ReadyPlanet.com


สงสัยระยะวังกะครับ


โหราศาสตร์สากลและยูเรเนียนสามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ณ วันไหนได้เลยใช่ไหมครับ แต่ถ้ามีระยะวังกะสมมติ 1 องศา วันที่เกิดเหตุ ก็สามารถบวกลบได้ 1 วัน ใช่ไหมครับ อย่างนี้เราก็ไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าเป็นวันไหนซิครับ



ผู้ตั้งกระทู้ NMN :: วันที่ลงประกาศ 2006-08-19 01:24:54 IP : 203.118.127.234


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (410779)

ระยะวังกะหากจะตรวจให้ละเอียดกันจริงๆ
๑ องศาที่กล่าวถึงนั้นถูกต้อง
แต่ไม่ใช่เฉพาะ วัน ที่เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบดาวอาทิตย์เท่านั้นที่มีค่าเท่ากับหนึ่งองศาโดยประมาณ ทางโหราศาตร์ต้องอาศัยส่วนหนึ่งของดาวและปัจจัยต่างๆเข้ามาร่วมด้วย

การตัดสินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นต้องอาศัยส่วนหนึ่งของวงรอบทุกๆปัจจัยจรท้องฟ้า
เมื่อกำหนดเหตุการณ์ของช่วงระยะได้แล้ว
จากวงรอบดาวมาหาหนึ่งปี มาสู่หนึ่งเดือน แล้วมาสู่หนึ่งสัปดาห์ ถึงมาเรื่องวัน
หลังจากนั้น
๑ องศายังมีการโคจรของดาวจันทร์
และ ๑ องศาของการโคจรปัจจัย ลัคนา เมอริเดียน  และลัคนา/เมอริเดียน อีกที่สามารถตรวจในระยะที่เทียบกับเวลา ๑ องศาเท่า ๔ นาทีให้ตรวจเช็ดหากจะเอากันจริงๆนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สะท้อน วันที่ตอบ 2006-08-19 10:45:32 IP : 203.188.21.152


ความคิดเห็นที่ 2 (410807)

ระยะวังกะกับศูนย์รังสีนั้นต้องระวังครับพลาดกันมาเยอะ
โดยเฉพาะศูนย์รังสีซ้อนกัน ดูจากสมการอมตะของยูเรเนียน
       (A+B)/2 = (C+D)/2
   ดังนั้น     A+B = C+D  
     ทำให้    A+B-C = D
   หรือ        A+B-D = C 
กรณีนี้ใช้ได้เฉพาะ ค่าวังกะเป็น 0 นะครับ แต่ถ้าคิดค่าวังกะ
 สมมติ ให้ 30 ลิบดาเอ้า
     
( A+B)/2 = ( C+D) /2 + 30 ลิบดา
เราเอา 2 คูณสมการนี้ใช่ไหมครับ
     ทำให้
A+B=C+D + 30*2
        หรือ A+B = C+D-60 ลิบดา
   แล้ว
A+B-C = D + 60 ลิบดา
   แปลว่า  ถ้าศูนย์รังสี สัมพันธ์กันในระยะวังกะใด
เมื่อแปลงเป็นจุดอิทธิพลแล้ว
ปัจจัย
D สัมพันธ์ถึง จุดอิทธิพล A+B-C แล้ว
  จะมีค่าวังกะเป็น 2 เท่าของกรณีของศูนย์รังสี

ถ้าค่าวังกะเพิ่มการคิดเวลาก็ต้องมีการคลาดเคลื่อนโดยธรรมชาติ
ปัญหาจึงเป็นว่า การวัดของเราเทคโนโลยีเข้าถึงความละเอียด
สุดๆเช่นนี้หรือยัง..
 
ใครมีความเห็นอย่างไรช่วยกันหน่อยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต วันที่ตอบ 2006-08-19 12:54:43 IP : 203.114.100.117


ความคิดเห็นที่ 3 (410828)

น่าจะเป็นเรื่องของความแรงนะครับ อย่างที่ทราบ ปัจจัยเดี่ยวแรงสุด ถัดมา ศูนย์รังสี ถัดมาจึงเป็นจุดอิทธิพล ถัดมาจึงเป็น ศูนย์รังสีแบบผสม โดยอาศัยการถอดสมการอย่างที่พี่แสดงมา ทำให้เห็นได้ชัดเจน ถึงเหตุผลเบื้องหลัง

ส่วนเรื่องของเวลาก็คือการพยากรณ์จร เราดูจากปัจจัยที่เราสนใจ จรไปถึงอะไร

ระยะวังกะตรงนี้บางทีเราใช้กันสับสน เพราะไม่ใช่ระยะวังกะเรื่องความสนิทของมุมสัมพันธ์แต่เป็นเรื่องระยะห่างของเวลา เช่นของโค้งสุริยาตร์ เป็นต้น

ปล ผมมือใหม่นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เทพ วันที่ตอบ 2006-08-19 14:10:03 IP : 58.147.111.21


ความคิดเห็นที่ 4 (410900)

ภาษิตโครงโลกนิติ..สมัยก่อนเคยจำได้ว่าตอนท่อนสุดท้ายของบทหนึ่งกินใจมาก

ความรู้อาจเรียนทัน       กันหมด
ยกแต่ ชั่ว-ดี -กระด้าง   ห่อนแก้ ฤไหว

หรืออะไรทำนองนี้แหละครับ
ในโลกของวิชานี้ มือใหม่รู้ซึ้งรู้จริงสิงห์ซุ่ม เห็นอยู่เกลื่อนกลาด ผมเคยเจอจอมยุทธคนหนึ่งขายหนังสือเก่า..รูปร่างคล้ายสิงห์แค๊บ..ซกมกเชียวเห็นหนังสือโหราศาสตร์ก็ถามราคาคุยไปคุยมาถูกคอ ว่ากันไปตั้งครึ่งวันค่อนวัน..ตะแกรู้ลึกรู้ซึ้งถึงรากถึงโคนเชียว..ถามทีไรก็บอกผมมือใหม่เพิ่งจะเรียน..มาดก็ไม่ให้..น่าจะขายหนังสือโป๊ซะมากกว่า...เดี๋ยวนี้..ไปซี้ซั้วอ้างไม่ได้แล้ว

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต วันที่ตอบ 2006-08-19 22:07:32 IP : 203.188.6.149


ความคิดเห็นที่ 5 (410901)
ขอต่ออีกสักนิด เพื่อจะเกิดประโยชน์
จากกระทู้ มีสิทธิ์ที่เป็นไปได้ครับ
แต่ทว่าผมมีตัวอย่างที่ลองค้นดูนะครับ
ให้หาข้อมูลวันฟูลมูล ของเดือนที่เกิด ซึนามิถล่มภาคใต้ ผูกดวงชะตาวันฟูลมูล ดวง ๓๖๐ หรือ ๙๐ องศาก็ได้
แล้วหมุนดัชนีจากจุดวันฟูลมูล ไปทีละองศาให้นับจากวันฟูลมูลถึงวันเกิดเหตุ กี่วันก็เป็นจำนวนองศานั้น แล้วท่านลองตรวจหาเรื่องราวณ.จุดที่ดัชนีชี้อยู่ (ประมาณ ๖ วัน ก็ ๖ องศา) แล้วท่านจะทราบเองว่าทฤษฏีนั้นถูกต้องครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สะท้อน วันที่ตอบ 2006-08-19 22:09:29 IP : 125.25.0.186


ความคิดเห็นที่ 6 (410931)

ขอบคุณทุกท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น NMN วันที่ตอบ 2006-08-20 00:34:49 IP : 203.144.155.187



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.