ReadyPlanet.com


100 ปี พระพุทธเจ้าหลวงกับดาวหางฮัลเลย์




ผู้ตั้งกระทู้ ภารต...บทความใหม่คับ :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-24 11:27:08 IP : 118.172.62.73


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2122085)

ขออภัยนะครับ ดวงพระราชชะตาขององค์สมเด็จพระปิยมหาราช ประสูติในช่วงพลบค่ำแล้ว ลัคนาควรจะอยู่ในแนวตรงข้ามกับอาทิตย์ ลองผูกดูแล้วด้วย Solarfire ลัคนาน่าจะสถิตย์ 14:38เมษ เพราะอาทิตย์ 27 :25กันย์ ตามรูปน่ะครับ

สาเหตุ เนื่องเพราะ Timezone ควรจะเป็น 6:42+GMT

และเท่าที่ผมตรวจสอบจากโหรไทยผูกดวงไว้ ลัคนาจะสถิตย์ราศีมีน

จึงเรียนเสนอมาเพื่อโปรดพิจารณาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว... วันที่ตอบ 2010-10-24 13:29:39 IP : 124.120.5.194


ความคิดเห็นที่ 2 (2122094)

อันที่จริงในมุมมองของโหรไทย เมื่อผูกดวงก็ไม่ได้พิจารณา Timezone แบบนี้ จะผูกดวงโดยใช้เวลาประสงค์ไปเลย(แต่ก็มีบางโหรตัดเวลาท้องถิ่น บางโหรไม่ตัดเวลา) ลัพท์ที่ได้เป็นลัคนาสถิตย์ราศีใด ก็สามารถตั้งเรือนชะตาได้ ข้าพเจ้าเองก็ยึดถือตามนั้น เนื่องจากทรงราชสมภพในประเทศไทย จึงน่าที่จะไม่จำเป็นต้องคำนึงการตัดเวลา หรือหากใช้โปรแกรม Solarfire ผูกดวงก็อาจต้องตัดเวลาท้องถิ่น 18 นาที ผลก็คือลัคนาจะสถิตย์ 9:11เมษ

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากดวงพระราชชะตา ก็เห็นว่าแสดงภาพชัดถึงการที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ สมดังได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว...เป็นความเห็นส่วนตัวครับ วันที่ตอบ 2010-10-24 14:45:03 IP : 124.120.5.194


ความคิดเห็นที่ 3 (2122104)

ผมว่าตามโปรแกรมท่านอาจารย์โรจน์น่ะคับ  18.51 น.

ซึ่งว่าไปแล้ว จุดพระราชา อาทิตย์/โครโนส เข้าสัมพันธ์แรงนะคับ

และภาพที่ว่านี้ ก็เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจทั้งหลายพระองค์ด้วยสิ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ท่านอจ.ท่านเป็นนักประวัติศาสตร์อ่ะ วันที่ตอบ 2010-10-24 15:25:05 IP : 118.172.36.212


ความคิดเห็นที่ 4 (2122106)

ผมอ่านดวงผิด เลยทำใหม่คับ  เนื่องจาก โหรเก่าเขาบอก 10 ทุ่ม  เข้าใจว่า เป็น 22.00 น.ซึ่งผิด ที่ถูกต้องเป็น ตี4 เลยต้องขอทำใหม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...อภัยในความไม่สะดวก วันที่ตอบ 2010-10-24 15:36:14 IP : 118.172.36.212


ความคิดเห็นที่ 5 (2122132)

จากหนังสือ " ทฤษฎีการพยากรณ์" บทที่ ๖ จตุรางคดล หน้า ๑๘๓

ตัวอย่างที่ ๒

ดวงพระราชชะตาสมภพ ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราช 
ซึ่งปูมโหรบันทึกว่า เสด็จพระราชสมภพ ณ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ 
สุริยคติกาลกำหนด วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ เวลา ๑๘.๕๑ น.


ในดวงพระราชชะตา ดาวพระเคราห์สถิตหนาแน่นที่สุดในจตุรางคดลที่ ๒ (เรือนที่ ๗,๘,๙)

พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านส่วนใหญ่ย่อมจะเน้นหนักไปทางด้านความร่มเย็นเป็นสุขของอาณาประชาราษฎรเป็นประการสำคัญ ที่เห็นชัดแจ้งคือ ทรงประกาศเลิกทาส เป็นต้น

ผู้แสดงความคิดเห็น nUm วันที่ตอบ 2010-10-24 18:32:43 IP : 137.56.163.64


ความคิดเห็นที่ 6 (2122139)
http://www.rojn-info.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538679546&Ntype=3
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...เสริมบทความ วันที่ตอบ 2010-10-24 19:17:41 IP : 180.180.177.219


ความคิดเห็นที่ 7 (2122192)

ต้องขออภัยอีกครั้ง เกี่ยวกับเรื่องวันทางจันทรคติ

จากจดหมายเหตุปูมสุริยยาตร  หรือปูมโหร  . . . 

"วันจันทร์ขึ้น  ๙  ค่ำ  เดือน  ๕  เวลา  ๑๐  ทุ่ม  ดาวอุตรพัทรเกิดหางยาว  ๓  วา    โต  ๓  กำ    เบื้องทิศบูรพาหางไปข้างทิศอาคเนย์    วันจันทร์ขึ้น  ๘  ค่ำ  เดือน  ๖  จึงหาย"

เมื่อเทียบกลับมาเป็นสุริยคติ วันจันทร์ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๕ ที่ถูกต้องควรจะเป็นวันจันทร์ที่ 18 เม.ย.2453 เพราะหากเป็นวันที่ 14 จะเป็นวันพฤหัส

ส่วนวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ตรงกับวันที่ 16 พ.ค.2453 นั้นถูกต้องแล้ว

ดังนั้น หากจะผูกดวงก็ควรจะต้องเป็นวันที่ 18/04/1910 4:00 และน่าจะใช้ Timezone +7 (หากผูกดวงกำเนิดใช้ Timezone+7 ตามตัวอย่าง)

ซึ่งที่จริงหากผูกตามนี้จะพบว่า ลัคนาTransit จะสถิตย์ 18:35 ราศีมีน ซึ่งจะกุมฮาเดสTransit เป๊ะๆเช่นกัน ซึ่งอาทิตย์และเสาร์Transit จะกุมกันพอดีด้วย ตามภาพ

แปลกดีเหมือนกัน จากข้อมูลใน Wikipedia กลับบอกว่า ฝรั่งเริ่มเห็นดาวหางฮัลเล่ย์ใันวันที่ 20/04/1910 แต่อย่างว่าแหละในเมื่อปูมโหรบันทึกไว้ เราก็เชื่อตามปูมไว้ก่อนแล้วกัน เพราะบูรพาจารย์โหรท่านคงจะมองเห็นบางอย่างในภาพดวงอยู่เหมือนกัน จึงบันทึกไว้อย่างนั้น

ทีนี้เกี่ยวกับเรื่องตำแหน่งดาวหางฮัลเล่ย์ หากเป็นตามบันทึกปูมโหร แสดงว่าน่าจะมองเห็นดาวหางอยู่เหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออกขึ้นมา มุมมองที่ไม่ถูกบดบังอาจห่างจากลัคนาขึ้นมาประมาณ 25-30 องศา ดาวหางก็น่าจะอยู่ประมาณราศีกุมภ์กระมังครับ น่าจะลองตรวจสอบปฏิทินดาวหางดูด้วย หรือไม่อาจเป็นไปได้ว่า ปูมโหรมีการบันทึกคลาดเคลื่อน

สำหรับเรื่องการพิจารณาดวงพระราชชะตา ข้าพเจ้าขอไม่พิจารณานะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว...ยังกะ PhotoHunt แน่ะเรา วันที่ตอบ 2010-10-24 23:37:38 IP : 124.120.5.194


ความคิดเห็นที่ 8 (2122200)

อืมม์ จริงแฮะ เปิดปฏิทินโหรแล้ว วันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำเดือน 5 พศ.2453 ตรงกับวันที่ 18 เมษายน ผมก็ลืมเทียบไป


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...มิมีปัญหาทำใหม่ได้...ชอบนักเชียว วันที่ตอบ 2010-10-25 00:28:31 IP : 180.180.177.219


ความคิดเห็นที่ 9 (2122245)

ขออิีกนิดเถอะ

ไม่ทราบว่ามีข้อมูลตำแหน่งดาวหางฮัลเล่ย์ไหมครับ เพราะหากพิจารณาจากบันทึกของปูมโหร ตำแหน่งของดาวหางมันน่าจะมีค่าองศาน้อยกว่าค่าองศาของลัคนา เพราะลัคนาคือเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ณ เวลาที่เราผูกดวง ตำแหน่งดาวหางควรมีค่าน้อยกว่า 24 องศาราศีมีน นั่นหมายถึงว่าในวันที่ 18/04/1910 ตำแหน่งดาวหางน่าจะอยู่ใกล้ดาวศุกร์ ซึ่งหากมองว่าดาวหางฮัลเล่ย์มีอิทธิพลต่อดวงพระราชชะตาจริง น่าจะต้องสัมพันธ์ถึงโครงสร้างสำคัญในดวงด้วย เช่น สมมุติว่าตำแหน่งดาวหางอยู่ที่ 3 องศาราศีมีน จะทับเมอริเดียนบวกโค้งสุริยาตร์ของพระองค์ซึ่งจะฉากกับเสาร์ในดวงพระราชสมภพ หรือถ้าตำแหน่งดาวหางอยู่ที 23 องศาราศีกุมภ์ ในดวงพระราชชะตาจะทับแอดเมตอส ทำมุม 45 กับลัคนา และตั้งฉากกับอาทิตย์บวกโค้งสุริยาตร์พอดี หรือหากฟ้าเปิดมากๆเราอาจเห็นตำแหน่งดาวหางอยู่ใกล้กับลัคนา เช่นหากดวงหางอยู่ที่ 15 องศาราศีมีนก็จะทับฮาเดสบวกโค้ง โครโนสกำเนิดและมุม 135 กับอาทิตย์ลบโค้ง

แค่ยกตัวอย่างนะครับ แต่ว่าอยากทราบที่มาของข้อมูลตำแหน่งดาวหางฮัลเล่ย์น่ะ เพราะยังไม่ค่อยปักใจในเรื่องอิทธิพลของดาวหางฮัลเล่ย์สักเท่าไร

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว...เป็นนักโหรา หมั่นสังเกตให้เคลียร์ วันที่ตอบ 2010-10-25 10:16:17 IP : 124.120.5.194


ความคิดเห็นที่ 10 (2122292)
http://astronomy.ege.edu.tr/~rpekunlu/GBDG/papers/HalleyIcarus137.pdf
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ไม่รู้จะใช้ได้รึป่าวอ่ะคับ วันที่ตอบ 2010-10-25 13:38:35 IP : 182.53.141.115


ความคิดเห็นที่ 11 (2122316)

อ่านแล้ว ภาษาประกิตไม่แข็งแรงพอ ไม่รู้เรื่อง ฮาๆๆ แต่ไม่เห็นมีเลยนิ ปี 1910

แล้วก็สงสัยต้องแก้อีกรอบ ลืมไปว่า 18/04/2453 เวลา ตี 4 เนี่ยตามหลักโหรไทย มันยังไม่ใช่วันจันทร์นี่นา เพราะโหรจะเปลี่ยนวันเมื่ออาทิตย์ขึ้นแล้ว แสดงว่ามันยังเป็นวันอาทิตย์อยู่ ดังนั้นที่ถูกต้องก็ควรจะเป็นวันที่ 19/04/2453 4:00 น. ณ.กรุงเทพ เขตเวลา GMT+7

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว...ชักหลงๆลืมๆแล้วเรา วันที่ตอบ 2010-10-25 14:47:09 IP : 115.87.121.219


ความคิดเห็นที่ 12 (2122334)

ล้นเกล้า ร.4 ท่านแม่นนักเรื่องเวลานี่นา  นี่ปลายสมัย ร.5 แล้วนี่

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...ยังไงกันแน่ วันที่ตอบ 2010-10-25 16:07:20 IP : 182.53.141.115


ความคิดเห็นที่ 13 (2122362)

บูรพจารย์โหร ท่านไม่ได้ผิดพลาด เพียงแต่คนรุ่นหลังนี่แหละตีความผิดเองตอนมาแปลงเป็นสุรยคติ ท่านจดบันทึกเป็นจันทรคติตามหลักการโหรอยู่แล้ว เมื่อยังไม่สว่างก็ยังไม่เปลี่ยนวัน

ผู้แสดงความคิดเห็น มาแว๊ว... วันที่ตอบ 2010-10-25 17:29:25 IP : 115.87.121.219


ความคิดเห็นที่ 14 (2122387)

เอ้า 19 ก็ 19 หนักกว่าเดิมอีก  เดี๋ยวแถมดวงพระเจ้าเอิดเวิร์ด ให้อีกพระองค์นึง   คืนนี้ง่วงแล้วคับ  ขอพักก่อน

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...เดี๋ยวจัดให้ วันที่ตอบ 2010-10-25 20:21:34 IP : 118.172.1.102


ความคิดเห็นที่ 15 (2122676)

 

Halley"s calculations enabled the comet"s earlier appearances to be found in the historical record. The following table sets out the astronomical designations for every apparition of Halley"s Comet from 240 BC, the earliest widespread sighting. For example, "(1P/1982 U1, 1986 III, 1982i" indicates that for the perihelion in 1986, Halley"s Comet was the first period comet known (designated 1P) and this apparition was the first seen in "half-month" U (the first half of November) in 1982 (giving 1P/1982 U1); it was the third comet past perihelion in 1986 (1986 III); and it was the ninth comet spotted in 1982 (provisional designation 1982i). The perihelion dates of each apparition are shown. The perihelion dates farther from the present are approximate, mainly because of uncertainties in the modeling of non-gravitational effects. Perihelion dates 1607 and later are in the Gregorian calendar, while perihelion dates of 1531 and earlier are in the Julian calendar.

  • 1P/1456 K1, 1456 (9 June 1456)
  • 1P/1531 P1, 1531 (26 August 1531)
  • 1P/1607 S1, 1607 (27 October 1607)
  • 1P/1682 Q1, 1682 (15 September 1682)
  • 1P/1758 Y1, 1759 I, 1758 (13 March 1759)
  • 1P/1835 P1, 1835 III, 1835c (16 November 1835)
  • 1P/1909 R1, 1910 II, 1909c (20 April 1910)
  • 1P/1982 U1, 1986 III, 1982i (9 February 1986)
  • Next perihelion predicted 28 July 2061
ผู้แสดงความคิดเห็น น้าขวาง วันที่ตอบ 2010-10-26 18:16:32 IP : 125.25.146.32


ความคิดเห็นที่ 16 (2122677)

 

Halley"s calculations enabled the comet"s earlier appearances to be found in the historical record. The following table sets out the astronomical designations for every apparition of Halley"s Comet from 240 BC, the earliest widespread sighting. For example, "(1P/1982 U1, 1986 III, 1982i" indicates that for the perihelion in 1986, Halley"s Comet was the first period comet known (designated 1P) and this apparition was the first seen in "half-month" U (the first half of November) in 1982 (giving 1P/1982 U1); it was the third comet past perihelion in 1986 (1986 III); and it was the ninth comet spotted in 1982 (provisional designation 1982i). The perihelion dates of each apparition are shown. The perihelion dates farther from the present are approximate, mainly because of uncertainties in the modeling of non-gravitational effects. Perihelion dates 1607 and later are in the Gregorian calendar, while perihelion dates of 1531 and earlier are in the Julian calendar.

  • 1P/1456 K1, 1456 (9 June 1456)
  • 1P/1531 P1, 1531 (26 August 1531)
  • 1P/1607 S1, 1607 (27 October 1607)
  • 1P/1682 Q1, 1682 (15 September 1682)
  • 1P/1758 Y1, 1759 I, 1758 (13 March 1759)
  • 1P/1835 P1, 1835 III, 1835c (16 November 1835)
  • 1P/1909 R1, 1910 II, 1909c (20 April 1910)
  • 1P/1982 U1, 1986 III, 1982i (9 February 1986)
  • Next perihelion predicted 28 July 2061
ผู้แสดงความคิดเห็น น้าขวาง วันที่ตอบ 2010-10-26 18:16:36 IP : 125.25.146.32


ความคิดเห็นที่ 17 (2122687)

มาเที่ยวหน้าเนี่ย  น้าขวางรออยู่ดูนะคับ  แล้วยังไงอย่าลืมจุดธูปเล่าให้ผมฟังด้วยล่ะ  ส่วนผมไม่รอดูขอบายล่ะคับ  เคยจำได้ว่า ผมยังทันเคยเห็นตอนปี 2529 ด้วยกล้องส่องทางไกลลางๆ ยกมือไหว้แล้วหลบเข้าบ้านดีกว่า อฐิษฐานบอกท่านว่า งวดนี้ผมขอผลัดไว้ ไม่ไปด้วยนะ หลังจากนั้นไม่กี่วัน ผมขี่รถมอเตอร์ไซด์ซิ่งประสาวัยคะนอง โดยรถทัวร์ถาวรฟาร์มปาดทับซ้ำ แถวพระรูปทรงม้านี่แหล่ะ รอดมาได้หวุดหวิด แต่รถพังยับเยิน

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต...วัยลัคน์ถูกราหูทับเสาร์เล็ง วันที่ตอบ 2010-10-26 19:04:18 IP : 118.172.28.41


ความคิดเห็นที่ 18 (4121472)

 ข้อมูลดีมากๆครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น fan วันที่ตอบ 2017-01-24 10:17:30 IP : 183.89.62.5



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.