯ เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
สะมุทะโย โหติ ฯ

..........
อะวิชชายะเต์ววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ สังขา-
ระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ นามะรู-
ปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ ตัณหานิโรธา
อุปาทานะนิโรโธ อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายา
สา
นิรุชฌันติ ฯ เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...เห็นน่ะเห็นจริงแต่ที่เห็นน่ะไม่จริง วันที่ตอบ 2009-12-29 18:01:07 IP : 118.172.88.219



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.